HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 04/02/2556 ]
'ลูกซนและสมาธิสั้น'

ความซนกับเด็กๆ เป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร ดังคำกล่าวที่ว่า"เด็กซนคือเด็กฉลาด" แต่ ถ้าลูกรักของคุณมีอาการอยู่ไม่สุข อยู่ไม่นิ่ง สมาธิ ให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ หรือซนมากผิดปกติจนกลาย เป็นปัญหาคับอกคับใจให้คุณพ่อคุณแม่ต้องนั่งกลุ้ม
          โรคซนสมาธิสั้น Attention Deficit Hy-peractivity Disorder (ADHD) นั้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยในช่วงวัยเด็ก (ร้อยละ5-15 ในเด็กวัย เรียน)ต่อเนื่องจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดยเด็กจะแสดงอาการ คือ ไม่สามารถจดจ่อหรือมีสมาธิในสิ่งที่ทำ ไม่รวมถึงการเล่นเกม หรือดูทีวี มีความยากลำบากในการควบคุมพฤติกรรมหรือหุนหันพลันแล่น และซนอยู่ไม่สุข ซึ่งอาการอาจรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทั้งพฤติกรรมอารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น เด็กบางคนอาจซน อยู่ไม่นิ่ง และไม่สามารถควบคุม ตนเอง เป็นอาการหลักที่พบได้บ่อยในเด็กผู้ชายหรือบางคนอาจมีอาการสมาธิสั้นเป็นปัญหาหลัก ซึ่งพบได้บ่อยทั้งในเด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชาย โรคซนสมาธิสั้นพบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5% ของเด็กวัยเรียนเป็นโรคนี้
          อาการของเด็กแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบคือ
          1.ขาดสมาธิ เด็กจะแสดงอาการวอกแวกง่าย ไม่ใส่ใจรายละเอียด หรือเลิกเล่อในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมอื่นๆ ไม่มีสมาธิ ในการทำงานหรือการเล่น เบื่อง่าย แม้ว่าเพิ่งเริ่มเล่นหรือทำกิจกรรมไม่กี่นาที มีปัญหาในการจดจ่อหรือจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม ไม่สามารถเล่นหรือทำการบ้านได้เสร็จ ขี้หลงขี้ลืมทำของหายบ่อยๆ ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เหม่อ เชื่องช้า และสับสนง่าย ประมวลข้อมูลได้ช้าและไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน ไม่สามารถทำตามคำสั่งทำตามคำสั่งหรือแนวทางที่ให้ไว้
          2.ซน อยู่ไม่สุข เด็กจะมีลักษณะยุกยิก อยู่ไม่สุข หรือบิดตัวไปมาเมื่อต้องนั่งอยู่กับที่ พูดมาก พูดตลอดเวลา วิ่งไปมา เล่นหรือจับของเล่นทุกชิ้น ที่เห็น เคลื่อนที่ตลอดเวลาไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ขณะ กินอาหาร เรียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมที่ต้องนั่งได้ เล่นเสียงดังตลอดเวลา หรือไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมเงียบๆได้
          3.หุนหันพลันแล่น เด็กจะมีพฤติกรรมไม่มีความอดทน พูดโพล่งด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสมชอบขัดจังหวะหรือพูดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่แสดงความรู้สึกโดยไม่เก็บอาการ หรือทำสิ่งต่างๆโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา รอคอยไม่เป็นชอบแซงคิว
          ถ้าเด็กมีอาการในข้อ 1.ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไปแสดงว่าเขาน่าจะมีปัญหาสมาธิสั้น
          แต่ถ้าเขามีอาการในข้อ 2.และ3. ตั้งแต่ 6ข้อขึ้นไป แสดงว่าเขาน่าจะเป็นเด็กซน-หุนหันพลันแล่น
          หากมีอาการทั้ง 3 ข้อ แสดงว่าเขาเป็นเด็ก ซน สมาธิสั้น โดยเด็กต้องแสดงอาการก่อนอายุ 7 ปี มีอาการทั้งที่บ้านและโรงเรียน รวมทั้งอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคม การเรียน หรืออาชีพการงานซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคซนสมาธิสั้น
          จากผลการวิจัยในปัจจุบันพบว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมองโดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30-40% ของเด็กสมาธิสั้น จะมีคนในครอบครัว คนใด คนหนึ่งมีปัญหาอย่างเดียวกัน ปัจจัยจากการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการ หรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกโปนโรคซนสมาธิสั้นสูงขึ้น
          การวิจัยในปัจจุบันยังไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาล หรือช็อกโกแลตมากเกินไป การขาด วิตามิน โรคภูมิแพ้ การดูทีวี หรือเล่นวิดีโอเกม มากเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซนสมาธิสั้นเพราะในขณะที่เด็กดูทีวี หรือเล่นวิดีโอเกมมากเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซนสมาธิสั้นเพราะในขณะที่เด็กดูทีวี หรือเล่นวิดีโอเกม เด็กจะถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาพบนจอทีวีหรือ วีดีโอเกมที่เปลี่ยนทุก 2-3 วินาที จึงสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ สมาธิของเด็กมีขึ้นได้จากสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งตรงกันข้ามกับสมาธิที่เด็กต้องสร้างขึ้นมาเอง ระหว่างการอ่านหนังสือ หรือทำงานต่างๆ เด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นจะขาดสมาธิด้านนี้
          ทั้งนี้แพทย์สามารถวินัจฉัยโรคซนสมาธิสั้นโดยอาศัยประวัติที่ละเอียด การตรวจร่างกาย การตรวจระบบประสาท และการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นหลักในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจเลือด หรือเอ็กซเรย์สมองที่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค สมาธิสั้น ในบางกรณี แพทย์จำเป็นต้องอาศัยการตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจสายตา (Vision test) การตรวจการได้ยิน (Hearing test) การตรวจคลื่นสมอง (EEG) การตรวจเชาวน์ปัญญา และ ความสามารถทางการเรียน เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคลมชัก ความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน หรือภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder) ออกจากโรคซนสมาธิสั้น
          นอกจากนี้ โรคออทิสติก โรคจิตเภท ภาวะ พัฒนาการล่าช้า และโรคทางจิตเวชอื่นๆ ในเด็กเช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า สามารถทำให้เด็ก แสดงอาการ หรือพฤติกรรมเหมือนกับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
          ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพโรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719


pageview  1205886    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved