HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 09/01/2556 ]
แพทย์แนะเริ่มชีวิตใหม่ด้วยสุขภาพที่ดี

ปีใหม่ เป็นช่วงเวลาที่หลายๆ คน ยึดเป็นวันเริ่มต้นเมื่อปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงดูแลตัวเองในทาง ที่ดีขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมักพบว่ามีส่วนน้อย ทำได้ตลอดรอดฝั่ง หากพิจารณาดีๆ จะพบว่ามีปัญหาบางอย่างที่ดูเหมือน จะเล็กน้อย เช่น อาการไอที่เป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อพิชิตจุดหมายที่วางไว้ บริษัท ดีคอลเจน จำกัด จึงได้จับมือ กับ ผศ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ คณะ แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จัดเสวนา ให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ "กำจัดอาการไอ เริ่มชีวิตใหม่ที่สดใสซาบซ่าตั้งแต่ต้นปี"ผศ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธกล่าวว่า "ทุกวันนี้คนไทยเรามีปัญหาสุขภาพเรื่องอาการไอกันมาก เพราะอากาศที่แปรปรวน และมลภาวะทางอากาศที่เลวร้ายลงทุกทีๆ รวมถึงการ ใช้ชีวิตที่สมบุกสมบันของด้านหน้าที่ การงาน อาการไอนี้นอกจากจะบั่นทอน สุขภาพอนามัยที่ดีแล้ว หากปล่อยให้เป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรังอยู่ ก็จะเสียบุคลิกภาพ ความมั่นใจ อีกทั้งเสียงไอและการมีเสมหะ เป็นสิ่งรบกวนและเป็นที่รังเกียจของคน รอบข้าง สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคท้าทายอย่างมากต่อหนุ่ม-สาววัยทำงานที่มุ่งมั่น ที่จะทยานสู่ความเจริญก้าวหน้าตั้งแต่ต้นปี ดังนั้น เราควรจะเริ่มต้นกันที่การเรียนรู้เข้าใจสาเหตุและกลไกการไอ และทำการรักษาดูแลตนเองอย่างถูกวิธีกันโดยด่วน เพื่อต้อนรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ซาบซ่าสดใสกว่า"
          "อาการไอเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีลักษณะที่หลากหลาย จึงมีความจำเป็นต้องฉลาดเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับอาการ มิฉะนั้นก็จะไม่หายเสียที หรือกลายเป็นอาการเรื้อรัง ลักษณะของการไอ บางครั้งก็ช่วยบอกสาเหตุได้เช่น แบบ ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ มักเกิดจากสารระคายเคืองมลภาวะต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง แบบที่สองคือ ไอและแน่นหน้าอก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย มักพบในผู้ป่วยในโรคหอบหืดมักต้องใช้ยาขยายหลอดลมโดยช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมคลายตัว และแบบที่พบบ่อยมากคือ ไอมีเสมหะ ลักษณะเสมหะจะช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้เช่น ถ้าเสมหะสีเหลืองเขียวข้น มักเกิดจากการติดเชื้อ ถ้าเป็นสีขาวใสมักเป็นอาการไอจากภูมิแพ้หรือหอบหืด"
          ผศ.นพ.มานพชัย ได้กล่าวเสริมความรู้เรื่องการใช้ยาแก้ไอว่า "สำหรับคนที่ไอและมีเสมหะร่วมด้วยควรได้รับ ยากลุ่มละลายเสมหะ เช่น กลุ่ม คาโบซิสเตอีน 500 มิลลิกรัม หรือกลุ่มบรอมเฮกซีน 8 มิลลิกรัม เพื่อลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกละลายและขับออกมา และจะบรรเทารักษาอาการไอดีขึ้น
          ผู้ป่วยซึ่งมีอาการไอแบบมีเสมหะ ไม่ควรเลือกรับประทานยากลุ่มที่ระงับหรือกดอาการไออย่างที่คนมีอาการไอแบบแห้งๆ "แห้ง" ใช้ เพราะยาเหล่านี้ แม้จะทำให้ไอรู้สึกว่าน้อยลง แต่ไม่ได้ช่วยให้เสมหะลดลง ในทางตรงข้ามจะยิ่งสะสมมากขึ้นในหลอดลม อาจทำให้เกิดหลอดลมอุดตันและเกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรงได้"
          "ตามปกติแล้วหากรับประทานยา ที่ถูกกับโรคและอาการ รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นการไอ และดูแลสุขภาพ นอนหลับพักผ่อน ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เสมหะจะลดลงภายใน 3-5 วัน อาการไอจะหายไปภายใน 5-7 วัน
 


pageview  1205491    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved