HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 27/06/2562 ]
สพฉ.ผุดคู่มือป่วยฉุกเฉิน ใส่ข้อมูลเพียบครบถ้วน วิธีแก้ไขอาการเบื้องต้น

สพฉ.ผุดคู่มือรับมือจากเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยใส่ข้อมูลตั้งแต่อาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน พร้อมสอนขั้นตอนการใช้งานสาย 1669 วิธีปฐมพยาบาลตนเองเบื้องต้น ทั้งโรคหอบหืด อวัยวะถูกตัดขาด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ/ตัน ย้ำรู้และช่วยเร็วผู้ป่วยรอด
          นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัยรองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สพฉ.ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินมาให้ประชาชนได้ใช้ ศึกษาและนำไปปฏิบัติเพื่อการรอด ชีวิตหากเกิดภาวะฉุกเฉินกับตน เองหรือคนใกล้ชิด โดยในคู่มือได้ ระบุถึงความหมายของอาการเจ็บ ป่วยฉุกเฉินคืออะไร รวมทั้งลักษณะ อาการฉุกเฉินที่ควรแจ้งโทร. 1669 คือ 1.หมดสติ ช็อก สะลึมสะลือ เรียกไม่รู้สึกตัว 2.เจ็บหน้าอก หาย ใจเหนื่อย 3.สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ 4.ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง 5.ชักเกร็งกระตุก 6.ปวดท้องรุนแรง 7.ตกเลือด เลือด ออกทางช่องคลอด 8.เจ็บท้อง คลอด คลอดฉุกเฉิน 9.บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุ เช่น รถชน จมน้ำ ไฟฟ้าชอร์ต ไฟไหม้ สัตว์มีพิษกัดต่อย
          ในคู่มือยังได้ระบุถึงขั้นตอนการแจ้งเหตุสายด่วน 1669 เพื่อให้ประชาชนศึกษาไว้เตรียมตัวหากต้องใช้งานสายด่วน โดยใน คู่มือระบุขั้นตอนการใช้งานสายฉุกเฉิน 1669 ดังนี้ 1.เมื่อพบเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉินให้ตั้งสติและโทร. แจ้งสายด่วน 1669 2.ให้ข้อมูลว่า เกิดเหตุอะไร มีผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บ ในลักษณะใด 3.บอกสถานที่เกิด เหตุ เส้นทางจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน 4.บอกเพศ ช่วงอายุ อาการ จำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ 5.บอกระดับ ความรู้สึกตัวของผู้ป่วย 6.บอก ความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่น อยู่กลางถนน หรือรถติดแก๊ส 7.บอกชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถ ติดต่อได้ 8.ช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ 9.รอทีม กู้ชีพมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยา บาลที่เหมาะสม
          นพ.ไพโรจน์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในคู่มือเล่มนี้ยังได้สอนวิธีในการทำ CPR หรือการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยระบุขั้นตอนของการทำ CPR ว่าเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนของห่วงโซ่การรอดชีวิต โดยหลักการทำ CPR ต้องประเมินผู้ป่วยด้วยการปลุกเรียก โดยใช้มือตบบริเวณไหล่ และรีบโทร.ขอความช่วยเหลือจากสายฉุกเฉิน 1669 หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ระหว่างรอรถพยาบาลให้ทำการกดหน้าอกสลับการช่วยหายใจ โดยกดหน้าอกจำนวน 30 ครั้ง ด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100-120 ครั้งต่อนาที และเป่าลมเข้าปอดผู้ป่วยให้เห็นผนังทรวงอกขยับขึ้น 2 ครั้ง และหากบริเวณนั้นมีเครื่อง ชอร์ตไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ให้ใช้เครื่อง AED ทันที สลับกับการทำ CPR และในคู่มือเล่มนี้ยังได้บอกวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหลากหลายกรณีให้ประชาชนใช้ศึกษา เช่น การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด วิธีการพ่นยา และหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบโทร.แจ้งสายฉุกเฉิน 1669 ให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
          นอกจากนี้ยังมีการปฐม พยาบาลเบื้องต้นกรณีมีบาดแผลฉีกขาด หรือในกรณีการปฐมพยาบาลแผลอวัยวะถูกตัดขาด ให้เก็บอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น แช่ในภาชนะที่มีน้ำผสมน้ำ แข็ง ห้ามเลือดบริเวณปลายอวัยวะส่วนที่ถูกตัดขาด และห้ามแช่อวัยวะ ที่ขาดลงไปในน้ำแข็งโดยตรง สำหรับการปฐมพยาบาลกรณีไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อทำความสะอาดเพื่อลดอาการแสบร้อน ห้ามใช้โลชั่น ยาสีฟัน หรือยาปฏิชีวนะทาบนแผล เพราะปิดกั้นการระบายและห้ามเจาะตุ่มพอง
          หรือการปฐมพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อยากให้ประชาชนทุกคนศึกษาไว้ เพราะโรคนี้เป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นโดยผู้ป่วยไม่รู้ตัว และหากเรามีอาการหรือพบคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรทับหรือบีบรัดนานกว่า 20 นาที อาจร้าวไปที่ใบหน้า ปวดกรามร้าวมาถึงสะดือ ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ลามไปที่แขนไหล่จนถึงปลายนิ้ว อาจมีอาการของระบบประสาท เช่น หายใจเหนื่อย นอนราบไม่ได้ เหงื่อออก ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด หมดสติ เบื้องต้นให้นอนพักลดการเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น และโทร.แจ้ง 1669 สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่าหมดสติหยุดหายใจ ให้กดนวดหัวใจตามวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และโทร.แจ้ง 1669 ซ้ำอีกครั้ง
          "นอกจากนี้ในส่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ/ตัน ก็เป็นอีกโรคที่น่าห่วงไม่แพ้กัน เพราะหากนำผู้ป่วยส่งเข้ารับการรักษาไม่ทันท่วงที ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือมีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตได้ ดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนหมั่นสังเกตตนเองและคนใกล้ชิด หากมีอาการอ่อนแรง ชาบริเวณใบหน้า แขนขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีกของร่างกาย การพูดผิดปกติ เช่น ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด รีบโทร.แจ้งสายฉุกเฉิน 1669 โดยด่วน ดูว่ารู้สึกตัวหรือมีการตอบสนองหรือไม่ หากระดับความรู้ สึกตัวลดลงหรือไม่รู้สึกตัว ให้จับผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อป้องกันการ สำลัก นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ สุดภายใน 4 ชั่วโมง ข้อมูลต่างๆ ที่มีในคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน นี้ ประชาชนที่สนใจสามารถดาวน์ โหลดคู่มือนี้ได้จาก www.niems.go.th และเลือกเมนู Infographic หรือดาวน์โหลดได้เลยผ่านลิงค์ดังกล่าวนี้ http://www.niems.g o . t h / t h / V i e w / in f o gr a p h i c s .aspx?CateId=118


pageview  1205127    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved