HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 16/01/2556 ]
การปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิงเป็นความนัยของปัญหาทางเพศสัมพันธ์

รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล คลินิกสุขภาพชาย โรงพยาบาลรามาธิบดี
          ความผิดปกติทางเพศของผู้ชาย (Male Sexual Dysfunction:MSD) ความสำคัญของความผิดปกติทางเพศของผู้ชายคือ ร้อยละ 31 ของผู้ป่วยจะมีความเครียดอย่างมากหรือการมีความสัมพันธ์อย่างยากลำบาก  ได้แก่
          ความต้องการทางเพศลดลง (Hypoactive sexual desire disorder : HSDD) ผู้ป่วยจะมีอาการขาดการจินตนาการ ความคิดหรือความต้องการ, โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction :ED) ไม่สามารถคงการแข็งตัวขององคชาตสำหรับการมีความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์, ความผิดปกติของ การถึงจุดสุดยอด (male orgasm disorder :MOD) มีความยากลำบากในการถึงจุดสุดยอด  มีการหลั่งน้ำอสุจิเร็วกว่าปกติ  หรือหลังช้ากว่าปกติ หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอด, การเจ็บปวดเรื้อรัง  การปวดท้องน้อยเรื้อรังสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์
          มีการรายงานว่ามีการหลั่งน้ำอสุจิแล้วปวดแบบชั่วคราวร้อยละ 50 และถาวรร้อยละ 26 อาการ ปวดท้องน้อยเรื้อรังและการปวดเวลาหลั่งน้ำอสุจิอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นและทำให้คุณภาพชีวิตลดลง มีรายงานว่าการปวดท้องน้อยเรื้อรังพบว่ามีความผิดปกติทางเพศร้อยละ 92 มีการหลั่งน้ำอสุจิแล้วปวดร้อยละ 56 และมีความต้องการทางเพศลดลงร้อยละ 66
          นอกจากนี้ยังพบผลกระทบต่อคู่นอนหรือคู่สมรส คือคู่นอนผู้หญิง อาจมีความผิดปกติทางเพศร่วมด้วยคือ โรคซึมเศร้าร้อยละ 44  ความต้องการทางเพศลดลงร้อยละ 20  การถึงจุดสุดยอดผิดปกติร้อยละ 24 มีการรายงานว่าผู้หญิงมีความบ่อยในการมีเพศสัมพันธ์ลดลงหลังการวินิจฉัยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายร้อยละ 69  ความต้องการทางเพศการกระตุ้นทางเพศ และการถึงจุดสุดยอดลดลงอย่าง ชัดเจนหลังการวินิจฉัยว่าคู่นอนมีโรคหย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับอายุของผู้ป่วย
          อาจกล่าวได้ว่าความผิดปกติทางเพศของผู้หญิงเป็นกระจกเงาของความผิดปกติทางเพศของผู้ชาย  โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศทำให้มีความเสี่ยงต่อการมีความต้องการทางเพศลดลงในผู้หญิงได้สูงถึง 30 เท่า โรคหลั่งเร็วมากกว่าปกติทำให้มีความเสี่ยงของการถึงจุดสุดยอดผิดปกติของผู้หญิงสูงเป็นสี่เท่า
          สรุป หนึ่งในแง่มุมที่น่าผิดหวังจากอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังคืออาจส่งผลกระทบสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เมื่อมีอาการเจ็บปวด ผู้ป่วยอาจมีปัญหาการนอน การออกกำลังกาย หรือการปฏิบัติงาน ถ้าผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและความเจ็บปวดบั่นทอดพลังงาน ผู้ป่วยอาจถอนตัวจากสังคม  การดูแลตัวเองอาจช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายของผู้ป่วย
          ทดลองรับประทานยาแก้ปวด เช่น แอส ไพริน ยาไอบูโปรเฟน [แอดวิล(Advil), โมตริน (Motrin), เป็นต้น]  หรือพาราเซตามอล [ยาไทลินอล (Tylenol, อื่น ๆ)] อาจช่วยทุเลาชั่วคราวจากความเจ็บปวดของผู้ป่วย
          แสวงหาการสนับสนุนทางอารมณ์ อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจกระตุ้นทำให้เกิดความตึงเครียด อารมณ์เชิงลบ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบในความเชื่อมั่นของตนเองและความสัมพันธ์ของผู้ป่วยต่อผู้อื่น ๆ ผู้ป่วยควรยอมรับความรู้สึกตัวเองเพื่อได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน ๆ และจากแพทย์ของผู้ป่วย   การยอมรับและพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ป่วยจะเป็นขั้นตอนแรกในการทำให้สุขภาพทางอารมณ์ที่ดีขึ้น
          การเรียนรู้กลยุทธ์สำหรับการจัดการความ เครียด ความกังวลหรือความเครียดมากเกินไปในบางสถานการณ์ทำให้อาการปวดเรื้อรังรุนแรงมากขึ้นเทคนิคการจัดการความเครียดที่มีประสิทธิภาพไม่แต่เพียงลดระดับความเครียด แต่ยังอาจมีผลกระทบทางอ้อมในการลดความเจ็บปวดที่เกิดจากความเครียด พยายามที่จะใช้เทคนิคการผ่อนคลายและลดความเครียด เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิหรือการหายใจลึกง่าย ๆ.


pageview  1205479    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved