HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 18/02/2556 ]
ลดเจ็บด้วยนวัตกรรม'SAM'ช่วยภาวะหัวไหล่ติดดีขึ้นใน 2 สัปดาห์

  ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนั่งพิมพ์คอมพ์นานๆ สะพายกระเป๋า โหนรถไฟฟ้า ขับรถในสภาวะรถติด หรือแม้แต่การเล่นกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของหัวไหล่ เช่น แบดมินตัน เทนนิส และอื่นๆ อีกมากมาย เหล่านี้ถ้ายังปฏิบัติสะสมไปนานๆ พอวัยเริ่มขึ้นต้นเลข 4 อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพสะสมที่เรียกว่า "ภาวะหัวไหล่ติด" ได้ไม่ยากแพทย์อายุรเวท วิภาพร สายศรี ศูนย์รักษาไมเกรนและโรคปวดกล้ามเนื้อ ดอกเตอร์แคร์ กล่าวว่า ภาวะหัวไหล่ติด เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่ ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหัวไหล่ ซึ่งอาจมีอาการเจ็บอยู่หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน เมื่ออาการปวดทุเลาลงแขนข้างที่ปวดจะไม่สามารถยกแขนได้เหมือนเดิม และเมื่อไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ในช่วงระยะหนึ่ง ก็จะเกิดเยื่อพังผืดและหินปูนแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบหัวไหล่ ถ้าเคลื่อนไหวข้อไหล่จะปวดมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่อ่อนแรงและลีบลง ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไหล่ติดได้อย่างชัดเจน
          พญ.วิภาพร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดีอาการของภาวะไหล่ติดอาจใช้เวลาสะสมอาการนานถึง 2-3 ปี แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะปวด ประมาณ 1-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อไหล่โดยเฉพาะเวลากลางคืน บางคนปวดมากจนสะดุ้งตื่นกลางดึกจากการนอนกดทับข้างที่ปวดเป็นเวลานาน
          2.ระยะข้อไหล่ติด ประมาณ 16 เดือน อาการเจ็บลดลง แต่หัวไหล่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ โดยจะมีอาการปวดแบบเฉียบพลัน เช่น เวลาเหยียดแขนขึ้นไปหยิบของเหนือศีรษะ, เอื้อมมือไปหยิบของที่เบาะหลังรถ, เมื่อหมุนพวงมาลัยรถ, เมื่อสระผมหรือถูหลังตัวเองเวลาอาบน้ำ, เมื่อสวมหรือถอดเสื้อยืดเข้าออกทางศีรษะ ฯลฯ ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับหัวไหล่ได้ตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยบางคนกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ลีบผิดรูปได้
          และ 3.ระยะฟื้นตัวประมาณ 1-2 ปี อาการเจ็บลดลงเรื่อยๆ แขนข้างที่เจ็บเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างช้าๆ
          "กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหัวไหล่ติด คือ กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป  ส่วนใหญ่พบเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน อย่าง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่ามีโอกาสเกิดภาวะไหล่ติดสูงกว่าคนปกติ 2-4 เท่า" คุณหมอ ย้ำสำหรับวิธีรักษาภาวะไหล่ติดในปัจจุบัน ข้อมูลทางวิชาการระบุไว้ว่า มีวิธีการรักษาภาวะไหล่ติดที่นิยมใช้กันอยู่ 4 วิธี ได้แก่ 1.การทำกายภาพบำบัด นักกายภาพจะพยายามยืดไหล่และหมุนขยับส่วนที่ติด ซึ่งกระบวนการบำบัดจะเจ็บมาก 90% ของผู้ป่วยจะเลิกรักษาเนื่องจากไม่สามารถทนต่ออาการเจ็บระหว่างบำบัด 2.การบริหารบริเวณหัวไหล่ เช่น ท่าไต่กำแพง มักไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากเมื่อผู้ป่วยทำด้วยตัวเองจนถึงตำแหน่งที่หัวไหล่ติด ผู้ป่วยจะไม่ทำต่อเนื่องจากเจ็บมาก 3.การฉีดยาสเตียรอยด์ที่ข้อ ไหล่และการรับประทานยาเป็นการบรรเทาปวด และ 4.การผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งมีค่ารักษาค่อนข้างสูง
          แพทย์อายุรเวทคนเดิม อธิบายต่อว่า แต่ที่ศูนย์รักษาไมเกรนและโรคปวดกล้ามเนื้อ ดอกเตอร์แคร์ มีวิธีการรักษาภาวะไหล่ติดที่เรียกว่า SAM ต่างจากที่อื่น โดยประกอบด้วยการรักษา 3 ขั้นตอนหลัก คือ Stretching การยืดกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นของข้อต่อหัวไหล่ และ Acupresssure การกดจุด Trigger Point เพื่อสลายพังผืดยืดหยุ่นเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการรักษาในขั้นตอนที่ 3 ต่อ คือ Manipulation การปรับองศาข้อไหล่ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Goniometer ในการวัดองศา หลังจากผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้ว แพทย์อายุรเวทจะเริ่มการปรับองศาการยกหัวไหล่ทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง เพื่อทำให้การทำงานของหัวไหล่เป็นไปได้ตามปกติ
          "การผสมผสานเทคนิคดังกล่าว ทำให้การรักษาภาวะไหล่ติดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลารักษาที่สั้น หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าว แพทย์จะทำการตรวจดูการเคลื่อนไหวของข้อไหล่อีกครั้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บน้อยมาก พร้อมสังเกตได้ว่าอาการดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 2 สัปดาห์ จากเดิมที่ต้องทรมานจากความเจ็บปวดบริเวณหัวไหล่ และไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติมานานเป็นปี".
 


pageview  1205862    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved