HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 30/01/2562 ]
ตรวจเลือดประเมินภาวะพังผืดในตับก่อนเกิดตับแข็ง

 เราต่างรู้ดีว่าตับสำคัญแค่ไหน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ไม่ใช่แค่คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้นที่เสี่ยงเป็นโรคตับแข็ง คนที่พบภาวะโรคอ้วนลงพุง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
          ทนพ.ญ.กัญจนา สาเอี่ยม ผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) กล่าวว่าตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างโปรตีนที่จำเป็น ต่อร่างกาย  สร้างสารที่จำเป็นในการทำให้เลือดแข็งตัว ทำลายของเสีย กำจัดสารพิษออกจากร่างกายหากเกิดภาวะตับอักเสบจะทำให้เซลล์ตับถูกทำลายจนตายลงและทำให้เกิดเป็นพังผืดในตับ ถ้ามีการสะสมของพังผืดมากขึ้นเรื่อยๆ จะเกิดเป็นภาวะตับแข็ง หากตรวจพบการเกิดพังผืดในตับได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะช่วยให้แพทย์ติดตามอาการของผู้ป่วย และให้การรักษาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          ทั้งนี้ หากเซลล์ตับถูกทำลายแล้วเซลล์นั้นไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ แต่ยังมีความมหัศจรรย์ของตับคือ แม้มีเซลล์ดีเหลืออยู่เพียง 10-15% ตับก็ยังสามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้ ยังคงประคับประคองชีวิตไปได้ หากไม่เกิดความเสียหายลุกลามขึ้นอีก นั่นคือหากความผิดปกติเสียหายเกิดขึ้นกับตับ เรามักจะไม่รู้ตัวเลยหากไม่ได้รับการตรวจเลือด เพราะในระยะแรกที่ตับเสียหาย ร่างกายจะยังไม่แสดงอาการ
          สำหรับการตรวจเลือดเพื่อประเมินภาวะพังผืดในตับก่อนเกิด ตับแข็ง เป็นการตรวจวิเคราะห์ สารชีวเคมีจากเลือด 6 ชนิด คือ Apolipoprotein A, Total Bilirubin, GGT, Alpha 2-Macroglobulin, Haptoglobin, ALT แล้วประเมิน ร่วมกับอายุและเพศของผู้ป่วยโดยใช้ อัลกอริทึม ซึ่งมีความแม่นยำสูง เพื่อประเมินการเกิดพังผืดในตับตั้งแต่ยังไม่พบผังผืดจนถึงภาวะตับแข็งตามลำดับ อีกทั้งยังรายงานค่าการอักเสบในตับ (LiverFACt) (FibroTest/Actitest) เพื่อประเมินอาการอักเสบทำลายเนื้อตับจากเชื้อไวรัส โดยการตรวจดังกล่าวจะครอบคลุมการอักเสบที่เกิดจากสาเหตุการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี, ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง คนอ้วน และไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์
          โดยจากการศึกษาประเมินภาวะ Fibrosis (ภาวะพังผืด) และการอักเสบของตับโดยใช้ LiverFACt (FibroTest/Actitest) เปรียบเทียบกับการเจาะตับ ในผู้ป่วยโรคตับจากไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี และโรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าผลที่ได้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AUROC 0.78 and 0.95 ตามลำดับ) จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง แทนการเจาะตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือปฏิเสธการเจาะตับ
          ดังนั้นวิธีการป้องกันและรักษาตับให้อยู่นานๆ คือการรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะและเหมาะสม เช่น งดอาหารที่ให้โปรตีนต่ำ มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันสูง โดยเฉพาะ ไขมันที่หืนหรือเสียจากการทอดอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานยาโดย ไม่จำเป็น และการงดรับสารพิษเข้าสู่ ร่างกายโดยเฉพาะ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รับการตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจสมรรถภาพของตับโดยละเอียด เพื่อป้องกันการเกิดโรคในอนาคต หากผู้ที่มีประวัติหรือพบความผิดปกติที่อาจเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับตับ แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจต้องมีการตรวจอื่นๆ ร่วมด้วยเพิ่มเติม
          สามารถตรวจหาความผิดปกติ ของตับและภาวะเสี่ยงต่อการดื่มสุรา ทั้งชุดตรวจประสิทธิภาพการทำงานของตับ ตรวจการทำงานของตับ พร้อมรับผลการตรวจพร้อมคำแปลค่าการวิเคราะห์ ได้ที่ห้องปฏิบัติการของ N Health หรือ โรงพยาบาล ชั้นนำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02-7624000


pageview  1205111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved