HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 16/05/2555 ]
ความผิดปกติทางเพศในผู้หญิง(10)

  รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล คลินิกสุขภาพชาย โรงพยาบาลรามาธิบดี
          ยาเม็ดอดบุหรี่ (bupropion) ได้ถูกแนะนำว่าสามารถทำให้มีกิจกรรมทางเพศมากขึ้น ยาดังกล่าว ยังใช้เป็นทางเลือกในการรักษาภาวะซึมเศร้าเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดปกติทางเพศ แต่ยังมีการทดลองในความผิดปกติทางเพศไม่มากนัก จึงเป็นยาในการทดลองอยู่
          ยายับยั้งพีดีอี -5 ชนิดซิลเดนาฟิล มีความพยายามที่จะค้นหาประโยชน์ของยายับยั้งพีดีอี -5 ในความผิดปกติของการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของผู้หญิงโดยมีความเชื่อว่าสรีรวิทยาที่เหมือนกันขององคชาตและคลิตอริส ยาซิลเดนาฟิลอาจช่วยให้คลิตอริสมีเลือดคั่งระหว่างมีการกระตุ้นทางเพศจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัว โดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังอวัยวะเพศและเพิ่มการกระตุ้นทางกายภาพในบริเวณดังกล่าว ทำให้มีการวิจัยเสนอแนะการใช้ยาดังกล่าวรักษาความผิดปกติทางเพศในสตรี อย่างไรก็ตามทางการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานยืนยันและเผยแพร่เพื่อแสดงว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้หญิง
          ความคิดเรื่องการทดลองของยาซิลเดนาฟิล (sildenafil) สำหรับการรักษาความผิดปกติของการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศหญิง เริ่มในปี ค.ศ. 2009 พบว่ายามีประสิทธิภาพปานกลาง นอกจากนี้ยาดังกล่าวยังอาจมีประสิทธิภาพในผู้หญิงที่มีความผิดปกติของความเร้าอารมณ์ทางเพศหญิง ที่เกิดจากโรคมัลติเพิลสเคลอโรซิส [Multiple sclerosis หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่าโรคเอ็มเอส (MS)] โรคเบาหวาน หรือยารักษาโรคซึมเศร้า
          อย่างไรก็ตามการศึกษาเพิ่มเติมมีความจำเป็นเพื่อยืนยันการค้นพบเหล่านี้ มีการศึกษาหนึ่งรายงานว่าไม่มีผลในเชิงบวกต่อสตรีวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งมีการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างโดยใช้ยาซิลเดนาฟิลในผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนอายุระหว่าง 22-28 ปีซึ่งมีความผิดปกติของการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ มีการวัดความรู้สึกการกระตุ้นทางเพศ การถึงจุดสุดยอด มีความสุขทางเพศ และความบ่อยของจินตนาการทางเพศและการมีเพศสัมพันธ์ การวิจัยพบว่ามีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นฐานและยาหลอก แต่ยังต้องมีการติดตามผลต่อไป
          สมุนไพร (Herbals) ตำรับยาสมุนไพรมีหลายชนิดในการรักษาความผิดปกติทางเพศในผู้หญิง แต่ยังไม่ทราบกลไกเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาสมุนไพรและยังไม่มีการวิจัยแบบสุ่มสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรในโรคความผิดปกติทางเพศ
          สรุป ทั้งที่อุบัติการณ์ของโรคความผิดปกติทางเพศหญิงสูง ยังมีคำแนะนำหรือแนวทางการรักษาน้อยมาก สาเหตุของโรคความผิดปกติทางเพศมีความสลับซับซ้อนที่ต้องการวินิจฉัยแบบรอบคอบ เพื่อระบุสาเหตุที่ผันกลับได้ การพูดคุยแบบเปิดเผยและชัดเจนระหว่างผู้ให้บริการและผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ได้ทางเลือกของการรักษาที่เหมาะสม ทางเลือกของการรักษาแบบจิตบำบัดหรือไม่ใช้ยาทางเภสัชวิทยาควรพิจารณาเป็นอันดับแรก นอกจากหลักฐานการวินิจฉัยเป็นอย่างชัดเจนสนับสนุนการใช้ยาทางเภสัชวิทยา เนื่องจากมีการรับรู้ระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น การศึกษาวิจัยมีความจำเป็นมากขึ้นเพื่อให้มีการปรับปรุงทางเลือกการรักษา มีหลักฐานสนับสนุนการใช้ยาทางเภสัชวิทยาขึ้นอยู่กับสาเหตุของผู้ป่วยเพื่อปรับปรุงความผิดปกติของการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ความต้องการทางเพศและการถึงจุดสุดยอด และคุณภาพชีวิตทั้งหมด ผลจากการทดลองทางคลินิกควรแปลผลอย่างระมัดระวัง เนื่องจากยึดหลักพื้นฐานจากทรรศนะของผู้ป่วยต่อการทำงานทางเพศและการทดลองยังมีขนาดของกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก.
 


pageview  1205456    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved