HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 09/08/2564 ]
เครือข่ายฯโต้เฟคนิวส์อ้างบุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงติดโควิดเพิ่ม

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าขุดการศึกษาหน่วยงาน วิจัยอิสระโต้ข่าวกลุ่มรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ยันไม่มี หลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ เสี่ยงป่วยและเสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มขึ้น เตือนปล่อยเฟคนิวส์เรื่องโควิด ทำคนหวาดกลัว เข้าข่ายผิดกฎหมายเผยแพร่ข่าวปลอม หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
          นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทน เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า "กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)" และเฟซบุ๊คเพจ "บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร" กล่าวถึงผลวิจัยจากสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่โดยกลุ่มรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ที่อ้างว่าอัตรา การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจะพบผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนเพิ่มขึ้นว่า ข้อมูลที่นำเสนอในข่าว ไม่ถูกต้อง เพราะข้อสรุปจากในรายงานจริงๆ ระบุว่า แม้ว่าผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ของการใช้บุหรี่ไฟฟ้ากับจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 และการเสียชีวิตในระดับรัฐ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับสัดส่วนของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 หรือเสียชีวิตจากโควิด-19 จริงๆ ในกลุ่มผู้ใช้ บุหรี่ไฟฟ้า ดังนั้น จึงไม่สามารถระบุความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างการใช้บุหรี่ไฟฟ้ากับ ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ การให้ข้อมูลผิดๆ กับสังคมเท่ากับเป็นการเผยแพร่ ข่าวสารที่บิดเบือน สร้างความหวาดกลัว ตื่นตระหนก ซึ่งอาจเข้าข่ายเฟคนิวส์ เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้
          นายอาสา ศาลิคุปต กล่าวว่า ผลการ วิจัยอีกฉบับจากศูนย์วิจัยเมโย คลินิก ซึ่งเป็น องค์กรด้านการแพทย์และการวิจัยอิสระ ระบุว่า ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้บุหรี่ไฟฟ้า กับการติดโรคโควิด-19 ดังนั้นจึงไม่ควรรีบด่วน สรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เสี่ยงติดโควิดเพิ่มเพราะหลักฐานเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน
          งานวิจัยข้อหัว Electronic Cigarette Use Is Not Associated with COVID-19 Diagnosis ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการดูแลปฐมวัยและสุขภาพชุมชน ทำขึ้นในกลุ่ม ตัวอย่างเกือบ 70,000 คน โดยแยกผู้ป่วยตามประวัติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าหรือการสูบบุหรี่ ทั้งในปัจจุบันและในอดีต ซึ่งเป็นการออกแบบ การวิจัยที่ใกล้เคียงความจริงสำหรับการตรวจหา ว่าการบริโภคนิโคตินรูปแบบใดที่อาจนำไปสู่ ความเสี่ยงในการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้บุหรี่ ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวไม่มีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยโรคโควิด-19 ขณะที่ผู้สูบบุหรี่อย่างเดียวมีความเสี่ยงลดลง ซึ่งสรุปได้ว่า แม้การใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2
          "ล่าสุด WHO ได้ออกรายงานเกี่ยวกับ การระบาดของยาสูบในระดับโลก ซึ่งยังคง ละเลยการลดอันตรายจากยาสูบและปฏิเสธนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ ยาสูบแบบให้ความร้อนซึ่งจะทำให้ผู้สูบบุหรี่ กว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก อาจต้องสูญเสีย โอกาสเข้าถึงทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่า การสูบบุหรี่ ขณะเดียวกันหน่วยงานสาธารณสุข ในหลายประเทศ เช่น อ.ย. ของสหรัฐฯ สาธารณสุข ของอังกฤษ สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ ต่างสนับสนุนให้มีการควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ให้ถูกกฎหมายและให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับ ประชาชน เพราะเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยแก้ปัญหา อันตรายจากการสูบบุหรี่ได้ ประเทศไทยจึงควรเร่งทบทวนการแบนบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อช่วยชีวิตคนไทยกว่า 10 ล้านคนที่ยังบริโภคบุหรี่และยาเส้นอยู่ในปัจจุบัน" นายอาสา กล่าว


pageview  1205835    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved