HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 24/12/2562 ]
ไข้เลือดออกปี 62พุ่ง ยอดเสียชีวิต140คน ป่วยอีก1.1แสนราย สธ.เร่งกำจัดยุงลาย

 

          กรมควบคุมโรคเผยปี 2562 ผิดการ คาดหมาย ป่วยไข้เลือดออก
          1.1 แสนราย ตาย 140 ศพ วอน ปชช. เก็บบ้าน เก็บขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุงลาย ป้องกันเจ็บป่วยเสียชีวิต ด้าน "สาธิต" รู้ซึ้งหลังป่วยด้วยโรค "ชิคุนกุนยา" ประกาศทำสงครามกำจัดยุงลาย 10 ม.ค.2563
          เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดกิจกรรม "วิ่งไล่ยุง" ว่า จากการพิจารณาร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอนามัย กรมควบคุมโรค เห็นว่าเนื่องจากเข้าสู่หน้าแล้ง ไม่มีฝนตกลงมาแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่เราจะร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา และไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ผ่านมาการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของการเข้าไปฉีดพ่นยา ในบ้าน ในที่ส่วนบุคคล ประชาชนส่วนหนึ่ง ยังไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นในปีนี้เราจึงต้องมีการรณรงค์ ปลุกจิตสำนึก อย่างต่อเนื่องเพิ่มเติมจากมาตรการที่บุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการอยู่โดยจะใช้การจัดกิจกรรมวิ่งไล่ยุง ในวันที่ 10 ม.ค. 2563 เป็นจุดเริ่มต้น
          "เนื่องจากผมเจ็บป่วยด้วยโรคชิคุน กุนยา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากยุงลาย ผมเข้าใจถึงคนที่ป่วยด้วยโรคนี้ พอสัมผัสด้วยตัวเองก็รู้แล้วว่าทรมานแค่ไหน ยิ่งป่วยเองยิ่งต้องทำการรณรงค์มากยิ่งขึ้นเพื่อให้สังคมเห็นถึงอันตรายจากยุงลาย และผมเองเป็นคนออกกำลังกายอยู่แล้วจึงมองว่าน่าจะนำมาส่งเสริมการวิ่งได้ยุงเป็นการรณรงค์ครั้งใหญ่"นายสาธิต กล่าว
          ด้าน นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การจัดกิจกรรมจะเริ่มในวันที่ 10 ม.ค.2563 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป กลุ่มเป้าหมายจำนวน 3,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ ประมาณ 2,000 คน กลุ่มนักวิ่งประจำ นักวิ่งอาชีพ ประมาณ 1,000 คน จะมีทั้งการเดิน วิ่งระยะทาง ประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งแต่พื้นที่กระทรวงสาธารณสุขเรื่อยไปจนถึง โรงพยาบาลศรีธัญญา โดยจะทำการเดิน วิ่งพร้อมกับการสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งต้องเรียนว่า ทุกพื้นที่ สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นถ้วย ชาม กะละมัง แม้แต่แจกันดอกไม้ จานรองขาตู้กับข้าว ที่มีน้ำขังอยู่ หรือ แม้กระทั่ง ขยะ ถุงพลาสติก บริเวณที่มีการมัดปากถุงเล็กๆ ใบไม้ต่าง หากมีน้ำขังก็สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเราต้องเก็บบ้าน เก็บขยะให้สะอาด ปราศจากลูกน้ำยุงลาย ทั้งนี้ กิจกรรมวิ่งไล่ยุง ในวันที่ 10 ม.ค. จะถือเป็นการ Kick Off เชิงสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยจะมีการถ่ายทอดสด ไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดใดมีความ พร้อมก็จะดำเนินการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายพร้อมกัน จะจัดใหญ่ จัดเล็กแล้วแต่พื้นที่
          นพ.ขจรศักดิ์กล่าวต่อว่า ยุงลาย เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งโรคชิคุณกุนยาไม่ได้ทำให้เสียชีวิตแต่กระทบกับการใช้ชีวิตกระทบกับการทำงานเพราะทำให้เกิดการปวดเมื่อยตามร่างกาย ขณะที่โรคติดเชื้อไวรัสซิกาก็ไม่มีผลกระทบกับ คนทั่วไปยกเว้นทารกในครรภ์ซึ่งขณะนี้ไม่มีความผิดปกติ แต่ที่เราเป็นห่วงคือโรคไข้เลือดออกเพราะเมื่อป่วยแล้ว สามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยในปี 2562 กรมควบคุมโรคได้มีการคาดการณ์สถานการณ์เอาไว้ว่าจะมีการระบาดมี ผู้ป่วยไม่เกิน 1 แสนราย และเสียชีวิต ไม่เกิน 100 ราย ล่าสุด จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าสถานการณ์เกินไปจากที่เราตั้งเป้าไว้เยอะ โดยมีผู้ป่วย 1.1 แสนราย เสียชีวิต 140 กว่าราย ฉะนั้นในปีนี้หากเราเริ่มรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายกันตั้งแต่ต้น ก็หวังว่าจะช่วยลดอัตราการ เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ได้ ถ้าให้ตั้งความหวังก็หวังว่าจะมี ผู้ป่วยไม่เกิน 1 แสนราย และมีผู้เสียชีวิต ไม่เกิน 100 ราย
          กรมควบคุมโรคเผยปี 2562 ผิดการ คาดหมาย ป่วยไข้เลือดออก
          1.1 แสนราย ตาย 140 ศพ วอน ปชช. เก็บบ้าน เก็บขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุงลาย ป้องกันเจ็บป่วยเสียชีวิต ด้าน "สาธิต" รู้ซึ้งหลังป่วยด้วยโรค "ชิคุนกุนยา" ประกาศทำสงครามกำจัดยุงลาย 10 ม.ค.2563
          เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดกิจกรรม "วิ่งไล่ยุง" ว่า จากการพิจารณาร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอนามัย กรมควบคุมโรค เห็นว่าเนื่องจากเข้าสู่หน้าแล้ง ไม่มีฝนตกลงมาแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่เราจะร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา และไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ผ่านมาการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของการเข้าไปฉีดพ่นยา ในบ้าน ในที่ส่วนบุคคล ประชาชนส่วนหนึ่ง ยังไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นในปีนี้เราจึงต้องมีการรณรงค์ ปลุกจิตสำนึก อย่างต่อเนื่องเพิ่มเติมจากมาตรการที่บุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการอยู่โดยจะใช้การจัดกิจกรรมวิ่งไล่ยุง ในวันที่ 10 ม.ค. 2563 เป็นจุดเริ่มต้น
          "เนื่องจากผมเจ็บป่วยด้วยโรคชิคุน กุนยา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากยุงลาย ผมเข้าใจถึงคนที่ป่วยด้วยโรคนี้ พอสัมผัสด้วยตัวเองก็รู้แล้วว่าทรมานแค่ไหน ยิ่งป่วยเองยิ่งต้องทำการรณรงค์มากยิ่งขึ้นเพื่อให้สังคมเห็นถึงอันตรายจากยุงลาย และผมเองเป็นคนออกกำลังกายอยู่แล้วจึงมองว่าน่าจะนำมาส่งเสริมการวิ่งได้ยุงเป็นการรณรงค์ครั้งใหญ่"นายสาธิต กล่าว
          ด้าน นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การจัดกิจกรรมจะเริ่มในวันที่ 10 ม.ค.2563 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป กลุ่มเป้าหมายจำนวน 3,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ ประมาณ 2,000 คน กลุ่มนักวิ่งประจำ นักวิ่งอาชีพ ประมาณ 1,000 คน จะมีทั้งการเดิน วิ่งระยะทาง ประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งแต่พื้นที่กระทรวงสาธารณสุขเรื่อยไปจนถึง โรงพยาบาลศรีธัญญา โดยจะทำการเดิน วิ่งพร้อมกับการสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งต้องเรียนว่า ทุกพื้นที่ สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นถ้วย ชาม กะละมัง แม้แต่แจกันดอกไม้ จานรองขาตู้กับข้าว ที่มีน้ำขังอยู่ หรือ แม้กระทั่ง ขยะ ถุงพลาสติก บริเวณที่มีการมัดปากถุงเล็กๆ ใบไม้ต่าง หากมีน้ำขังก็สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเราต้องเก็บบ้าน เก็บขยะให้สะอาด ปราศจากลูกน้ำยุงลาย ทั้งนี้ กิจกรรมวิ่งไล่ยุง ในวันที่ 10 ม.ค. จะถือเป็นการ Kick Off เชิงสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยจะมีการถ่ายทอดสด ไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดใดมีความ พร้อมก็จะดำเนินการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายพร้อมกัน จะจัดใหญ่ จัดเล็กแล้วแต่พื้นที่
          นพ.ขจรศักดิ์กล่าวต่อว่า ยุงลาย เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งโรคชิคุณกุนยาไม่ได้ทำให้เสียชีวิตแต่กระทบกับการใช้ชีวิตกระทบกับการทำงานเพราะทำให้เกิดการปวดเมื่อยตามร่างกาย ขณะที่โรคติดเชื้อไวรัสซิกาก็ไม่มีผลกระทบกับ คนทั่วไปยกเว้นทารกในครรภ์ซึ่งขณะนี้ไม่มีความผิดปกติ แต่ที่เราเป็นห่วงคือโรคไข้เลือดออกเพราะเมื่อป่วยแล้ว สามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยในปี 2562 กรมควบคุมโรคได้มีการคาดการณ์สถานการณ์เอาไว้ว่าจะมีการระบาดมี ผู้ป่วยไม่เกิน 1 แสนราย และเสียชีวิต ไม่เกิน 100 ราย ล่าสุด จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าสถานการณ์เกินไปจากที่เราตั้งเป้าไว้เยอะ โดยมีผู้ป่วย 1.1 แสนราย เสียชีวิต 140 กว่าราย ฉะนั้นในปีนี้หากเราเริ่มรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายกันตั้งแต่ต้น ก็หวังว่าจะช่วยลดอัตราการ เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ได้ ถ้าให้ตั้งความหวังก็หวังว่าจะมี ผู้ป่วยไม่เกิน 1 แสนราย และมีผู้เสียชีวิต ไม่เกิน 100 ราย

 


pageview  1204952    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved