HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 02/07/2555 ]
อัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันผู้ป่วย'วิกฤติ'ที่ต้องใส่ใจ

ในปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่มีสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและพิการเป็นจำนวนมาก โดยในแต่ละวันทุกๆ 4 นาที จะมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 1 ราย และในทุกๆ 10 นาที จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต อย่างน้อย 1 คน
          นพ.สุรัตน์ บุญญะการกุล ผู้อำนวยการศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง รพ.พญาไท 1 เปิดเผยว่า สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีความผิดปกติมีสาเหตุหลักๆ 2 ประการ คือ สมองขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemic Stroke) และเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ฉะนั้นการเรียนรู้ต่ออาการที่เข้าข่ายอันจะทำให้เป็นที่มาของสาเหตุอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือรู้เท่าทันโรคจึงเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ โดยสามารถพิจารณาได้ดังนี้ คือ 1.ผู้ป่วยจะเกิดอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ไม่มีแรงยกแขน มือกำไม่ได้ ของหลุดจากมือเวลาต้องการถือของ และจะไม่มีแรงเดิน มีอาการเดินเซ ยกขาไม่ขึ้นหรือแม้แต่กระดกเท้าไม่ได้ 2.จะมีอาการหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิทข้างเดียว เมื่อดื่มน้ำจะมีน้ำไหลจากมุมปาก 3.อาการเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้คล้ายคนเมาเหล้า นึกคำไม่ออก ใช้คำพูดผิด หรือบางรายอาจพูดไม่ได้เลย
          4.ด้านภาษา ได้แก่ ฟังคนพูด (ภาษาไทย) ฟังไม่ออก และเมื่อมีผู้ใดถามอาจจะมีลักษณะถามอย่างแต่ตอบอีกอย่างก็เป็นได้ 5.มีอาการชาใบหน้า ชาครึ่งซีกร่างกาย ชาหนาๆ คล้ายถูกฉีดยาชา 6.เห็นภาพซ้อน สามารถมองเห็นซีกเดียวของลานสายตา อาจเดินชนของ ขับรถชนรถคันอื่นหรือของที่ตั้งไว้ข้างถนน(จากการมองไม่เห็นด้านข้าง) 7.เรื่องการกลืนอาจกลืนไม่ได้มีการกลืนลำบาก สำลักน้ำหรือแม้แต่น้ำลายตนเอง 8.ปวดศีรษะรุนแรงทันทีทันใดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ได้มีการกลืนลำบาก สำลักน้ำหรือแม้แต่น้ำลายตนเอง 8.ปวดศีรษะรุนแรงทันทีทันใดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในชีวิต มักมีอาการร่วมกับการอาเจียน และสุดท้ายเวียนศีรษะบ้านหมุนนานมากกว่า 5 นาที โดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทาง มักเป็นร่วมกับการเดินเซ
          นพ.สุรัตน์กล่าวถึงแนวทางการรักษาโรคว่า สิ่งสำคัญประการแรกคือ รีบพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการหรือถ้ามีอาการดังกล่าวไม่เกิน 3 ชั่วโมง ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เนื่องจากแพทย์จะได้รีบทำการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด เพราะยานี้จะสามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองไม่เกิน 3 ชั่วโมง และการให้ยาละลายลิ่มเลือดต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเท่านั้น อีกทั้งการที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากทีมแพทย์และบุคลากรด้านต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญ จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการเสียชีวิตและพิการจากโรคร้ายนี้ได้
          สำหรับการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลฉุกเฉินเดินทางจากบ้านไปโรงพยาบาล ก็ควรได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคนี้โดยเฉพาะ ซึ่งรถพยาบาลควรจะมีอุปกรณ์ ยา และเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อคอยช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว ต้องได้รับการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องโดยต้องได้รับการดูแลจากอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท บุคลากรทางการแพทย์ที่มากด้วยประสบการณ์ และเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล เพื่ออำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนของการรักษาพยาบาล ซึ่งถือเป็นการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ
          การดูแลทางด้านร่างกายของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ในระยะเฉียบพลัน ควรจะได้รับการดูแลใน "Acute Stroke Unit" หรือหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันโดยเฉพาะ เพราะใน 3 วันแรกที่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วย 1 ท่านควรจะมีพยาบาล 1 ท่าน คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะผู้ป่วยหลังผ่าตัด
          สำหรับการวางแผนในการรักษาสำหรับผู้ป่วยก็เป็นสิ่งสำคัญครับ โดยจะต้องอาศัยทีมสหสาขาที่ดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ประสาทแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกำหนดอาหาร นักกิจกรรมบำบัดที่ดูแลเรื่องการกลืนและนักจิตวิทยาที่พร้อมจะเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน โดยมีการกำหนดแผนการรักษาไว้ล่วงหน้าที่แน่นอน และติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับการให้ความรู้แก่ครอบครัว หรือผู้ดูแลอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังต้องอาศัยเครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน ร่วมด้วย ซึ่งวิธีการในการป้องกันและแก้ไขโรคแทรกซ้อนอย่างทันทีหลังจากการป้องกันและแก้ไขโรคแทรกซ้อนอย่างทันทีหลังจากเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตเฉียบพลัน โดยการดูแลผู้ป่วยอย่างเอาใจใส่ และรักษาตามมาตรฐานสากล จะเป็นการให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอัมพฤกษ์ อัมพาต ลดความพิการและลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้ และหลังจากผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตามมาตรฐานแล้ว การพักฟื้นต่อก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยครับ เพราะผู้ป่วยช่วงฟักฟื้นต้องได้รับการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นฟูจากความพิการ สามารถกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้เร็วขึ้น.

 


pageview  1205915    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved