HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 12/12/2555 ]
การปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง เป็นความนัยของปัญหา ทางเพศสัมพันธ์ (1)

รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล
          คลินิกสุขภาพชายโรงพยาบาลรามาธิบดี
          ในผู้หญิง โรคปวดท้องน้อยเรื้อรังหมายถึงอาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ได้แก่ บริเวณต่ำกว่าสะดือและระหว่างตะโพก อาการปวดต้องเป็นเวลานานอย่างน้อยหกเดือน ไม่ได้เป็นวงรอบของประจำเดือน
          ถ้ามีการถามผู้ป่วยถึงตำแหน่งอาการปวด ผู้ป่วยอาจใช้มือกวาดไปทั่วบริเวณทั้งหมดมากกว่าที่จะชี้ไปที่จุดเดียว บริเวณปวดไม่ชัดเจนได้แก่ เชิงกราน ท้องน้อยด้านล่าง หลัง  ขาหนีบ หรือหน้าขา อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเป็นอาการของโรคอื่น ๆ หรือเป็นอาการเฉพาะของโรคปวดท้องน้อยเรื้อรังเอง
          สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังมักจะยากที่จะหา  เหมือนผู้หญิงหลายรายที่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยเฉพาะที่จะอธิบายความเจ็บปวดของผู้ป่วย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอาการปวดของผู้ป่วยไม่ได้เป็นจริงและเกินกว่าจะเยียวยา
          ถ้าสามารถทราบสาเหตุของอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่สาเหตุ  ถ้าไม่สามารถหาสาเหตุของโรคปวดท้องน้อยเรื้อรัง  การรักษาสำหรับโรคอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง จะมุ่งเน้นไปที่การจัดการความเจ็บปวดอาการ
          อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังแสดงอาการหลายลักษณะที่แตกต่างกัน  อาการและอาการแสดงได้แก่ อาการปวดอย่างรุนแรงและสม่ำเสมอ ความเจ็บปวดที่เกิดแล้วมีอาการมาตลอด ปวดร้าวอย่างน่าเบื่อ ปวดคล้ายเข็มแทงหรือตะคริว เหมือนมีแรงกดหรือความหนักลึกภายในเชิงกราน
          นอกจากนี้อาจพบอาการซับซ้อนของกลุ่มอาการโรคปวดท้องน้อยเรื้อรัง ได้แก่ ความเจ็บปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ อาการปวดระหว่างการเคลื่อนไหวของลำไส้ ปวดเมื่อนั่งลง ปวดบริเวณอวัยวะเพศ ปวดปลายประสาท ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก
          ความรู้สึกไม่สบายของผู้ป่วยอาจเพิ่มมากขึ้นหลังจากยืนเป็นเวลานาน และอาจจะทุเลาเมื่อได้นอนลง  อาการปวดอาจจะไม่รุนแรงและน่ารำคาญหรืออาจจะเป็นอย่างนั้นอย่างรุนแรงจนไม่สามารถทำงาน ไม่สามารถนอนหลับและไม่สามารถออกกำลังกายได้
          ปัญหาทางนรีเวชหลายอย่างอาจเป็นที่มาของอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม โรคอื่น ๆ สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง (Interstitial cystitis) นอกจากนี้ปัจจัยทางจิตวิทยาอาจนำไปสู่อาการปวดของผู้ป่วย.
 


pageview  1205835    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved