HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 21/12/2561 ]
คาดอุบัติเหตุปีใหม่ไม่ลด-ตาย400/เหตุคนไทยขาดตระหนัก

นักวิชาการน้ำ เมา คาดสถิติอุบัติเหตุปีใหม่ 2562 ไม่ลด ตายไม่ต่ำกว่า 400 ราย ไม่ต่างจากทุกปี เหตุฉลองดื่มแอลกอฮอล์กัน ถ้วนหน้า ชี้คนไทยไม่ตระ หนัก และคิดว่ามีการรักษาให้ฟรี พร้อมกับเปิดสถิติข่าวภัยร้ายน้ำเมาในรอบปี พบสูงถึง 872 ข่าว เฉลี่ยวันละ 2 ข่าว ตาย 434 ราย เหตุเมาทะเลาะวิวาทสูงสุด เมาจมน้ำสูงเกือบ 80 ข่าว  ชี้ทุนน้ำเมาพลิกแพลงเลี่ยง ม.32 หันไปใช้ตราเสมือนยี่ห้อน้ำเมาโฆษณา
          ที่เดอะฮอล์บางกอก สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ (ครปอ.) และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ จัดเสวนาหัวข้อ "เรื่องเหล้าผลกระทบในรอบปี 2561"
          เภสัชกรสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ในรอบปี 2561 ที่รวบรวมไว้ใน www.stopdrink.com โดยมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน ว่า ในปี 2561 มีทั้งหมด 872 ข่าว หรือเฉลี่ยวันละ 2 ข่าว พบคนบาดเจ็บ 523 ราย เสียชีวิต 434 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงาน รองลงมาคือกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ยังพบผู้ก่อเหตุเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และหากจำแนกข่าวจะพบว่า มีข่าวอาชญากรรมทะเลาะวิวาทสูง 207 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 23.74 ข่าวอุบัติ เหตุอื่นๆ 205 ข่าว หรือร้อยละ 23.51 ที่น่าตกใจคือจำนวนนี้เป็นข่าวเมาจมน้ำตายกว่า 80 ข่าว ข่าวก่อกวน/สร้างความวุ่นวาย 202 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 23.16 ข่าวอุบัติเหตุทางท้องถนน 146 ข่าวคิดเป็นร้อยละ 16.74 ส่วนใหญ่เกิดกับกลุ่มเยาวชน และข่าวความรุนแรงในครอบครัว/คุกคามทางเพศ 112 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 12.85 ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ผู้กระทำเป็นคนในครอบครัว
          ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลน่าน กล่าวว่า แม้ว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจะพยายามแก้ปัญหาการเสียชีวิตและพิการจากอุบัติเหตุจราจร แต่ประเทศไทยยังมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในปี พ.ศ.2560 จำนวน 15,262 ราย โดยเฉพาะในเทศกาลปีใหม่ปี พ.ศ.2561 มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 60 คน คิดเป็นเกือบ 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับวันปกติผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนนส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและวัยทำงานคิดเป็นร้อยละ 84 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุจราจร สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงร้อยละ 40 โดยผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อได้ประสบอุบัติเหตุจราจร จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึง 1.5 เท่า เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันจะไม่สามารถหักหลบ หรือเอามือป้องกันศีรษะตนเองได้ ยิ่งไปกว่านั้นมีการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มสุราแล้วขับขี่จักรยานยนต์จะสวมหมวกนิรภัยเพียงร้อยละ 2.9 ในขณะที่ผู้ไม่ดื่มสุราจะสวมหมวกนิรภัยร้อยละ 58.3
          "ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2562 ที่กำลังจะมาถึง คาดว่าจะมีการเสียชีวิตของ คนไทยอีกกว่า 400 คน เหมือนทุกปี โดยในเทศกาลปีใหม่ การดื่มสุราจะเป็นการจัดงานเลี้ยงในที่ทำงาน ในบริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยราชการ ซึ่งจะต่างจากเทศ กาลสงกรานต์ที่จะจัดที่บ้านและชุมชน เมื่อเลิกงานเลี้ยงผู้ร่วมงานจะเดินทางกลับ และประสบอุบัติเหตุระหว่างทาง" นพ.พงศ์เทพระบุ
          นพ.พงศ์เทพกล่าวด้วย ว่า มาตรการส่วนใหญ่ที่ดำ เนินการในช่วงเทศกาลมักไม่ค่อยได้ผล เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เปลี่ยนนิสัย และไม่กลัวกฎหมาย ยังคิดว่าการดื่มแล้วขับเป็นเรื่องปกติ ใครๆ ก็ทำกัน ดื่มหลายครั้งแล้วไม่เคยเกิดเหตุ ถ้าเกิดอุบัติเหตุก็รักษาฟรี ถ้าโดนจับก็แค่คุมประพฤติ ตราบใดที่การรณรงค์และการตรวจจับทำแต่เพียงช่วงเทศกาล ตราบนั้นคนไทยก็คงต้องตายและพิการกันต่อไปทุกปี
          นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา กล่าวว่า การเฝ้าระวังในรอบปี 61 ปัญหาใหญ่  คือ ความพยายามขายเบียร์สดทางตู้กดในร้านสะดวกซื้อแบรนด์ดัง จนเกิดการเคลื่อนไหวและวิ พากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง สุดท้ายกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อทั้งสองค่ายก็ยอมยุติ  ซึ่งก็ถือว่าโชคดีที่ต่อมาได้มีการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ห้ามเอาไว้ชัดเจนแล้ว ขณะเดียวกันกลุ่มทุนน้ำเมายังมีความพยายามฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 32 ที่ควบคุมการโฆษณาโดยพยายามดัด แปลง ใช้ตราเสมือนในสินค้าที่ไม่มีแอลกอฮอล์มาเพื่อโฆษณาได้ทุกรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง เช่น น้ำดื่ม โซดา ซึ่งเป็นความผิดพลาดของระบบราชการ ที่อนุญาตให้จดทะเบียนได้ กระทรวงพาณิชย์เองต้องดูเรื่องการให้จดทะเบียนสินค้าตราเสมือนน้ำเมาแบบนี้ด้วย ที่เป็นเหมือนการหลอกลวงผู้บริโภค ขณะเดียวยังมีเรื่องในระดับพื้นที่ ที่กลุ่มทุนรุกหนัก โดยใช้ดนตรี กีฬา CSR เป็นสปอนเซอร์ ซึ่งนี้คือปัญ หาใหญ่อีกเหมือนกันโดยเฉพาะฟรีคอนเสิร์ตลานเบียร์
          "สิ่งสำคัญที่เรากังวลขณะนี้คือ CSR ของบริษัททุนน้ำเมาเข้ามาจับมือร่วมกับภาครัฐ ซึ่งมันส่งผลในระดับการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายที่กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ไปใกล้ชิดกับผู้บริหารรัฐระดับสูง ซึ่งเราต้องเรียกร้องให้มีระยะห่าง เพราะมันมีผลโดยตรงต่อการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ในช่วงเทศกาลปีใหม่รัฐบาลก็ต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย ต้องเฝ้าตรวจตรา รวมทั้งกลไกอื่นๆ ต้องแอคทีฟเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมในการปฏิบัติงาน ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ต้องขยับตัวในบทบาทหน้าที่ให้มากกว่านี้  ประชาชนเองก็ต้องบริโภคอย่างระมัดระวัง แม้ตัวเลขการบริโภคจะลดลงก็ไม่ควรฝ่าฝืนกฎหมาย" นายคำรณระบุ.


pageview  1205137    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved