HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ [ วันที่ 27/11/2555 ]
มะเร็งต่อมลูกหมากเคมีบำบัดเอาอยู่?

  ปัจจุบันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมพบมากที่สุดในสตรีไทย โดยในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,154 ราย และเสียชีวิต 4,665 ราย...หรือทุก 2 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็ง เต้านม 1 รายสถานการณ์มะเร็งเต้านมในหญิงไทยถือว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากคนส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดและการป้องกันมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะวิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และที่สำคัญเครื่องเอกซเรย์เต้านม ที่สามารถค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังมีไม่เพียงพอในการให้บริการประเด็นสนใจมีอีกว่า...ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ แม้อัตราเสี่ยงน้อยกว่า...1 ล้านคนจะเป็นสัก 2–3 คนก็ตามที แต่เมื่อเป็นแล้วจะรุนแรงกว่าผู้หญิงและรักษายากมากหากเอ่ยถึงการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งนั้น หลายๆ คนคงมักจะเกิดความวิตกกังวลกับผลต่างๆ ที่จะตามมา บ้างกลัวผมร่วง บ้างกลัวผิวไหม้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษามะเร็งที่ได้ผลดีที่สุดอย่างหนึ่งในมะเร็งทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดพร้อมกัน หรือตามลำดับที่เหมาะสม เรียกกันว่า สูตรยาเคมีบำบัด (Chemotherapy regimen) แต่สำหรับเคมีบำบัดมาตรฐานที่ใช้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจายนั้นจะให้ยาเพียงชนิดเดียว...ผลข้างเคียงจะไม่มากนักเนื่องจากสามารถคาดเดาได้ว่า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะเกิดในส่วนไหนและจะเกิดอย่างไร เพราะฉะนั้น การให้ยาเคมีบำบัดในกรณีของมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ผลข้างเคียงยังอยู่ในพิสัยที่ยอมรับได้ สามารถควบคุมได้เป็นอย่างดีผศ.นพ.ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบปัสสาวะ รพ.สงขลานครินทร์ ปฏิคมและประชาสัมพันธ์ สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ข้อมูลอีกว่าอาการของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1.กลุ่มที่ไม่มีอาการใดๆ ผู้ป่วยไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากเลย อาจจะตรวจพบจากการตรวจร่างกายประจำปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักถูกวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มต้น เมื่อได้รับการรักษาแล้วจะสามารถหายขาดจากโรคได้2.กลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะที่ผิดปกติ ทำให้มาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เมื่อผ่านการตรวจอย่างละเอียดอาจพบว่าเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ เพื่อแก้ไขภาวะต่อมลูกหมากโตและพบมะเร็งจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา3. กลุ่มที่มีอาการของมะเร็งโดยทั่วไป ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามร่างกายและกระดูก อาการเหล่านี้เป็นผลจากการลุกลามของมะเร็ง ผู้ป่วยในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่การรักษาจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นและอาจป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้คุณหมอชูศักดิ์ ย้ำว่า เมื่อทราบแน่ชัดว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แนวทางและวิธีการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ระยะของโรคและอายุของผู้ป่วย รวมทั้งการประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย“การรักษาในช่วงแรกมักรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายแสง หรือการบล็อกฮอร์โมนเพศชายร่วมเข้าไปด้วยเพื่อให้การรักษาได้ผลดีขึ้น แต่หากการรักษาไม่ได้ผลและมะเร็งมีการแพร่กระจายแล้ว แพทย์จะรักษาด้วยการบล็อกฮอร์โมนเพศชายก่อน...”แต่หากยังไม่ได้ผลอีก แพทย์จึงจะให้ยาเคมีบำบัด โดยการให้ทางเส้นเลือดดำเหมือนให้น้ำเกลือ ซึ่งสารเคมีดังกล่าวจะช่วยไปฆ่าเซลล์มะเร็ง“การให้ยาเคมีมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการลุกลามเพิ่มขึ้นของมะเร็ง และหากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแต่เนิ่นๆ หรือรวดเร็ว ก็จะสามารถช่วยรักษาโรคได้ดีขึ้นและลดอาการเจ็บปวดที่เกิดจากมะเร็งและมีผลดีคือทำให้ผู้ป่วยคงสภาพชีวิตเป็นปกติหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ยาวนานที่สุด”คุณหมอชูศักดิ์ ฝากประชาสัมพันธ์ว่า ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในวันเสาร์ที่ 1 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. จะมีงานสัมมนา “สานสายใย ใส่ใจต่อมลูกหมาก” โดยนายกสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยฯ และนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ใครสนใจไปร่วมได้ที่ ศาลาภิรมย์ภักดี สวนลุมพินี งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีที่นั่งจำกัด สำรองที่นั่งได้ที่ 0-2300-1745ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการใช้ยาเคมีบำบัด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ยาเคมีบำบัดที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วย รศ.คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ หัวหน้างานโรคมะเร็ง และผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริการทางการแพทย์โรงพยาบาลราชวิถี และนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เปิดประเด็นว่า“การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาโดยการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยรังสีรักษาที่เรียกว่าการฉายแสง...”รศ.คลินิก พญ.สุดสวาท บอกว่า การรักษาด้วยการผ่าตัดและรังสีรักษาเป็นการรักษาเฉพาะส่วนที่ได้รับการผ่าตัด หรือบริเวณที่ได้รับการฉายรังสีเท่านั้น ในขณะที่การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ทุกส่วนของร่างกาย“...เป็นผลทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด จะมีระยะเวลาการรอดชีวิตยาวขึ้น”การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่จะเข้ารับเคมีบำบัดแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านร่างกาย และ ด้านจิตใจ...ทางด้านร่างกาย ผู้ป่วยควรมีสภาวะ โภชนาการที่ดีรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีโปรตีนที่เพียงพอจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม และผักผลไม้ที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ ไม่สะอาด ควรรับประทานอาหารที่รสไม่จัด ย่อยง่าย และดื่มน้ำมากๆ หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำถัดมา...ด้านจิตใจ ควรทำจิตใจให้สงบ ทำอารมณ์และจิตใจให้ผ่อนคลายพร้อมรับการรักษา ถ้ารู้สึกวิตกกังวลหรือมีข้อสงสัย ให้ถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ภายหลังการได้รับยาเคมีบำบัด อาจเกิดผลข้างเคียงจากยาบางประการ ถ้าไม่รักษาทันท่วงที อาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ข้อสำคัญ หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ให้รีบมาพบแพทย์ เช่น มีอาการไข้ อาการเลือดออกผิดปกติ อาเจียนหรือท้องเสียมาก เป็นต้น กรณีไม่มีอาการผิดปกติ ควรมาตรวจอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่แพทย์นัดอีกข้อควรรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยในการใช้ยาในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก รศ.คลินิก พญ.สุดสวาท บอกว่า มาตรฐานของบัญชียาหลักแห่งชาติ ครอบคลุมการรักษาพื้นฐานของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทุกระยะของโรค รวมทั้งการให้เคมีบำบัดในมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย“เนื่องจากเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ช่วยยืดอายุผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ในปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยทุกสิทธิ์ในประเทศไทยรวมถึงผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถเข้าถึงยาเคมีบำบัดมาตรฐานนี้ได้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม”ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจายจึงได้รับการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ ผู้ป่วยทุกรายยังมีความหวังที่จะมีชีวิตยืนยาวต่อไปและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้“มะเร็ง”...ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ยังเป็นโรคร้ายที่น่ากลัว


pageview  1206113    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved