HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 10/03/2555 ]
ฮอร์โมนชายกับโรคหัวใจ

ฮอร์โมนชาย เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนชายที่สำคัญและโดดเด่น วัยรุ่นสร้างวันละ 3-10 มิลลิกรัม จำนวนการสร้างลดลงตามอายุ ใกล้วัยทองจะพบคุณภาพชีวิตลดลงคือลดความต้องการทางเพศลง ลดขนาดและความแข็งแกร่งของมัดกล้ามเนื้อเพศจะอ่อนปวกเปียกไปเพิ่มส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อ ไขมัน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย กำลังวังชาก็เปลี่ยนไป กระดูกบางลง ส่วนขนทั่วตัวและผมจะบางลง ด้านเส้นเลือดพบว่าการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดจะลดความเสียหายลดการแข็งตัวที่เร็วเกินอายุได้ ปกติคนที่ชอบกินอาหารไขมันสูงเช่น เนื้อ หมู ไก่ จะพบว่ามีไขมันสูงมีผนังหลอดเลือดแข็งตัวเร็วเกินอายุ และยังพบคราบก้อนไขมันอุดตันในเส้นเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจที่สำคัญมักจะเป็นคู่กันคือเส้นเลือดหัวใจตีบคู่กับฮอร์โมนชายต่ำ
          มีรายงานศึกษาชาย 504 คน อายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้นไป พบว่าหนึ่งในสามชายที่มีฮอร์โมนชายสูงที่สุดจะพบผนังเส้นเลือดหนาตัวขึ้น หลอดเลือดจึงเป็นอวัยวะเป้าหมายต่อการเกิดอัมพาตขึ้นกับปริมาณสูงหรือต่ำของฮอร์โมนชายมากที่สุด แสดงออกโดยพบว่าชายฮอร์โมนชายต่ำที่สุดจะพบผนังเส้นเลือดหนาตัวขึ้น หลอดเลือดจึงเป็นอวัยวะเป้าหมาย ปริมาณสูงหรือต่ำฮอร์โมนชายมากที่สุด แสดงออกโดยพบว่าชายที่มีฮอร์โมนชายต่ำจะพบอัตราการเกิดเจ็บหน้าอกจากขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจบ่อยที่สุด แต่เมื่อมีการเสริมเพิ่มฮอร์โมนชายรักษาฮอร์โมนชายที่ลดต่ำลงจะช่วยให้เส้นเลือดขยายตัวขึ้นทั้งเซลล์เยื่อบุผนังเส้นเลือดมีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ มีเซลล์ต้นกำเนิดในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น อาการเจ็บหน้าอกก็ลดลง ได้มีการศึกษาย้อนหลังอันตรายจากฮอร์โมนชายลดต่ำลงจากกลุ่มทหารผ่านศึกพบว่าฮอร์โมนชายยิ่งลดอัตราการเสียชีวิตยิ่งสูง เช่น ระดับฮอร์โมนชายลดต่ำลงจากกลุ่มทหารผ่านศึกพบว่าฮอร์โมนชายยิ่งลดอัตราการเสียชีวิตยิ่งสูง เช่น ระดับฮอร์โมนชายน้อยกว่า 241 หน่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตถึง 40% มากกว่ากลุ่มฮอร์โมนชายสูง กลุ่มที่ฮอร์โมนชายต่ำหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงอัตราการตายต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตันมากกว่ากลุ่มที่ไม่ต้องกำจัดหรือลดฮอร์โมนชาย
          ระดับที่ต่ำของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ในเลือดคือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยา 3 เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานปฏิกิริยาอักเสบและระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ส่งให้มีผลเสียต่อสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ผลการศึกษาตามมาไม่นานมานี้พบว่าระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ต่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงเป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างยิ่งโดยเฉพาะต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดคือใจเย็นปล่อยให้ฮอร์โมนชายต่ำลง ๆ ไม่ได้แล้ว โอกาสเสี่ยงมีมากกว่าจึงสมควรพิจารณาเพิ่มฮอร์โมนชายอย่างจริงจังแทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ย่อมมีผลเสียต่อชีวิตและคุณภาพชีวิตในวัยสูงอายุรายงานนี้เป็นรายงานล่าสุดปี 2009 ของมหาวิทยาลัยแพทย์บอสตัน สหรัฐ นอกจากฮอร์โมนชายมีประโยชน์ต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแล้วยังมีผลดีในคนไข้ขาดฮอร์โมนชาย ในกรณีหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากปัจจุบันมีรายงานการเพิ่มการใช้มากขึ้น จึงเป็นทางเลือกเพิ่มของคนไข้และแพทย์ร่วมกัน วางแผนรักษากันโดยให้ปรึกษาแพทย์ทางเดินปัสสาวะผู้ผ่าตัดอย่างใกล้ชิดว่าสมควรเพิ่มฮอร์โมนชายเป็นกรณีพิเศษหรือไม่?!
          ท่านใดที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศที่จะต้องขอถามหรือขอคำแนะนำปรึกษาให้โทรฯ ได้ที่เบอร์ 08-1133-3068, 08-4636-2789 และ 08-1814-5441 เว็บไซต์ www.meetdoctoro.com หรือส่งจดหมายที่ตู้ ป.ณ. 1812 บางรัก กท. 10500 พร้อมเบอร์โทรฯ ที่จะติดต่อได้


pageview  1205108    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved