HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ [ วันที่ 27/11/2555 ]
เตือน ใช้ยาระบายแก้ปัญหาท้องผูกระวังเกิดอาการ ลำไส้อัมพาต

 ผู้ที่ประสบปัญหาท้องผูก ต้องหันไปพึ่งยาระบายเป็นประจำ เพื่อการขับถ่ายหรือการลดความอ้วน ระวังเกิดอาการลำไส้อัมพาต ควรได้ทราบถึงสาเหตุและวิธีป้องกันปัญหาดังกล่าว จากสองอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี  นพ.สุขประเสริฐ  จุฑากอเกียรติ และ นพ.บุญเลิศ อิมราพร ซึ่งได้มาให้คำแนะนำ
          นพ.สุขประเสริฐ กล่าวว่า แนวโน้มอาการท้องผูกเรื้อรัง พบในผู้ที่มีอายุน้อยหรือวัยทำงานมากขึ้น โดยเกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้าลง, หูรูดทวารหนักทำงานผิดปกติ และโรคลำไส้แปรปรวน กลุ่มที่เกิดจากลำไส้ใหญ่เคลื่อนตัวช้า มักมีอาการปวดถ่ายอุจจาระน้อยครั้ง หรือแทบไม่มีความรู้สึกอยากถ่ายเลยเป็นเวลาหลายวัน กลุ่มที่ลำไส้แปรปรวนนั้นเดิมไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจุบันพบว่ามีความสัมพันธ์กับแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดที่ผลิตก๊าซมีเทน ทำให้การเคลื่อน ไหวของลำไส้ช้าลง
          คุณหมอสุขประเสริฐกล่าว ต่อว่า ส่วนกลุ่มที่หูรูดไม่ยอมเปิดขณะทำการเบ่งถ่าย มักมีอาการถ่ายไม่ค่อยสุด ส่วนปัจจัยเสริมที่ทำให้ท้องผูก ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย, ดื่มน้ำเปล่าไม่พอเพียง, ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น การแก้อาการท้องผูกโดยใช้ยาระบาย เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เพราะยาประเภทนี้จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่  ถ้าใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้ลำไส้ไม่บีบตัว ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นเรื่อยๆ
          ด้าน คุณหมอบุญเลิศ กล่าวว่า ภาวะท้อง ผูกเรื้อรังควรได้รับการแก้ไขที่ต้นตอของสาเหตุ ปัจจุบันมีเครื่องมือแพทย์ ช่วยวินิจฉัยแยกโรคและให้การรักษาที่ตรงจุด โดย UCLA สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันรักษาโรคทางเดินอาหาร ชั้นนำของโลก มีการตรวจการทำงานของหูรูดทวารหนัก, ตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ ใหญ่ และการตรวจปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ทำให้สามารถแยกโรคท้อง ผูกได้ และสามารถทำการรักษาที่ต้นตอของความผิดปกติได้ตรงจุด ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคท้องผูก โดยไม่ต้องพึ่งยาระบายอีกต่อไป ส่วนการป้องกันท้องผูก ทำ ได้เองโดยใช้หลัก 3 อ.คือ อาหาร กินอาหารที่มีกากใยมาก, ออกกำลังกาย ให้ กล้ามเนื้อหูรูดและลำไส้มีการเคลื่อนไหว และฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นขณะขับถ่าย ควรใช้ยาระบายเป็นทางเลือกสุดท้าย ถ้าจำเป็น ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน.
 


pageview  1206111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved