HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 18/09/2562 ]
ลดเสี่ยงมีบุตรยาก

  ญหาการมีบุตรยาก พบว่าเกิดจากหลากหลายปัจจัย เพิ่มโอกาสในการมีเจ้าตัวน้อยมาวิ่งเล่นในบ้านมากขึ้น ควรตรวจความพร้อมของร่างกายให้แน่ใจ โดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร รพ. พญาไท 2 เผยว่า การมีบุตรยากในผู้หญิงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางพันธุกรรม การฉายรังสีที่อาจส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ รวมไปถึงวิถีชีวิตปัจจุบันที่เกิดภาวะความเครียดได้ง่าย
          อีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญของการมีบุตรยาก คือ เรื่องของอายุของฝ่ายหญิง เนื่องจากในปัจจุบันคนแต่งงานกันช้าลง กว่าจะพร้อมมีลูกก็ตอนที่อายุมากแล้ว ปกติผู้หญิงมีไข่ในรังไข่จำกัด ไข่เหล่านี้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก จะมีไข่เพียง 3-4 แสนฟอง และในแต่ละเดือนจะมีไข่หลายใบโตขึ้นเพื่อแข่งขันกัน และตกออกมาใช้งานเพียง 1 ฟองเท่า นั้น พออายุมากขึ้น จำนวนไข่จึงเริ่มน้อยลง คุณภาพก็ด้อยตามลงไป จึงเป็นผลให้ผู้หญิงช่วงวัย 40-49 ปีขึ้นไป ประสบปัญหาการมีบุตรยาก และเมื่ออายุ 49-50 ปีเป็นช่วงเข้าสู่วัยทอง รังไข่หยุดทำงาน ประจำเดือนหมด และจะไม่สามารถมีลูกได้
          อย่างไรก็ตาม สาว ๆ ที่แต่งงานเร็วอย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะมีโอกาสเป็นภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากได้เช่นกัน โรคนี้พบในคนอายุต่ำกว่า 40 ปี ที่รังไข่ทำงานลดน้อยลงหรือเหลือปริมาณไข่ในรังไข่น้อย สาเหตุของภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคทางพันธุกรรม การรับคีโมหรือฉายรังสีเพื่อรักษาโรค และยังพบว่ามีคนไข้จำนวนมากที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเช่นกัน ที่สำคัญคือในระยะเริ่มต้นของภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดไม่มีการแสดงอาการแต่อย่างใด และจะส่งสัญญาณประจำเดือนมาไม่ปกติ เมื่อรังไข่เริ่มเสื่อมมาก แต่ผู้หญิงสามารถรู้ว่าตัวเองเป็นภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดได้ อาจใช้การตรวจฮอร์โมน AMH (Anti-Mul lerian hormone)
          สำหรับการตรวจระดับฮอร์โมน นพ.ธีรยุทธ์ เผยว่า AMH เป็นฮอร์โมนหนึ่งของผู้หญิง จะมีปริมาณสัมพันธ์กับจำนวนไข่ใบเล็ก ๆ ในรังไข่ แพทย์จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในการตรวจวัดปริมาณของไข่ในรังไข่ได้ ซึ่งการตรวจ AMH นี้เป็นการตรวจแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ ด้วยความแม่นยำในการตรวจที่มากกว่าการตรวจด้วย FSH: Follicle-Stimulating hormone หรือการทำอัลตรา ซาวด์นับฟองไข่ในวันที่ 2-3 ของประจำเดือน มีวิธีการตรวจง่าย ๆ เพียงเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับ AMH และส่งตัวอย่างเลือดไปยังห้องแล็บ ซึ่งจะทราบผลภายใน 1-2 วัน หากระดับ AMH สูง แสดงว่าไข่มีปริมาณมาก ถ้าระดับค่าต่ำแปลว่าไข่เหลือในปริมาณน้อย การตรวจดังกล่าวจะทำให้รู้ว่าต้องรีบเร่งที่จะมีลูกในเวลาอันรวดเร็ว หรือปล่อยให้มีแบบไปเรื่อย ๆ จะได้วางแผนการมีบุตรต่อไปได้อย่างวางใจ


pageview  1205014    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved