HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 08/04/2563 ]
จิตแพทย์แนะวิธีจัดการความเครียด

 รับมือโควิด-19 ไม่ให้ป่วยใจ
          ท่ามกลางสถานการณ์ โควิด-19 ทุกคนตกอยู่ในความเครียดและความกังวลใจ การจัดการความ เครียดเพื่อรับมือโควิด-19 อย่างถูกวิธี พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์ รพ.กรุงเทพ กล่าวว่า ความเครียดเป็นกลไกโดยธรรมชาติที่ ช่วยให้มนุษย์เตรียมตัววางแผนและรับมือกับสถาน การณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่เรารู้สึกเครียด กลัว วิตกกังวล เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ขวนขวายหาความรู้ หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ให้มีการวางแผนและเตรียมการรับมือกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น สำหรับ 4 สาเหตุหลักในผู้ป่วยที่มาพบจิตแพทย์ ระบุว่า โควิด-19 ทำให้เกิดความเครียดคือ 1) กลัวการติดเชื้อ เกิดอาการรู้สึกหวาดระแวงคนรอบข้างคนใกล้ตัว 2)สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรายวันมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น นโยบายรัฐบาลปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เกือบทุกวัน 3) ความกังวลเรื่องหน้าที่การงาน 4) การที่ไม่มีทางรู้ว่าสถานการณ์นี้จะยาวนานเพียงใด
          ในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต (Mental Health) อยู่เดิม อาการอาจกำเริบรุนแรงขึ้นได้วิธี การรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเข้าใจคือ ไม่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ในสถานการณ์แบบนี้อาจเกิดความ เครียดขึ้นได้ แต่ความเครียดอาจทำให้เกิดภาวะท้อถอยหมดหวัง อารมณ์ที่ไม่เป็นปกติทำให้เรามีโอกาสตัด สินใจทำสิ่งใด ๆ โดยไม่รอบคอบ คำแนะนำคือ ควรประคับประคองอารมณ์ให้ผ่านสถานการณ์ไปให้ได้ ในแต่ละวันรักษาตัวให้ดีอย่าให้ติดเชื้อ, ติดตามข่าว สารเท่าที่จำเป็น เช็กข่าววันละครั้งก็เพียงพอ เลือกรับข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ลดการเสพโซเชียลมีเดีย ระมัดระวังข่าวปลอม, ปฏิบัติตามคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เป็นต้น
          ตรวจสอบอาการทางร่างกายจิตใจอารมณ์ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังอาการซึมเศร้า, ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติและมีคุณค่า แม้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เราก็จำเป็นต้องดำเนินชีวิตให้เป็นปกติ เทคนิคใช้ชีวิตให้ปกติ ประกอบด้วยกินให้เป็นปกติ ทำอาหารง่าย ๆ นอนให้ปกติ การนอนหลับให้เพียงพอเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดี ป้องกันไวรัสและภาวะซึมเศร้าได้ เชื่อมต่อกับผู้คน แม้จะเจอเพื่อนฝูงเหมือนก่อนไม่ได้ แต่ยังสามารถเชื่อมต่อ พูดคุยปรึกษาหารือกันได้ โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อถึงกัน หากิจกรรมทำอย่าให้ว่าง แม้เวิร์ก ฟอร์ม โฮม ก็ควรทำตัวเหมือนปกติ ตื่นเช้า อาบน้ำ แต่งตัว หรือออกกำลังกายตามยูทูบแทนการไปฟิตเนส ทำสิ่งที่สนใจและงานอดิเรกที่ชอบ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ออกกำลังกายสมอง ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ทำกิจกรรมในเงื่อนไขสถานการณ์ที่จำกัด เช่น ลองวาดรูปภาพด้วยอุปกรณ์เท่าที่มี อบขนมหรือทำอาหารง่าย ๆ ฟังเพลง เป็นต้น
          สุดท้าย คือ ฝึกปรับทัศนคติ อย่าตระหนก อย่ากังวลจนเกินไป โดยใช้หลักการ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) คือ ทุกครั้งที่มีความรู้สึกแย่ ๆ เกิดขึ้นต้องรู้สึกตัว ลองใช้เวลาสักวันละ 5 นาที สำรวจ ทบทวนความคิด ความรู้สึก หรือการตอบสนองทางร่างกาย ถ้าไม่แน่ใจลองถามคนรอบข้างและคนใกล้ชิด เมื่อรับรู้ถึงความรู้สึกลบ ไม่ต้องพยายามปรับให้เป็นบวก โดยการอยู่บนพื้นฐานความจริง อยู่แบบกลาง ๆ มีทั้งลบและบวก เมื่อรู้สึกแล้วก็แค่รับรู้ว่ามันเป็นความรู้สึก ไม่ต้องไปหงุดหงิดซ้ำซ้อนยอมรับว่าความผิดพลาด ความล้มเหลวเป็นสิ่งที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ Mindfulness ช้าลงช่วยให้เร็วขึ้น ใช้ชีวิตให้ช้าลงสักนิด พักความคิดสัก 10 วินาที แล้วลองฝึกที่จะจดจ่ออยู่กับวินาทีที่เป็นปัจจุบัน นั่นคือช่วงที่ Mind ได้รับการบำบัด Take A Break หยุดทั้งความคิดลบและบวก เทคนิคนี้เรียกว่า Mindfulness ฝึกให้ได้วันละนิดเมื่อนึกได้ เมื่อ Mind ได้พักเติมพลังเป็นระยะ ๆ จะมีเรี่ยวแรงออกไปสู้รบกับสถานการณ์ยาก ๆ ได้ใหม่ Sharing is Caring คงความสัมพันธ์ไว้ให้มั่น แม้จะห่างกายตามนโยบาย Social Distancing แต่ไม่จำเป็นต้องห่างกัน สามารถโทรฯ คุยกัน หรือจะ VDO Call ให้เห็นหน้ากันบ้าง.


pageview  1205145    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved