HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 23/07/2564 ]
เครือข่ายฯ เปิดผลวิจัยโต้หมอมหิดล บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่สาเหตุปอดอักเสบเฉียบพลัน

 ตามที่มีการเผยแพร่ผลการวิจัย "การประเมิน ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากบุหรี่ไฟฟ้า Economic cost of e-cigarette ปี 2563" ที่สนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้ เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้ บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) เปิดเผยว่า การทำวิจัยดังกล่าวตั้งสมมุติฐานว่า ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสเป็นโรคอิวาลี่ ทั้งที่ ความจริงแล้ว กรมควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา ออกมายืนยันแล้วว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน หรืออิวาลี่ (EVALI) แต่เป็นเพราะน้ำมัน วิตามินอีอะซิเตท ซึ่งเป็นสารเติมแต่งที่ผสม ลงไปในบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่ถูกกฎหมาย ดังนั้น ข้อสรุปจากงานวิจัยที่ตั้งสมมุติฐานไม่ถูกต้อง และจงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนต่อประชาชน จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งการแบนบุหรี่ไฟฟ้าโดยปล่อยให้มีการเติบโตของตลาดใต้ดิน ขาดการควบคุมมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอิวาลี่ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่ามีการเอาบุหรี่ไฟฟ้าไปใช้แบบผิดๆ หรือผสมกับน้ำมันกัญชาบ้างหรือไม่ แบบนี้ยิ่งอันตรายมากกว่า
          "งานวิจัยของ ศจย. มาจากการตั้งสมมุติฐานแบบไม่เป็นกลาง ทำให้ผลการวิจัยออกมาไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้อง กับงานวิจัยจากหลายๆ ประเทศที่สรุปตรงกันว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีศักยภาพที่จะช่วยชีวิต และลดปัญหาสาธารณสุขเกี่ยวกับการ สูบบุหรี่ได้ ประเทศอังกฤษ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์และมาเลเซียเริ่มเห็นตัวเลขว่าอัตราการสูบบุหรี่ลดลงได้จริง เช่นในประเทศอังกฤษ อัตราการสูบบุหรี่ลดลงเหลือ 13.9% ขณะที่งานวิจัยของสหรัฐอเมริกา หัวข้อ Potential deaths averted in USA by replacing cigarettes with e-cigarettes เผยแพร่ใน The British Medical Journal (BMJ) ซึ่งทำการศึกษาคาดการณ์ผลที่ดีที่สุดและ ผลที่แย่ที่สุดของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทดแทน การสูบบุหรี่ในช่วง 10 ปี พบว่าในสถานการณ์ ที่ดีที่สุด การใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควรลงได้ 6.6 ล้านคน ซึ่งเท่ากับว่าเราสามารถรักษาจำนวนปีที่สูญเสียไป ก่อนวัยอันควรรวมกันได้ถึง 86.7 ล้านปี ขณะที่ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด พบว่าช่วยลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ 1.6  ล้านคน หรือจำนวนปีของการเสียชีวิตที่นำกลับคืนมาได้ถึง 20.8 ล้านปี อีกทั้ง การศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ พบว่าการที่บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ช่วยประหยัดงบประมาณ จากการรักษาผู้ป่วยที่มาจากการสูบบุหรี่ ลงได้ปีละ 78,000 ล้านบาท" นายอาสา กล่าว
          นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายฯ อีกท่านหนึ่งเสริมว่า กระทรวงสาธารณสุขเคยบอกว่า ตัวเลขงบประมาณใน การรักษาผู้ป่วยและเสียชีวิตจากบุหรี่อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท และมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่กว่า 70,000 คน ซึ่งที่ผ่านมามีการผ่านกฎหมายใหม่ ขึ้นภาษีบุหรี่ เปลี่ยนภาพคำเตือนใหม่ แต่ตัวเลขการสูบบุหรี่และความสูญเสียกลับ ไม่ลดลงเลยในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา หากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายควบคุมบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่ยอมลดอีโก้ของตัวเอง ไม่สนใจผลการศึกษาหรือแนวทางจากต่างประเทศ เราจะเสียโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม การรับมือกับปัญหาการสูบบุหรี่ก็จะถึงทางตัน เหมือนกับที่เราพยายามจัดการเรื่องวัคซีนในประเทศที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอก ทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและการเจ็บป่วยจำนวนมากทั้งๆ ที่เราสามารถป้องกันได้ถ้าเปิดรับแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ


pageview  1204873    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved