HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 08/02/2556 ]
มือถือ-โอเกะต้นเหตุอัลไซเมอร์ สธ.คาด7ปีป่วยพุ่ง1.3ล้าน

สธ.เตือนภัยเทคโนโลยีมือถือ-ร้องโอเกะ-ใช้เครื่องคิดเลข เสี่ยงสมองเสือม-อัลไซเมอร์ คาดปี 2563 ป่วยพุ่ง 1.3 ล้านคน
          เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ยุทธ โพธารามิก ประธานมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย และ ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาติ กรรมการเลขาธิการมูลนิธิ แถลงข่าวว่าวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทยและศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)หรือทีเซลล์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานสร้างสรรค์สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5 ที่สวนสุขภาพ ภายในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยรู้จักโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ และโรคอัลไซเมอร์ พบในคนไทยร้อยละ 30
          นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกพบผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมไม่น้อยกว่า 25 ล้านคน และอาจเพิ่มขึ้นกว่า 5 ล้านคนต่อปีโรคนี้เป็นกลุ่มอาการที่เซลล์ประสาทเสื่อมสูญเสียหน้าที่การทำงานเรื้อรัง อายุยิ่งมากยิ่งพบมาก ทำให้ความจำเสื่อม มีพฤติกรรมและบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม ผลการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทย โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ล่าสุดในปี 2551-2552 พบผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมร้อยละ 12
          ส่วนข้อมูลจากสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า ในปี 2563 ประเทศไทยอาจมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมถึง 1.3 ล้านคน ถือว่าเป็นจำนวนที่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุโดยรวมของประเทศ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในเขตชนบทมากกว่าในเมือง สาเหตุใหญ่ในไทยพบว่าประมาณร้อยละ 60 สัมพันธ์กับโรคกลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดแข็ง ตีบ ตัน ทำเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่วนที่เหลือนั้นมักเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่น ๆ เฃ่น ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาทั้งตัวผู้สูงอายุและผู้ดูแล เพราะทำให้เกิดความเครียด ความกังวล คุณภาพชีวิตที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม
          "ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจุบันเป็นยุคที่มีความเจริญของเครื่องมือเทคโนโลยี ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างในชิ้นเดียว อาจทำให้เกิดผลเสียที่คาดไม่ถึงและไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยจำ ช่วยคิดแทนการใข้สมอง ซึ่งเจอบ่อยในชีวิตประจำวัน เช่น บันทึกเบอร์โทรศัพท์ในมือถือ ร้องเพลงตามคาราโอเกะ ใช้เครื่องคิดเลขในโทรศัทพ์ หรือเครื่องคิดเลขแทนการใช้สมองคำนวณ โดยเฉพาะใช้ตั้งแต่เด็กมีผลทำให้สมองขาดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาเสื่อมตามมา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สมองเป็นสนิมอาจทำให้เกิดโรคความจำเสื่อมได้เร็วขึ้น จึงต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ถูกต้อง" นพ.ชลน่านกล่าว
          รมช.สาธารณสุขกล่าวอีกว่า การป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อม แนะนำให้ประชาชนฝึกการใช้สมองบ่อยๆ ตั้งแต่เด็กเช่น กัดท่องสูตรคูณ ท่องก.ไก่ อ่านหนังสือ ฝึกร้องเพลงโดยการฟังและจำ ในวัยทำงานอาจท่องบทสวดมนต์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันส่วนในผู้สูงอายุควรหมุ่นคิดคำนวณเลขบ่อย ๆ เพื่อใช้งานเซลล์สมองทำงาน
          ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 3-5 ปี จะเร่งลดอัตราการป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมรายใหม่ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60-70 ปี ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10 โดยมอบให้สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ พัฒนาระบบการดูแลและป้องกันอย่างครบวงจร และจะให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ที่มีอยู่ต่ำกว่า 1 ล้านคนตรวจคัดกรองหาผู้ที่มีความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมเพื่อนำเข้าสู่ระบบการฟื้นฟู และชะลอการเสื่อมให้เร็วที่สุดเพื่อช่วยลดภาระให้ครอบครัว
          ด้านนพ.ยุทธ อธิบายว่าจากการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตกระฉับกระเฉงออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดินจะทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น สามารถเผาผลาญออกศิเจนให้เป็นพลังงานทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย ชะลอความชราได้โดยผู้ที่ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะลดความเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวได้ร้อยละ 60
          ขณะที่ ศ.พญ.นันทิกา กล่าวว่า ขณะนี้มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์ฯ ร่วมกับทีเซลล์ พัฒนาโปรแกรมการคัดกรองผู้เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์สามารถใช้ทดสอบผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน เช่นไอแพด และระบบแอนดรอยด์ ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว โดยตัวโปรแกรมสามารถใช้ได้ทั้งผู้สูงอายุและผู้สูงอายุเองให้ผลแม่นยำ แอพพลิเคชั่นนี้จะสามารถรู้คสามเสี่ยงโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์เบื้องต้น โดยจะเปิดตัวโปรแกรทวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ และประชาชนสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของมูลนิธิอัลไซเมอร์ฯwww.alz.or.th และเว็บไซต์ของศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)www.tcels.or.th โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ


pageview  1206109    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved