HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 03/01/2562 ]
ปาบึกหนักเท่าตะลุมพุก! อุตุฯชี้ผิดปกติรอบ30ปี

 อธิบดีกรมอุตุฯ เผย "ปาบึก" เป็นพายุโซนร้อนลูกแรกในรอบกว่า 30 ปี ที่พัดเข้าอ่าวไทยในช่วงเดือนมกราคม ถือเป็นเรื่องผิดปกติ ความแรงเทียบเท่าพายุโซนร้อนแฮเรียตเมื่อปี 2505 ที่เคยพัดเข้าแหลมตะลุมพุก แต่อย่าตื่นตระหนก เพราะกรมอุตุฯ มีระบบการเตือนภัยที่ทันสมัยและรวดเร็วกว่าอดีต ชี้ช่วง 1-2 เดือนนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังพายุลูกใหม่ที่ก่อตัวอยู่นอกฝั่งฟิลิปปินส์ แต่คาดการณ์เบื้องต้นเชื่อว่าไม่กระทบต่อไทย
          เมื่อเวลา 17.00 น. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ" ปาบึก" (PABUK)" ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 2 มกราคม 2562 ความว่า พายุโซนร้อน "ปาบึก" (PABUK) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 6.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.0 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
          พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ  คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และเคลื่อนลงอ่าวไทยในช่วงวันที่ 2-3 มกราคม 2562 และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณรอย ต่อระหว่างจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ ธานี ในช่วงค่ำของวันที่ 4 มกราคม 2562 โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยมีผลกระทบดังนี้
          ในช่วงวันที่ 3-4 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมแรงบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
          ในช่วงวันที่ 4-5 มกราคม 2562 บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
          สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากลมแรง และคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งตั้งแต่วันที่ 2-5 มกราคม 2562
          ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า พายุปาบึก เป็นพายุโซนร้อนลูกแรกในรอบกว่า 30 ปี ที่พัดเข้าอ่าวไทยในช่วงเดือนมกราคม ถือเป็นเรื่องผิดปกติ ซึ่งความแรงของพายุลูกนี้เทียบเท่าพายุโซนร้อนแฮเรียตเมื่อปี 2505 ที่เคยพัดเข้าแหลมตะลุมพุก แต่ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากกรมอุตุฯ มีระบบการเตือนภัยที่ทันสมัยและรวดเร็วกว่าอดีตที่ผ่านมา จึงขอให้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด พร้อมยืนยันพายุลูกนี้ ไม่มีโอกาสพัฒนาเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง หรือพายุไต้ฝุ่นอย่างแน่นอน ซึ่งในช่วง 1-2 เดือนนี้ ยังคงต้องเฝ้าระวังพายุลูกใหม่ที่ก่อตัวอยู่นอกฝั่งฟิลิปปินส์ แต่คาดการณ์เบื้องต้นเชื่อว่าไม่กระทบต่อไทยความแรงพอกับถล่มตะลุมพุก
          ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมน ตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมน ตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมน ตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กำชับในเรื่องพายุโซนร้อนปาบึก ที่คาดว่าจะเข้าประเทศไทยในวันที่ 3 ม.ค. โดยจะกระทบในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ 3-5 ม.ค. ที่จะส่งผลให้มีฝนตกหนัก จึงกำชับให้กระ ทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ติดตามดูแลประชาชนในเรื่องการอพยพในบางพื้นที่ และให้เตรียมการรับมือ
          ทั้งนี้ ในที่ประชุม ครม.มีการแสดง แผนที่ภาพการเคลื่อนตัวของพายุโซนร้อนปาบึกว่าจะผ่านจุดใดบ้าง ขณะที่กระทรวงพลังงานได้รายงานในที่ประชุมว่า ได้มีการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่ประจำแท่นขุดเจาะน้ำมัน ให้กลับเข้ามาอยู่ในฝั่งเรียบร้อยแล้ว จึงขอเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้ติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
          ด้าน พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช. กล่าวว่า พล.อ.อภิ รัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก มีความห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก โดยเฉพาะศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4  ประสานงานและบูรณาการกับทุกภาคส่วน เตรียมรับสถานการณ์ ป้องกันและลดผลกระทบที่ประชาชนจะได้รับให้น้อยที่สุด โดยได้มีการเตรียมกำลังพล เครื่องมือ แผนการปฏิบัติ การช่วยเร่งระบายน้ำ ดำรงการติดต่อสื่อสาร ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง
          โดยเฉพาะหน่วยทหารในพื้นที่ภาคใต้จะตั้ง "จุดบริการประชาชนส่วนหน้า" ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับ ผลกระทบ เพื่อช่วยประชาชนเตรียมรับสถานการณ์และให้การช่วยเหลือได้ทันที ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่ผู้บัญชา การทหารบกได้เคยมอบให้หน่วยทหารในทุกพื้นที่ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการบรรเทาสาธารณภัย
          สั่งหน่วยแพทย์พร้อมรับมือ
          นอกจากนี้ ผู้บัญชาการทหารบกได้สั่งการให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพบกในพื้นที่ส่วนกลาง ได้เตรียมการสนับสนุนหรือส่งความช่วยเหลือเพิ่มเติมไปยังพื้นที่ประสบภัย อาทิ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พร้อมยาและเวชภัณฑ์ จากกรมแพทย์ทหารบก, เครื่องมือช่าง จากกรมการทหารช่าง, อากาศยานจากศูนย์การบินทหารบก รวมถึงยานพาหนะขนาดใหญ่ จากกรมการขนส่งทหารบก เป็นต้น เพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์หรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็วที่สุด
          ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนได้เฝ้าติด ตามข่าวสาร และให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ อาทิ การอพยพและขนย้ายสิ่งของ สำรวจความ แข็งแรงของอาคารบ้านเรือน ทั้งนี้ หาก มีข้อจำกัดหรือต้องการขอรับการช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่หน่วยทหารใกล้บ้าน, ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กอง ทัพภาคที่ 4 โทร. 0-75 38-3405 หรือศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก (ส่วนกลาง) โทร 0-2297-7648
          ส่วนการเตรียมรับมือในพื้นที่พายุผ่านนั้น นายอำนาจ ผลมาตย์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี แจ้งว่าประชาชนตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย ควรเพิ่มการเฝ้าระวัง และระมัดระวังความเสียหาย ที่เกิดจากฝนตกหนัก นอกจากนี้ พายุดังกล่าวยังสามารถทำให้เกิดคลื่นซัดฝั่งตามแนวชายฝั่งของจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ประชาชนที่อาศัยตาม แนวชายฝั่งทะเลควรเพิ่มความระมัด ระวัง อนึ่ง จากการประเมินสภาวะอากาศ ศูนย์กลางพายุไม่ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ผลกระทบจังหวัดปัตตานี และนราธิ วาส จึงเป็นเพียงกลุ่มฝนล้อมรอบ ศูนย์ กลางพายุดังกล่าวและคลื่นซัดฝั่งเท่านั้น
          นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง คาดว่าพื้นที่ จ.พัทลุง จะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าครั้งที่ผ่านมาเมื่อกลางเดือนธันวาคม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่จึงได้ออกประกาศเตือนประชาชนรับมือพายุปาบึก เนื่องรุนแรงมากว่าที่ผ่านมา  โดยเฉพาะประชาชนอาศัยพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมซ้ำซาก และใกล้ทางน้ำระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน ขอให้อพยพสิ่งของไว้สูงตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขณะที่ประชาชนในหลายอำเภอที่อาศัยบริเวณแนวเทือกเขาบรรทัดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม
          สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณเสี่ยงภัยดินโคลนถล่มนั้น ขณะนี้ได้ให้นายอำเภอดำเนินการอพยพชาวบ้านทันที
          นายกู้เกียรติยังกล่าวอีกว่า สำหรับชาวบ้านที่อาศัยบริเวณหมู่ริมทะเลสาบสงขลา และเป็นเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะกระบือจำนวนมาก และเป็นพื้นที่ราบลุ่มติดทะเลสาบนั้น ให้อพยพสัตว์เลี้ยงไว้ที่สูงทันที เพื่อป้องกันการจมน้ำตาย
          นครศรีฯ เสี่ยงฝนลมดินถล่ม
          ด้านนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีโทรสารด่วนที่สุด จากศูนย์บัญชา การเหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรงจังหวัดนครศรีธรรม ราช ถึงส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง นายอำเภอทุกอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ให้เตรียมความพร้อมในการรับมือพายุโซนร้อนปาบึก โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 ม.ค.
          ดังนั้น เพื่อเป็นการเน้นย้ำการปฏิบัติ และการเตรียมความพร้อมที่ อาจจะสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน จังหวัดนคร ศรีธรรมราช จึงขอให้อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามสถานการณ์ข่าวสารการพยากรณ์อากาศ การแจ้งเตือนภัย สภาพน้ำท่าจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ผู้ประกอบการขนส่งทางเรือให้เตรียมอุปกรณ์ชูชีพให้เพียงพอและตรวจสอบความพร้อมก่อนออกเรือ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการในการเตรียมรับสถานการณ์โดยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากจำ เป็นต้องอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
          พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจกับประ ชาชนถึงความจำเป็นต้องอพยพเพื่อ ความปลอดภัยของประชาชนเอง โดย ขอให้ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ ให้อำเภอบูรณาการร่วมกับองค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพในการ ผลักดันน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว และให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่ อาสาสมัครองค์กรการกุศล เพื่อประสานการบูรณาการ เตรียมความพร้อมทรัพยากรเครื่องมือ อุปกรณ์กู้ชีพกู้ภัย และกำลังเจ้าหน้าที่ ประจำศูนย์จัดการภัยพิบัติตำบล (1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัติและ อุบัติภัย) ในการช่วยเหลือประชาชน กู้ภัยและบรรเทาภัยตลอด 24 ชั่วโมง ใน กรณีมีคลื่นลมแรงบริเวณชายฝั่ง หรือในทะเลมีคลื่นสูง ให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องออกลาดตระเวนแจ้งเตือนการเดินเรือ เรือเล็ก เรือประมง เรือท่องเที่ยว เรือข้ามฟาก ให้งดออกจากฝั่ง
          หากเกิดเหตุสาธารณภัยให้แจ้งจังหวัดทราบทางโทรศัพท์หมายเลข 0-7535-8440 หรือสายด่วน 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th.


pageview  1205095    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved