HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 08/02/2556 ]
กินอยู่อย่างปลอดภัย ด้วยสมุนไพรต้านพิษโลหะหนัก

การใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบันดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กับการได้รับพิษโลหะหนัก เช่นปรอท ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม โคบอลต์ เป็นต้น ซึ่งโลหะหนักจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสร้างและการทำงานของเซลล์ ทำให้เซลล์ตาย เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม ตัวการของการก่อมะเร็ง หากได้รับทีละน้อย จะสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดความผิดปกติของระบบต่างๆ
          ความรุนแรงของพิษโลหะหนักในแต่ละอวัยวะ ขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะหนัก ปริมาณที่ได้รับ ช่องทางที่เข้าสู่ร่างกาย รวถมึงปัจจัยทางร่างกายของผู้ได้รับสารโลหะหนักที่ตรวจพบได้มากและมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตสูงได้แก่
          ปรอท (Mercury) มักพบปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำดินของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปรอทเป็นวัตถุดิบ พบในเครื่องสำอาง เช่น ครีมหน้าขาว และอาหาร ซึ่งปรอทจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ การรับประทาน การสัมผัสและยังสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และกระจายไปอวัยวะต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
          ในทางตรงกันข้าม ปรอทจะถูกขับออกจากร่างกายได้น้อยมาก และยังเป็นตัวการสำคัญที่เข้าไทปำลายเนื้อเยื่อสมอง และส่วนควบคุมการมองเห็น ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดจากพิษของปรอท การได้รับสารปรอททีละน้อย แต่ได้รับมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีอาการสั่น ชัก ปวด ปลายมือปลายเท้า หงุดหงิด เหงือกบวมและมีเส้นทืบ สีน้ำเงิน เลือดออกง่าย และเกิดภาวะเลือดจาง'
          ตะกั่ว(Lead) ผู้ที่มีความเสี่ยงจากการได้รับพิษตะกั่ว คือ คนงานเหมืองตะกั่ว โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคิมพิวเตอร์ ซึ่งพิษของตะกั่วมีผลต่อระบบประสาท ตับ ไต หัวใจ และทางเดินอาหาร ทำให้สมองเสื่อมจากพิษตะกั่ว ปวดกล้ามเนื้อ อัมพาต สารตะกั่วจะไปสะสมที่สมองส่วนฮิปโพแคมปัส (hippocampus) ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ ซึ่งเด็กจะสามารถดูดซึมพิษของตะกั่วได้มากกว่าผู้ใหญ่ และหากได้รับพิษเป็นเวลนานจะมีผลทำให้พัฒนาการทางสมองช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน และทำให้สมองสูญเสียอย่างถาวร
          แคดเมียม(Cadmium) มักพบในแหล่งทำเหมืองอุตสาหกรรมยาสูบ บุหรี่ พลาสติก ยาง และปนเปื้อนในอาหาร น้ำ และอากาศ เมื่อร่างกายได้รับจะดูดซึมเข้าสู่ทางเดินอาหารและแพร่กระจายไปที่ตับ ม้าม และลำไส้เมื่อสะสมในปริมาณมากจะทำให้เกิดมะเร็งได้ และหากได้รับเป็นเวลานานจะเกิดการอุดตันภายในปอด หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ซึ่งโรคที่เกิดจากพิษของแคดเมียม เรียกว่า โรคอิไต-อิไต
          ทางการแพทย์ไทยมีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถมาใช้ในการต้านพิษโลหะหนักได้ อาทิ
          รางจืด : หมอยาพื้นบ้านใช้ในการแก้พิษยาเบื่อยาสั่ง ยาฆ่าแมลง พืชพิษ ตะขาบ โดยวิธีใช้ในผู้ที่ได้รับพิษรุนแรง ใช้กินใบเพสลาด (ใบที่ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป) 10-12 ใบ ตำคั้นกับน้ำซาวข้าว หรือรากสดที่อายุ 2 ปี ขึ้นไป เพียง 1 ราก โขลกหรือฝนกับน้ำซาวข้าวจนขุ่นข้นประมาณครึ่งแก้ว -1แก้ว ดื่มเฉพาะน้ำให้หมดทันทีที่มีอาการ หรืออาจใช้รางจืดแห้ง 300 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว โดยให้ดื่มขณะอุ่นจะได้ผลดี หรือนำใบหรือรากมาหั่นหอย ผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผงทำเป็นเม็ดลูกกลอน กินครั้งละ 5 กรัม โดยให้กินทุกหนึ่งชั่วโมงครึ่ง หรือ 2 ชั่วโมง จนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
          ขมิ้นชัน: ขมิ้นชันอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ คือ สารเตอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาพบว่า ขมิ้นดีกับระบบการป้องกันพิษของแคดเมียมต่อลำไส้ป้องกันพิษตะกั่วและแคดเมียมต่อสมอง พิษของแคดเมียมต่อไต โดยสารเคอร์คูมินมีผลลดการทำลายโครงสร้างเนื้อเยื่อบริเวณผนังลำไส้บริเวณเลือดออกลดลง รักษาสมดุลของการหลั่งเมือกในลำไส้ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ภายใต้สภาพมลภาวะควรหาขมิ้นกินให้ได้ทุกวัน ครั้งละ 1 ช้อนชา วันละครั้ง
          การเทียม: มีการทดลองกระเทียมมีฤทธิ์ป้องกันและรักษาแคดเมียมและตะกั่วไม่ให้ไปมีผลต่อไต และอวัยวะต่างๆ ของหนูทดลอง และช่วยปรับระดับบภูมิคุ้มกันในหนูที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำหลังจากที่ได้รับตะกั่วและแคดเมียมดังนั้น เราจึงควรรับประทานกระเทียม อย่างน้อยวันละ 7-8 กลีบ
          มะขามป้อม: ผลไม้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีการใช้เป็นยาอายุวัฒนะและบำรุงร่างกายมาอย่างยาวนาน ทั้งยังช่วยแก้ไอได้ดีการใช้ผลมะขามป้อมบดในขนาด 50 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม พร้อมอาหาร มีผลลดการเกิดพิษของตะกั่วต่อตับและไตในหนูทดลองได้ นอกจากนี้ มะขามป้อมยังป้องกันการเกิดสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากการได้รับปรอท ดังนั้น การรับประทานมะขามป้อมเป็นประจำทุกวันนั้นเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่อยู่กับมลพิษ
          สมุนไพรที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างของสมุนไพรที่เราคุ้นเคย หาง่ายรับประทานง่าย คงพอที่จะช่วยได้บ้างในสถานการณ์ปัจจุบันที่สภาวะแวดล้อมรอบๆตัวเราเต็มไปด้วยมลพิษจากโลหะหนัก
          รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
          โทร.0-3721-1289


pageview  1206111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved