HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 12/02/2556 ]
อัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันได้

 อัมพฤกษ์ อัมพาต พบได้บ่อยในประชากรสูงอายุทั่วไป โดยมีสาเหตุมาจาก โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดอาการเฉียบพลัน หากไปพบแพทย์ช้าอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตลอดชีวิต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นแนวทางการป้องกันให้ปลอดจากภาวะโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีความสำคัญสูงสุด ดีกว่าการปล่อยให้เกิดอาการแล้วมาบำบัดภายหลัง
          โรคหลอดเลือดสมอง
          โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเกิดการตีบ แตก หรือต้น ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ หรือไปเลี้ยงไม่เพียงพอ สมองจึงไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เกิดความเจ็บป่วยของระบบประสาท อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือดเริ่มอาการ จนถึงเวลาที่เริ่มได้รับการรักษาหากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถูกต้องและรวดเร็ว จะมีผลต่อการฟื้นตัวและอาการของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
          อาการ
          อาการสมองขาดเลือด อาจจะแสดงอาการออกมาอย่างหนึ่งอย่างใดหรือมีอาการหลายอย่างพร้อมกัน โดยทั่วไปมักเกิดอาการแบบทันทีทันใดหรือเฉียบพลัน ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง อาการแขน ขาใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก (อัมพฤกษ์ อัมพาต) อาการชาครึ่งซีก อาการตามืดด้านในด้านหนึ่งหรือเห็นภาพซ้อนสอง อาการกลืนน้ำลายหรืออาหารไม่ได้สำลักตลอดด น้ำไหลออกมุมปาก เวียนศีรษะ เดินเซ
          หลอดเลือดตีบได้อย่างไร
          เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยธรรมชาติผนังของหลอดเลือดจะมีความหนาตัวขึ้น แต่ในบางรายก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้เมื่ออายุยังน้อย เนื่องจากมีปัจจัยบางประการที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดตีบและหนาตัวเร็วขึ้นปัจจัยเหล่านั้นคือ
          * โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ผนังหลอดเลือดจะเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่นหลอดเลือดจะตีบแคบหรือแข็งเปราะแตกง่าย
          * โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดในช่วงที่งดอาหารมีระดับสูงมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะมีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น
          * ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการสะสมไขมันในชั้นผนังหลอดเลือดจมีการตีบหรือตันเลือดจึงไหลผ่านไปเลี่ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อย ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเสี้ยงสมอง จะทำให้สมองขาดเลือดและเป็นอันพาตในที่สุด
          * โรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
          * การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
          * ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงหรืออาจเป็นได้ทั้ง 2 โรค (การวัดรอบเอวผู้ชายไม่เกิน 39 นิ้ว และผู้หญิงไม่เกิน 35 นิ้ว)
          * อายุที่มากขึ้น จะมีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด
          * การไม่ออกกำลังกาย
          * ความเครียด
          การป้องกัน
          อัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ด้วยการดูแลตนเองและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเหล่านี้ เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนหลังนอนหลับ อาการชาปลายมือปลายเท้า เป็นต้น และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งปัจจุบันการตรวจสุขภาพของสมองและหลอดเลือดด้วยเครื่องตรวจวินิจฉัย MRI (Magnetic Resonance Imaging) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดได้ชัดเจนแม่นยำและมีประสิทธิภาพเพราะสามารถสร้างภาพสมองได้หลายระนาบ (แนวขวาง แนวหน้าหลัง และแนวซ้าย-ขวา) ทำให้แพทย์สามารถวินิจแยหาสาเหตุได้รวดเร็วแม่นยำขึ้น สามารถวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที และในกรณีที่มีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการดูแลสุขภาพโดยรวม ควบคุมอาหารออกกำลังกาย และพักผ่อนให้พอเพียง
          ด้วยความปรารถนาดี จาก ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนนทเวช โทร.02-596-7888
          www.nonthavej.co.th
 


pageview  1206111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved