HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ไทยโพสต์ [ วันที่ 01/08/2561 ]
สธ.เตรียมรับมือภัยพิบัติภาวะวิกฤติน้ำท่วม-มรสุมเข้า

สธ.เตรียมรับมือภัยพิบัติภาวะวิกฤติตามหลักสากล ย้ำมีระบบลดเสี่ยง เฝ้าระวังให้คนไทยปลอดภัย พร้อมทีมแพทย์ฉุกเฉิน-ควบคุมโรค-ดูแลสุขภาพจิตผู้ประสบภัย ชี้หลังเกิดเหตุต้องดูแลที่อยู่อาศัยไม่ให้เป็นแหล่งรวม โรค ระบุไทยไม่ใช่พื้นที่ปลอดพิบัติภัย สึนามิ แผ่นดินไหว เจอมาหมด
          กรณีที่เกิดเหตุดินโคลนถล่ม อุทกภัย มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในหลายพื้นที่ของประ เทศไทย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงระบบการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติและลมมรสุมในประเทศไทย ว่า กระ ทรวงสาธารณสุขมีการเตรียม ความพร้อมสำหรับรับมือกับภัย พิบัติเป็น 2 ระบบ คือ 1.ระบบ รับมือภาวะภัยพิบัติปกติ 2.ระบบรับมือกับภาวะวิกฤติทั้งหมด การเกิดน้ำท่วม ลมมรสุมเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดวิกฤติ ซึ่งมีระบบป้อง กันระดับประเทศแบ่งออกเป็น 4 ระยะตามหลักสากล คือ 1.ระยะ ป้องกัน คือ พื้นที่ต้องรู้ว่าพื้นที่ของตนเองมีความเสี่ยงในเรื่องใด ทั้งน้ำท่วม มรสุมต่างๆ 2.มีระบบ ลดความเสี่ยงได้หรือไม่ ซึ่งบางวิกฤติป้องกันไม่ได้ แต่สามารถเฝ้าระวังได้ เช่น หากอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมต้องเตรียมแผนป้อง กันภัยพิบัติอย่างไร 3.มีการเตรียม แผนหากเกิดเหตุจะต้องเคลื่อนย้าย คนและสิ่งของอย่างไร และ 4.การ เตรียมทีมสาธารณสุข ประกอบด้วยทีมแพทย์ฉุกเฉิน ทีมควบคุมโรค และทีมสุขภาพจิต ซึ่งมีทุกจังหวัด หากพื้นที่ใดเกิดเหตุภัยพิบัติใหญ่ ระดับพื้นที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะมีทีมระดับประเทศเข้าไปช่วยเหลือ รวมทั้งการเตรียม ความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ ยารักษาโรค สามารถลงพื้นที่ได้ทันทีในการเปิดศูนย์ภัยพิบัติหากเกิดเหตุ การณ์ อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชา ชนอย่าตื่นตระหนก ขอให้ดูแหล่งที่มาของข่าวสารว่ามาจากไหน และรับฟังจากระบบเตือนภัยหลักของประเทศเป็นหลัก
          "ทั้งนี้ ต้องมีแผนจัดการทั้งเรื่องน้ำ อาหาร สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ทั้งผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก กลุ่มนี้จะขาดอาหารไม่ได้ ดังนั้นต้องดูแลว่ามีอาหารพร้อมหรือไม่ ส่วนการดูแลจิตใจต้องมาตรวจสอบว่า ใครมีภาวะตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์มากกว่าคนอื่น ซึ่งจะมีทีมดูแลด้านจิตใจเข้าเยียวยาพร้อมกับ ครอบครัวเพื่อช่วยให้สงบลง และ การตรวจสอบผู้ประสบภัยว่ามีภาวะทางจิตหรือไม่ ทั้งหมดจะต้องประเมินหลังเกิดเหตุการณ์ประมาณ 2 สัปดาห์ หากผ่านพ้นไปยังมีอาการอยู่จะต้องประเมินภาวะซึมเศร้าเพิ่มด้วย หลังเกิดเหตุการณ์ต้องดูแลเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งรวมโรค" พญ. พรรณพิมลกล่าว
          พญ.พรรณพิมลกล่าวอีก ว่า ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาประ เทศไทยประสบกับอุทกภัยเรื่อยมาจนชิน แต่จากประวัติศาสตร์พบว่า ยังมีการเกิดสึนามิ แผ่นดินไหวต่างๆ สอนให้รู้ว่าไทยไม่ใช่ประ เทศปลอดภัยพิบัติ และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ปัจจุบันไทยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้น การดูแลรักษาความปลอดภัยจึงไม่ใช่แค่เรา สธ.ไม่สามารถทำ งานคนเดียวได้ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เฮลิคอปเตอร์ โรงพยาบาลสนามที่ตั้งอยู่หน้าถ้ำหลวงตอนเกิดเหตุ การณ์เด็ก 13 คนติดถ้ำต้องอาศัยทหาร ตำรวจ ที่มีอุปกรณ์พร้อมกว่า ซึ่งมีการซ้อมแผนร่วมกันตลอด
          ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีเกิดภัยพิบัติในประเทศอื่น การเข้าไปช่วยเหลือต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (Who) หรือไม่ พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า การเกิดภัยพิบัติต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน แต่บางครั้งต้องผ่านการกลั่นกรอง บางที่เข้าไปช่วยกันเยอะก็ไม่สามารถช่วยได้ทั้งหมด ต้องเคารพและคิดเสมอว่า ประเทศนั้นมีศักยภาพ เราแค่เข้าไปเสริมเท่านั้น.


pageview  1204962    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved