HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 11/09/2555 ]
กระตุ้นออกำลังกายหล่อ-สวยห่างไกลโรค

 ควรชั่งน้ำหนักเป็นประจำหรือทุกวัน เพื่อให้รู้ว่าน้ำหนักเรามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร การหลงเชื่อคนอื่นแล้วปล่อยตัวปล่อยใจให้น้ำหนักขึ้นไปหลายกิโล กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคอ้วนก็เหนื่อยที่จะเยียวยา
          เมื่อหลายปีก่อนวงการแพทย์ยังไม่เรียกความอ้วนว่าโรค แต่เวลาผ่านไปจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ได้มีการยอมรับแล้วว่า ความอ้วนเป็นโรคชนิดหนึ่งที่ต้องรักษา และมีแนวโน้มขยายวงกว้างมากขึ้นไปทั่วโลก กลายเป็นโรคระบาดหรือโรคโลกาภิวัตน์ชนิดหนึ่ง เพราะการใช้ชีวิตของคนเราก็อาจขาดการออกกำลังกายเนื่องจากการงานที่รัดตัว
          ผลที่ตามมาคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพาต อัมพฤกษ์ หัวใจขาดเลือด มะเร็ง
          ลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม ที่จะรุกมาเอาชีวิต
          พวกเราไป
          ตอกย้ำได้จากคำยืนยันของ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรี
          ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
          กล่าวว่า ผลการสำรวจพฤติ
          กรรมการออกกำลังกายของ
          ประชาชนอายุ 11 ปีขึ้นไปทั่วประเทศที่มี 57.7 ล้านคน
          โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2554 พบว่า มีผู้ออกกำลังกายเพียง 26% หรือกว่า 15 ล้านคน ลดลงจากปี 2550 ที่มีเกือบ 30% ชี้ให้เห็นว่าประชาชนไทยส่วนใหญ่คือ 42 ล้านคน กำลังใช้ชีวิตบนความเสี่ยงทั้งโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะไม่ออกกำลังกาย
          ขณะเดียวกัน จากรายงานผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อในประเทศไทยของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังปีละกว่า 1 แสนคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตทุกสาเหตุ โดยผู้เสียชีวิต40% มีอายุน้อยกว่า 60 ปี การรักษาพยาบาลประมาณปีละ 3 แสนล้านบาท โดยมีรายงานว่ากลุ่มคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงแล้วกว่า 17 ล้านคน
          ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้มีแนวทางวิธีการออกกำลังกายเพื่อกำจัดความอ้วนเพื่อเตือนสติพวกเราเอาไว้
          วิธีแก้ไข หลักการใหญ่คือ ลดการกินอาหาร คือลดจำนวนพลัง งาน (แคลอรี) ที่กินเข้าไป และสอง คือการออกกำลังกาย  ดังนั้นเราจำเป็นต้องออกกำลังกายมากกว่าอาหารที่เรากินเข้าไป จะเห็นว่านักวิ่งมาราธอนมักจะผอมเพราะเผาผลาญพลังงานมาก ส่วนคนที่เป็นนักวิ่งธรรมดาหลายคนวิ่งเท่าไรก็น้ำหนักไม่ลดไม่เพิ่มเนื่องจากชอบกินมาก
          การกินอาหารที่ทำให้เราควบ คุมน้ำหนักได้ดี คือ อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแต่มีพลังงาน (แคลอรี) น้อย ส่วนมากหมายถึงอาหารที่มีไขมันต่ำ มีน้ำตาลน้อย เช่น ผัก ผลไม้ ควรกินมากหน่อย แต่ต้องระวังเหมือนกัน ควรเลือกกินผลไม้ที่ไม่สุกงอม เพราะหากผลไม้ที่สุกงอมมีน้ำตาลมากทำให้อ้วนได้ง่ายเหมือนกินขนมหวาน
          ส่วนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารมีหลายชนิด จะต่างกันตรงที่บางชนิดมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งกินแล้ว
          จะกลายไปเป็นคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัวตีบตันซึ่งมีผลทำให้เกิดโรคหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ ฯลฯ
          ส่วนไขมันที่ไม่อิ่มตัวจะเป็นตรงกันข้าม คือดีกว่า เช่น น้ำมันมะกอก (olive  oil) หรือน้ำมันคาโนลา (canola  oil) ซึ่งสามารถปรุงอาหารที่ดีแต่แพง จะทำให้มีรสชาติดี กินได้ไม่ต้องฝืนมาก กินมากหน่อยก็ไม่อันตรายต่อสุขภาพมาก เหมาะสำหรับคนห่วงสุขภาพที่มีเงิน
          ยกตัวอย่างในอาหารของชาวเมดิเตอร์เร เนียน หรือชาวฝรั่งเศส มีน้ำมันเหล่านี้มาก คนของเขาจึงเป็นโรคหัวใจขาดเลือดน้อยกว่าชาวตะวันตกอื่นๆ
          หลังจากรู้เรื่องอาหารก็เป็นเรื่องทัศนคติที่ทำให้เราปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่งานยุ่งไม่มีเวลาออกกำลังกายเลย
          จึงจำเป็นต้องตั้งกฎเหล็กขึ้นมาสำหรับบังคับตัวเอง หากมีข้ออ้างเรื่องเวลาให้ออกวิ่งตอนเช้าก่อนเวลาทำงาน โดยไปอาบน้ำ ณ ที่ทำงาน หรือวิ่งในตอนเย็นที่บ้าน
          ถ้าทั้งสองอย่างนั้นทำไม่ได้ ก็อาจจะไปออกกำลังกายที่ศูนย์ฟิตเนสใกล้ที่ทำงาน หรือหากมีเงินก็ซื้อเครื่องวิ่งมาใช้ในที่ทำงานแบบนี้เรียกว่าใช้เงินซื้อสุขภาพ หรือจะตื่นเช้าขึ้นมาสักนิด
          และเพื่อป้องกันความเบื่อหน่ายในการออกกำลังกาย ต้องใช้หลักจิตวิทยามาช่วย เช่น ไม่ทำอะไรจำเจซ้ำซากให้เกิดความเบื่อหน่ายอย่างการวิ่งหรือปั่นจักรยานอยู่กับที่โดยมีเพลงช่วยกล่อม หรือชวนเพื่อนไปวิ่งด้วยกันที่สวนสาธารณะออกกำลังกายหลายแบบสลับกันไปมา หรือเปลี่ยนไป เช่น เต้นแอโรบิก เดินเร็ว ว่ายน้ำ เล่นบาสเกตบอล ฯลฯ สิ่งสำคัญคือต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
          ที่สำคัญควรชั่งน้ำหนักเป็นประจำหรือทุกวัน เพื่อให้รู้ว่าน้ำหนักเรามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร การหลงเชื่อคนอื่นแล้วปล่อยตัวปล่อยใจให้น้ำหนักขึ้นไปหลายกิโล กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคอ้วนก็เหนื่อยที่จะเยียวยาทั้งนี้การทำวิธีนี้มีงานวิจัยยืนยันว่าการใช้เครื่องชั่งจะเตือนเราให้กินน้อยลง ออกกำลังมากขึ้น
          หากทำได้ตามนี้จะส่งผลให้ทุกคนลดน้ำหนัก และห่างไกลโรคร้ายและมีรูปร่างที่หล่อสวยได้แน่นอน.
          ลดนํ้หนักตํ้นโรค
          การลดน้ำหนักแค่ 1 กิโลกรัม
          ความดันโลหิตจะลดลงไป 2.5 กับ 1.7 ทำให้หัวใจบีบตัวด้วยแรงต่อต้านที่น้อยลง หัวใจทำงานเบาลง ถ้าลดน้ำหนักเป็นปกติ ในคนไข้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง อาจลดยาความดันหรือเลิกกินยาลดความดันซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาโรค
          โดยพบว่า ลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม อายุยืน 3-4 เดือน ถ้าลด 10 กิโลกรัม อายุขัยจะยาวขึ้นร้อยละ 35 คนที่เป็นเบาหวาน ลดน้ำหนักแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว การคุมน้ำตาลจะดีขึ้นมาก
          ถ้ามีไขมันในเลือดสูง ลด 1 กิโลกรัม คอเลสเตอรอลลด 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไตรกลีเซอไรด์ลด 1.7 คอเลสเตอรอลตัวร้ายลด 0.77 ก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นถ้าอยากลดโรคหยุดยา มาออกกำลังกายกัน.


pageview  1205893    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved