HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 04/04/2555 ]
คอลัมน์ ดูแลสุขภาพ: เสี่ยงแสงแดด ป้องกันมะเร็งผิวหนัง

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลการเฝ้าระวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี 2553-2554 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด 38 ตัวอย่าง พบไม่เข้ามาตรฐาน 2 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 5.3 เนื่องจากตรวจพบปริมาณสารป้องกันแสงแดดต่ำกว่าฉลากระบุเกินเกณฑ์ยอมรับค่าคลาดเคลื่อน 2 ตัวอย่าง ชี้คนผิวขาวมีโอกาสเกิดมะเร็งที่ผิวหนังมากกว่าคนผิวคล้ำ พร้อมแนะควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดให้เหมาะกับสภาพผิว
          แสงแดดทีส่องลงมาบนพื้นโลก ประกอบด้วยคลื่นแสงมากมาย แต่ที่มีผลกระทบกับผิวมนุษย์มากที่สุดคือ รังสีอัลตราไวโอเล็ต (uitraviolet ray, UV) ซึ่งมีปริมาณร้อยละ 10 ในแสงแดด แบ่งเป็นรังสี อัลตราไวโอเล็ตชนิด A (UVA) ร้อยละ 9.5 และรังสีอัลตราไวโอเล็ตชนิด B (UVB) ร้อยละ 0.5
          ในแสงแดด รังสีทั้ง 2 ชนิดนี้มีประโยชน์และโทษแก่ผิวหนัง โดย UVA มีความสามารถทะลุทะลวงและทำลายผิวหนัง ทำให้ผิวแก่ ผิวหนังหนา หยาบกร้านและมีสีคล้ำขึ้น (tanning) เนื่องจากเกิดการกระตุ้นเซลล์เม็ดสีให้สร้างเม็ดสี (melanin pigment) เพิ่มมากขึ้น ส่วน UVB จะทำให้เกิกอาการผิวหนังร้อนแดง (erythema) หรือเกิดอาการที่เรียกว่าถูกแดดเผา (sun-burn)  ทำให้ปวดแสบปวดร้อน นอกจากนี้รังสีอัลตราไวโอเล็ตในแสงแดด อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ผิวหนังโดยคนผิวขาวจะมีโอกาสเกิดมะเร็งที่ผิวหนังมากกว่าคนที่ผิวคล้ำ ดังนั้นึงควรปกป้องผิวจากแสงแดดให้มากที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการตากแดด หรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันแสงแดดทาปกปิดผิวหนังในขณะมีกิจกรรมกลางแจ้ง
          สำหรับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดควรเลือกผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB ผลิตภัฒฑ์ป้องกันแสงแดดจะมีการระบุค่า SPF ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดในการป้องกันรังสี UVB 15 หมายความว่า เมื่อทางผลิตภัณฑ์นี้แล้วสามารถทนแดดได้นานกว่าเดิม 15 เท่า คนผิวขาวเมื่อถูกแสงแดดจะแดงง่ายกว่า คนที่มีผิวคล้ำ ดังนั้นคนที่มีผิวคล้ำอาจใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีค่า SPF เท่ากับ 6-14 ในขณะที่คนผิวขาวหรือคนที่เป็นกระหรือมีรายด่างดำ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีค่า SPF เท่ากับ 15 หรือมากกว่านั้นและควรทาทิ้งไว้ 15-30 นาทีก่อนที่จะออกสู่แสงแดด
          นอกจากนี้ยังมีค่าประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันรังสี UVA เรียกว่าค่า PPD (Persistent Pigment Darkening) โดยแสดงค่าของ PPD ในรูป PA+, PA++ และ PA+++ ซึ่งค่า PPA+++ เทียบเท่าค่า PPD เท่ากับหรือมากกว่า 8 ทั้งนี้มีข้อแนะนำว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีประสิทธิภาพดีควรมีค่าอัตราส่วนระหว่าง SPF กับ PPD ไม่เกิน 3 ซึ่งปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ทั้งที่เป็นครีมโลชั่นเจล
          สำหรับคนที่มีผิวค่อนข้างมัน หรือเป็นสิว ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่เป็นโลชั่นหรือเจลจะเหมาะสมกว่าเพราะไม่ทำให้เหนียวเหนอะหนะ ส่วนคนที่มีผิวแห้ง ควรเลือกใช้ชนิดครีม เพราะครีมมีส่วนที่เป็นน้ำมันช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นและไม่ควรใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ผิวแห้ง นอกจากนี้ยังมีสารที่อาจทำให้เกิดการแพ้อื่นๆ เช่น สารประเภทแต่งสี แต่งกลิ่น เช่น น้ำหอม หรือส่วนประสบน้ำมันจึงควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์กับบริเวณผิวที่มีความไว เช่น บริเวณใต้ท้องแขนหรือใต้คาง
 


pageview  1205101    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved