HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 08/02/2556 ]
นักเรียนกทม.แชมป์โรคอ้วน 66%มีไขมันในเลือดสูงเสี่ยงเบาหวาน

สสส.เผลผลสำรวจ ภัยคุกคามเด็กไทย ระบุ นร.กทม.แชมป์โรคอ้วน 66% ไขมันในเลือดสูง อีก 20 % เป็นโรคอ้วน เหตุกินหวาน มัน เค้ม ออกกำลังกายน้อย กินผักผลไม้ลดลง น่าห่วง 1 ใน 3 ของเด็กไทยคอมีรอยปื้นดำ สัญญาณเตือน เบาหวาน แนะรัฐ ครู พ่อแม่ ต้องมีส่วนร่วม สัญญาณเตือน เบาหวาน แนะรัฐ ครู พ่อแม่ ต้องมีส่วนร่วม สร้างพฤติกรรมการบริโภคตั้งแต่เล็ก
          รศ.พญ.ชุติมา ศิริกุลชยานนท์ ภาควิชาโภชนวิทยา  คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) กล่าวในการแถลงข่าว "ภัยคุกคามเด็กไทย เสี่ยงภัยโรคหัวใจในอนาคต"ว่า จากการสำรวจของโครงการพัฒนาต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยดูดี มีพลานามัย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มม.พบว่า นักเรียนในเขต กทม.มีสัดส่วนโรคอ้วนมากที่สุด โดยปี 2555 ผลการสำรวจในเครือข่ายโรวเรียนภาครัฐ 4 โรงเรียน นักเรียน ป.1-ป.6 มีอัตราการเกิดโรคอ้วนร้อย 21 ไขมันเลือดสูงร้อยละ 66 ใกล้เคียงกับการสำรวจในระยะแรกเมื่อปี 2547-2549 ที่พบว่า เด็กไทยเกิดโรคอว้นร้อยละ 20 มีไขมันในเลือดสูงถึงร้อยละ 78 และพบ 1 ใน 3 ของเด็กอ้วนมีปื้นดำที่คอเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน การเกิดโรคและหัวใจและหลอดเลือด สะสมตั้งแต่วัยเด็ก
          "หากเด็กยังคงความอ้วนต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคต ปัญหาโรคอ้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูง บริโภคผักผลไม้น้อย ขาดวินัยในการบริโภคอาหารเป็นเวลา ปัจจุบันโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มักเกิดจากพฤติกรรมกินอยู่ที่ไม่ถูกต้องและการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาของคนเกือบทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขหนึ่งในสามลำดับแรกของไทย พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนี้ จะเริ่มขึ้นรตั้งแต่ในวัยเด็ก เนื่องจากสังคมไทยได้รับ อิทธิพลจากประเทศตะวันตกอาหารที่บริโภคเป็นประจำจึงกลายเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีรสจัดทั้งหวาน มันและเค็ม ขณะที่อัตราการบริโภคผักและผลไม้ซึ่งให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายกลับลดลงรวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยวางแผนตั้งแต่วัยเด็ก"รศ.พญ.ชุติมา กล่าว
          รศ.ดร.วิลาสินิ อดุลยานนท์ ผอ.สำนักรณรงค์ สื่อสารสังคม สสส.กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยาก ต้องใช้เวลา เพราะปัจจุบันมีสิ่งเร้าอยู่รอบตัวเด็ก การสร้างนิสัยและความรู้เท่าทันให้เด็กได้เลือกหรือตัดสินใจเองอย่างมีเหตุมีผลต่อสุขภาพที่ดีของตัวเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ใหญ่ควรเป็นตัวแบบของการบริโภค เช่น การรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ลดหวานมันเค็ม เพิ่มผักผลไม้แต่ละมื้ออาหาร เลือกรับประทานอาหารที่ผลิตได้ในท้องถิ่น และเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย ลดเวลานั่งนอนหน้าจอทีวีหรือคอมพิวเตอร์ลง


pageview  1206113    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved