HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 12/09/2555 ]
ยาที่ทำให้เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล
          คลินิกสุขภาพชายโรงพยาบาลรามาธิบดี
          ผลข้างเคียงทางเพศของยารักษาโรคซึมเศร้ามีผลทั้งในผู้ป่วยชายและผู้ป่วยหญิง และมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ป่วย เพราะยาเหล่านี้แพทย์มักสั่งในผู้ป่วยอายุน้อยหรือผู้ใหญ่วัยกลางคน
          ผลข้างเคียงทางเพศของยารักษาโรคซึมเศร้า ได้แก่ การไร้สมรรถภาพทางเพศ (impotence) การหลั่งน้ำอสุจิผิดปกติ (ejaculatory dysfunction) และมีความต้องการทางเพศลดลง ( decreased libido)  อาการข้างเคียงทางเพศอาจเกิดร่วมกับสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่ขาดความภาคภูมิใจของตนเอง จึงทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
          ถ้าผู้ป่วยต้องใช้ยานาน จำเป็นต้องแจ้งอาการแก่แพทย์ผู้รักษา เพื่อหาทางแก้ปัญหา ซึ่งได้แก่การเปลี่ยนยารักษาโรคซึมเศร้า
          มีรายงานแบบสุ่มตัวอย่าง โดยเพิ่มยาเม็ดอดบุหรี่ [บูโพรพิออน  (Bupropion)] หรือยาขยายหลอดเลือด กลุ่ม phosphodiesterase type 5 (พีดีอี-5PDE5) inhibitor ร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้า ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเนื่องจากยารักษาโรคซึมเศร้า
          2.1 ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก(Tricyclic Antidepressants-TCA)  จะพบบ่อยในเรื่องความผิดปกติของการถึงจุดสุดยอด  ซึ่งอธิบายได้จากการใช้ยาดังกล่าวในการยับยั้งการหลั่งน้ำอสุจิ  ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น amitriptyline (Elavil, Polytanol, Tripta, Triptyline, Tryptanol) และ imipramine (Tofranil) เป็นต้น
          2.2 ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดส [monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)]  มักสัมพันธ์กับยาความผิดปกติของการถึงจุดสุดยอด แต่ยังไม่ทราบกลไกของตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ phenelzine (Nardil), isocarboxazid (Marplan), Tranylcypromine (Parnate)
          2.3 ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม เอส เอส อาร์ ไอ (SSRI : selective serotonin reuptake inhibitor ตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ paroxetine (Paxil), sertraline (Zoloft), citalopram (Celexa), fluvoxamine (Luvox, Faverin, Fluvoxin), fluoxetine (Prozac) เป็นต้น
          ยาฟลูอ๊อกซีทีน เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม เอส เอส อาร์ ไอ ได้รับการยอมรับว่าเป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยมาก ผลข้างเคียงน้อย ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ฟลูอ๊อกซีทีน ยังเป็นต้นแบบของการพัฒนายารักษาโรคซึมเศร้าอีกหลายชนิดต่อมา
          อย่างไรก็ตามประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่รับประทานยากลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศ มีการศึกษาน่าสนใจว่าผลข้างเคียงดังกล่าวสามารถรักษาด้วยการรับประทานยาร่วมกับยากลุ่มพีดีอี -5
          นอกจากนี้มีรายงานว่าผู้ป่วยที่รับประทานยากลุ่มเอส เอส อาร์ ไอ จะมีอาการหลั่งน้ำอสุจิช้า  ซึ่งเป็นที่มาของการใช้ยาดังกล่าวในการรักษาโรคหลั่งน้ำอสุจิเร็วกว่าปกติ
          อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิด.
 


pageview  1205894    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved