HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 20/05/2556 ]
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 หมอนรองกระดูกสันหลัง คือ ส่วนที่มรีลักษณะเป็นวงกลม มีความยืดหยุ่นเหมือนยาง คั่นอยู่ระหว่างข้อต่อกระดูกสันหลังทุกๆ ข้อ ทำหน้าที่เหมือนโช้คอัพรถยนต์ ที่คอยรับน้ำหนักและดูดซับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหว
          อาการปวดที่อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยโรคร้ายอย่างโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ถ้ารักษาไม่ทันอาจเป็นอัพฤกษ์อัมพาตได้
          อาการปวดแบ่งได้ 2 ประเภท
          1. อาการปวดที่ไม่อันตราย หมายถึง อาการปวดที่เป็นแล้วหาย เช่น อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนล้า จากการทำงาน หรือการเล่นกีฬา เป็นต้น
          2. อาการปวดที่อันตราย คือ อาการปวดที่มีสาเหตุมาจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดบริเวณคอ หลัง และเอวตามแนวกระดูกสันหลัง
          ผู้ป่วยสามารถแยกแยะอาการปวดเหล่านี้ โดยสังเกตอาการปวดจากการเมื่อยล้า จะมีจุดกดเจ็บหมายถึง จุดที่เป็นต้นตออาการปวด จุดที่เรากดนวดเพื่อคลายปวด แต่เมื่อใดที่อาการปวดมีสาเหตุมาจากโรคหมอนรองกระดูกนั้น จะมีลักษณะของการปวดร้าว หาจุดกดเจ็บไม่เจอ
          แบ่งระยะอาการได้ดังนี้
          ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวที่หาจุดกดเจ็บไม่เจอบริเวณคอ หลัง ไปจนถึงบั้นเอวตามแนวกระดูกสันหลัง เพราะหมอนรองกระดูกคือส่วนที่ทำหน้าที่รับแรงกระแทก รับน้ำหนัก ที่คั่นอยู่ระหว่างข้อต่อของกระดูกสันหลัง
          ระยะที่สอง อาการปวดร้าวลามไปบริเวณขา เพราะเส้นประสาทที่อยู่ติดกับกระดูกสันหลังของเรานั้นเป็นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อไปเลี้ยงที่ขา
          ระยะที่สาม มีอาการชาร่วมด้วย สลับกับอาการปวด เพราะหมอนรองกระดูกที่บวม ฉีกขาด หรือ ปลิ้น ไปทับเส้นประสาททำให้ชา ซึ่งระยะนี้ถือว่าเป็นระยะที่อันตรายมาก หากปล่อยไว้อาการอาจลุกลามถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
          อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นได้จากหลายยสาเหตุ อาจจะเกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่เป็นไปตามวัย เกิดจากอุบัติเหตุ หรือจากพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ไม่ระมัดระวังตัวเอง ส่วนใหญ่ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยในวัยทำงานมีกเกิดจากการเคลื่อนไหวผิดท่าเช่น การออกแรงยกของหนัก การเอื้อมหรือเอี้ยวตัวผิดท่า หรือการยื่นหรือนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ
          แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพยายามไม่เอื้อมหรือเอี่ยวตัวใช้การหันไปทั้งตัวแทน ไม่ยืนหรือนั่งติดกันนานเกิน 2 ชั่วโมง ควรจะเปลี่ยนท่าทางบ้าง ส่วนการออกกำลังกายก็เป็นส่วนสำคัญ แนะนำให้ออกกำลังกาย เพื่อสร้างกล้ามเนือบริเวณรอบแนวกระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะกล้ามเนื้อส่วนนี้จะช่วยพยุงน้ำหนักกดทับของตัวเราได้ ช่วยแบ่งเบาภาระของหมอนรองกระดูกได้เป็นอย่างดี
          แนวทางการรักษา ในทางการแพทย์โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นนั้นเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้หากพบในระยะแรก โดยเฉลี่ยผู้ป่วย 30-40% สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเอง ส่วนในการรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจบันแพทย์ใช้การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องทำให้มีการเสียเลือดน้อยและมีความปลอดภัยสูง และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นโรคหัวใจ โรคตับ แพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทางในโรคนั้นๆ จะเข้าร่วมวินิจฉัยเพื่อร่วมกันวางแผนการรักษาต่อไป
          ผู้ป่วยที่พบอาการบงชี้ว่าอาจจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เข้ารับการรักษาเสียแต่เนินๆก่อนจะสายเกินไป เพราะหากอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทลุกลามจนกระทั่งทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหายแล้วนั้น โอกาสจะกลับเป็นปกติเป็นไปได้ยาก ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ เพราะเส้นประสาทนั้นเสียแล้วเสียเลยไม่สามารถซ่อมแซมได้
          นพ.ธีรชัย ผาณิตพงศ์ แพทย์ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพญาไท 3


pageview  1206043    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved