HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 17/09/2555 ]
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

          โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนไทยมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 อันดับที่ 1 คือ โรคมะเร็ง อันดับ 2 อุบัติเหตุและการเป็นพิษ
          โรคที่สำคัญสุดของโรคหัวใจคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตันที่ภาษาแพทย์เรียกว่า coronary artery disease,CAD  หรือ coronary thrombosis CT,หรือ myocardial infarction MI (coronary  คือ ชื่อของหลอดเลือดหัวใจ, thrombosis  คือการอุดตัน, myocardium คือกล้ามเนื้อหัวใจ infarction  คือกล้ามเนื้อตาย)หลอดเลือดทั่วร่างกายจะเริ่มต้นตีบทีละน้อยทันทีหลังเราเกิด แต่ตีบ ช้ามากจึงไม่มีอาการ กระทั่งตีบได้ 70-80% ของเส้นผ่าศูนย์กลางหลอดเลือดจึงจะมีอาการ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายตีบและอุดตันมี 10 ประการคือ 1.กรรมพันธุ์ ถ้าใครมีบิดา มารดาเป็นโรคนี้ จะมีสิทธิ์เป็นมากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็นโรคนี้ 2.เพศชาย มีสิทธิ์เป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะช่วงที่ผู้หญิงยังมีประจำเดือนจะมีการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้บ้าง แต่พอหมดประจำเดือนก็มีโอกาสเป็นเท่าผู้ชาย 3.อายุ ยิ่งสูงวัยก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็น4.โรคเบาหวานเบาหวานคือ การที่มีระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหารมา 12 ชั่วโมง สูงกว่า 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ผู้ที่เป็นจะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตีบทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่หัวใจ สมอง หลอดเลือดในระบบทางเดินอาหาร แขนและขา โรคเบาหวานยังมีความเสี่ยงต่อโรคตา(ต้อกระจก เบาหวานขึ้นตา) โรคไต 5.โรคความดันโลหิตสูง ปกติความดันโลหิตระดับบนไม่ควรเกิน 140 มิลลิลิตรปรอท ระดับล่างไม่เกิน 90 โรคความดันโลหิตมีชื่อว่า "นักฆ่าที่เงียบ" หรือ silent killer เพราะผู้ที่ความดันโลหิตสูง อาจไม่มีอาการอะไรเลย อยู่ดีๆ ก็ไม่สบายมากแล้ว เช่น หลอดเลือดแตกในสมองจนเสียชีวิต หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมาทราบตอนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
          6.การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าสูบมวนเดียวหรือหลายมวน แม้บางครั้งตัวเราเองไม่สูบ แต่คนข้างๆ สูบ เราก็ได้รับควันที่ไม่ดีเข้าไปด้วย ไม่เหมือน แอลกอฮอล์ ถ้าดื่มเพียง 1 หน่วย (1 หน่วยคือ 30 ซีซีของวิสกี้ หรือเบียร์ 1 กระป๋อง หรือไวน์ 85 ซีซี) จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้บ้าง แต่ถ้าจะขับรถไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์แม้แต่หน่วยเดียว 7.โรคอ้วน ผู้ที่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ มากมาย ทั้งความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน หลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หลอดเลือดดำอุดตันที่ขา(และที่อื่นๆ)และลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดใหญ่ในปอดทำให้เสียชีวิตได้ทันที หลอดเลือดดำโป่งพองที่ขา(varicose veins) โรคเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี มะเร็งที่เกี่ยวกับโรคอ้วน 7 ชนิดคือ มะเร็งของลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เต้านม ต่อมลูกหมาก มดลูก ตับ ฯลฯ 8.ไขมันในเลือดสูงไขมันในเลือดมี total cholesterol  ประกอบด้วย high density lipoprotein, (HDL), low density lipoprotein (LDL), very low density lipoprotein (VLDL) และ triglyceride ไขมันทุกตัวถ้าสูงมากไป
          12ไม่ดีทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ยกเว้น ตัวเดียวคือ HDL ยิ่งสูงจะยิ่งดี เพราะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและอุดตัน 9.การไม่ออกกำลังกาย เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตีบและ อุดตัน ผู้ที่ผอมโดยธรรมชาติ(โดยไม่ออกกำลังกาย) มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ที่อ้วนเล็กน้อย แต่ออกกำลังกายแบบสม่ำเสมอ 10.อารมณ์ ถ้าเครียด กังวลมากไปก็มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตีบและอุดตัน
          จาก10 ปัจจัยเสี่ยงนี้ ทุกๆ คนจึง ควรออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน เต้นแอโรบิก ฯลฯ เลือกทาน อาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ คือเน้นผัก ปลา ผลไม้ เป็นหลัก จนทำให้ body mass index(BMI)หรือดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23 และ พุงชายไม่เกิน 90 ซม. หญิง 80 ซม. นอกจากนั้น ควรวัดความดัน น้ำตาล ไขมันในเลือดเป็นระยะๆ ไม่สูบบุหรี่ ทำตัวไม่ให้เครียดโดยออกกำลังกาย เดินสายกลางในชีวิตทุกๆเรื่อง
          การออกกำลังกายและทานอาหารที่ถูกต้องจะป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคอ้วนและโรคต่างๆที่ตามมา โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองตีบและอุดตัน  ฯลฯ


pageview  1206115    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved