HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 24/07/2555 ]
มหัศจรรย์แสนล้านเซลล์สมองลูกน้อย

  คำถามที่หลายคนสงสัยว่าเด็กเกิดมามีจำนวนเซลล์สมองที่เท่ากันแต่ทำไมเติบโตขึ้นมาถึงมีความฉลาด สติปัญญา และความสามารถที่ไม่เท่ากัน ปัจจัยเหล่านี้เกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีใดบ้างที่คุณพ่อ- คุณแม่จะสามารถส่งเสริมเพื่อให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมีศักยภาพสูงสุด
          นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ให้คำแนะนำว่า การพัฒนาสมองลูกต้องเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์แล้วให้เริ่มดูแลตัวเอง ด้วยการให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีความจำเป็น มิเช่นนั้นหากขาดสารอาหารที่จำเป็นแล้ว สมองของทารกอาจเกิดความผิดปกติ
          "คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงเสริมสารอาหารที่มีความจำเป็นเพื่อช่วยส่งเสริมทั้งการพัฒนาทางด้านโครงสร้างของสมอง และการทำงานของสมองลูกในครรภ์ ให้สมองของลูกทำงานได้ดีขึ้น สารอาหารบางชนิด อย่างเช่น DHA จะเข้าไปเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ซึ่งเป็นไขมัน เสริมให้มีความโปร่งพรุนมากขึ้น ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาททั้งภายในเซลล์กับภายนอกเซลล์สื่อสารกันได้ดี
          นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารที่สำคัญไม่แพ้กัน อาทิ กลุ่มของวิตามินชนิดต่างๆ เช่น วิตามินบี ที่จะช่วยกระตุ้นให้เซลล์ประสาทของลูกน้อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบประสาท ส่วนสารอาหารที่ขาดไม่ได้เลย คือ ไอโอดีน  ถ้าขาดสารอาหารชนิดนี้แล้ว สมองจะถูกทำลายอย่างถาวร ส่งผลต่อสมองของลูกน้อยในระยะยาว"
          นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า สมองของทารกในครรภ์ มีจำนวนเซลล์สมองนับแสนล้านเซลล์ ซึ่งถือเป็นความมหัศจรรย์ของการสร้างสมองที่เวลาตั้งครรภ์เซลล์จะถูกสร้างเยอะเกินกว่าที่จำเป็น ช่วงปลายของการตั้งครรภ์และหลังคลอด ช่วงต้นเซลล์สมองส่วนเกินจะค่อยๆ ถูกทำลายลง หากเซลล์นั้นไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะคงเหลือไว้ซึ่งเซลล์ที่ได้ใช้ประโยชน์เท่านั้น
          "นอกจากเรื่องโภชนาการแล้ว คุณพ่อ-คุณแม่จึงควรส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง เพื่อให้เซลล์สมองส่วนต่างๆ พัฒนาให้ได้มากที่สุด การทำงานของเซลล์สมองนั้นจะทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการเชื่อมโยงสั่งงานกันระหว่างเซลล์ ผ่านแขนงประสาท มีการสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์หรือที่เรียกว่าซินแนปส์ ให้เป็นจุดเชื่อมต่อรับสัญญาณระหว่างเซลล์ การเชื่อมต่อนี้จะเกิดมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นผ่านประสบการณ์ที่ได้รับ
          หลังจากคลอด ช่วง 3 ปีแรก หรือช่วง 1,365 วันแรกของชีวิต คือช่วงเวลาทองที่จะส่งผลให้สมองที่เคยมีจำนวนเซลล์แสนล้านเซลล์เท่าๆ กัน เริ่มไม่เท่ากัน เพราะในช่วงเวลานี้ สมองของลูกน้อยจะเติบโตสูงสุดถึง 80% เซลล์สมองมีการแตกตัวมากขึ้น คุณพ่อ- คุณแม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาสมองของลูกให้เต็มศักยภาพและต่อเนื่อง โดยเน้นให้ลูกได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์  คือให้ลูกได้รับนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน พออายุเข้า 6 เดือน ถึง 1 ปี นมยังคงเป็นอาหารหลัก แต่ต้องเพิ่มเรื่องของอาหารเสริมเข้ามา พออายุ 1 ปีขึ้นไป อาหารหลักคืออาหารครบ 5 หมู่ นมที่เคยเป็นอาหารหลัก จะกลายเป็นอาหารเสริม  พร้อมกันนั้นต้องส่งเสริมพัฒนาการโดยเปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้เซลล์สมองได้รับการกระตุ้นมากที่สุด"
          ช่วงพัฒนาการของสมองในวัยเด็กเล็กนั้น นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ เผยว่า แบ่งออกเป็นสองช่วงหลักๆ  ช่วงที่หนึ่งคือ ช่วงอายุ 2-3 ปีแรก เรียกว่าระยะ experiencesensitive ซึ่งถือเป็นช่วงที่ลูกน้อยสามารถพัฒนาสมองได้เต็มศักยภาพสูงสุด คือ ยิ่งคุณพ่อ-คุณแม่ส่งเสริมประสบการณ์ให้ลูกมากเท่าไร ลูกจะพัฒนาจากประสบการณ์ที่ได้รับมากขึ้นเป็นสิบ เป็นร้อยเท่าตัว เช่น ประสบการณ์ด้านภาษา ถ้าคุณพ่อคุณแม่ ส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านกิจกรรม ต่างๆ ในชีวิตประจำวันหรือการเล่นในช่วงนี้ ลูกก็จะเก่งภาษาอังกฤษขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถจดจำคำศัพท์ได้เป็นจำนวนมากโดยอัตโนมัติ เป็นต้น สำหรับในช่วงที่สอง คือหลังจาก 3 ปีแรกไปแล้ว พัฒนาการสมองของลูกน้อยจะเข้าสู่ระยะ experience-dependent ซึ่งเป็นช่วงที่ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและประสบการณ์ของลูกน้อยเอง คือประสบการณ์ นั้นๆ ถ้าลูกยิ่งฝึกฝนมากก็ยิ่งเก่งมาก
          ร่วมค้นพบมหัศจรรย์สมองครั้งแรกในประเทศไทย ในงาน " Enfa Brain Expo"  งานแสดงศักยภาพสมองเต็มรูปแบบ วันที่ 31 สิงหาคม-9 กันยายน 2555 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ และวันที่ 4-8 ตุลาคม 2555 ณ คอนเวนชั่น ฮอลล์ เซ็นทรัล ขอนแก่น สอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ 02-7258700 หรือรายละเอียด เพิ่มเติมที่ www.enfababy.com
 


pageview  1205836    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved