HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
บ้านเมือง [ วันที่ 29/01/2556 ]
วิธีกดจุดพิชิตความเครียด

(ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน)
          ปัญหาความวิตกกังวลอาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นักเรียน นักศึกษามักจะเกิดความวิตกกังวลเมื่อใกล้สอบ ลูกจ้างกลัวว่าจะตกงาน คนนิสัยเสียกลัวจะถูกทิ้ง ฯลฯ สำหรับวันนี้เรามีวิธีกดจุดเพื่อช่วยบรรเทาและป้องกันอาการเครียดด้วยตนเองแบบศาสตร์จีน ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุดด้วยตนเอง
          นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย ควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าห่อมือไว้ ควรทาโลชั่นเล็กน้อยหากใครที่มีผิวแพ้ง่าย ระหว่างทำการกดจุดบางรายอาจจะมีเหงื่อออกมากควรให้พักระหว่างการกดจุดได้
          ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อยก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อคลุมให้ร่างกายอบอุ่น ควรใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น เมื่อกดถูกจุดจุดนั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักขึ้น
          วิธีหาจุดและกดจุดข้อเข่า : วางฝ่ามือบนหัวเข่า กางนิ้วออกเล็กน้อย กลางฝ่ามือคือจุดกลางหัวเข่า จุดจะอยู่ปลายสุดของนิ้วนาง
          วิธีหาจุดใต้หัวเข่า : วางฝ่ามือของผู้ถูกนวดบนหัวเข่า กางนิ้วออกเล็กน้อย จุดจะอยู่ที่ข้อปลายของนิ้วก้อย (ข้อนิ้วจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน) วิธีนวดให้กดจุดจากปลายนิ้วก้อยด้านในอ้อมใต้นิ้วไปยังด้านตรงข้าม
          วิธีหาจุดใต้ข้อเท้า : จุดนี้จะเป็นแอ่งเล็กๆ อยู่ต่ำกว่าตาตุ่มด้านในประมาณ 2 นิ้วมือ เยื้องไปทางด้านหน้าเล็กน้อย วิธีนวดกดจุดนวดเข้าหาข้อเท้า
          วิธีหาจุดกลางอก : จุดตั้งอยู่กึ่งกลางของลำตัว ระดับเดียวกับส่วนล่างของราวนม วิธีนวดกดจุดให้นวดขึ้นบนจนถึงกึ่งกลางไหปลาร้า
          จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย เริ่มกดจุดที่ใบหู หูขวาสำหรับตำแหน่งอยู่ที่ติ่งหู เยื้องมาด้านหน้า โดยนวดกดจุดจากล่างขึ้นบน และสลับมาที่หูซ้าย นวดทิศทางตรงข้ามกับหูขวา
          เกร็ดความรู้ให้กดจุดที่ร่างกายสลับวันกับใบหู ควรนวดวันละ 5 นาที ถ้าเกิดความเครียดหรือวิตกกังวลมากในเวลาใกล้สอบให้เริ่มกดจุดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจะสามารถลดขนาดการกินยาลงได้ แต่ควรจะปรึกษาแพทย์ด้วยหากมีอาการเครียดหนัก การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดแต่ละครั้งไว้ดังนี้
          เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด  -3 นาที - 2 1  เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที  เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที  เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที  เด็กโต ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที  ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที


pageview  1206170    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved