HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 10/01/2556 ]
"โรคอ้วน"ในเด็กไทย

 พญ.ปวินทรา หะริณสุต สมนึก
          กุมารแพทย์
          โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
          โทร.0-2667-1000         

          ปัญหาโรคอ้วนในเด็กไม่ได้พบเฉพาะในโลกตะวันตก เพราะทั่วโลกในขณะนี้รวมถึงประเทศไทยปัญหานี้กำลังคุกคามเด็กไทยเช่นเดียวกัน
          สถานการณ์ของโรคอ้วนเด็กในประเทศไทยกำลังเริ่มต้น หากดูจากสถิติซึ่งเก็บรวมรวมโดยกระทรวงสาธารณสุขจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เด็กไทยเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเด็กชั้นอนุบาลหรือวัยก่อนเรียน ที่เป็นโรคอ้วนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 7.9 ขณะที่เด็กวัยเรียนก็เพิ่มจากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 7.9 ขณะที่เด็กวัยเรียนก็เพิ่มจากร้อยละ 5.8 ขึ้นไปเป็นร้อยละ 6.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน สถิตินี้แสดงให้เห็นว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนในเด็กในช่วงเวลา 5 ปีนั้นสูงถึงร้อยละ 36 ในเด็กอนุบาล และร้อยละ 15 ในเด็กวัยเรียน
          สำหรับผู้ใหญ่ตอนต้น (ช่วงอายุ 20-29 ปี) นั้นจำนวนผู้ที่เป็นโรคอ้วนในช่วงระยะเวลาห้าปีนี้ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน คือเพิ่มในอัตราร้อยละ 36 ในผู้ชาย และร้อยละ 47 ในผู้หญิง
          อย่างไรก็ดี ยังคงมีพ่อแม่จำนวนมากที่ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว หลายรายไม่ทราบด้วยซ้ำว่าลูกของตัวเองเริ่มมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนแล้ว ยังคงเห็นว่าลูกอ้วนดูน่ารักดี
          ปัจจัยการเกิดโรคอ้วน
          สาเหตุของการเกิดโรคอ้วนในเด็กนั้น ค่อนข้างเข้าใจง่ายและเห็นได้ชัด เพราะเกิดจากการที่เด็กนิยมรับประทานอาหารประเภทที่เรียกกันว่า "อาหารขยะ" นั่นเองอาหารเหล่านี้มีแคลอรีสูงแต่ให้คุณค่าทางอาหารต่ำ และเด็กมักจะรับประทานพร้อมกับน้ำอัดลมซึ่งมีน้ำตาลสูง ทำให้เด็กได้รับแคลอรีสูงเกินความจำเป็น ขณะเดียวกันกิจกรรมส่วนใหญ่ที่เด็กชอบทำก็มักจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เคลื่อนไหว  ไม่ได้มีการเผาผลาญพลังงาน เช่น ดูโทรทัศน์และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งควรจะเปลี่ยนออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง อย่างการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย
          ปัญหาความอ้วนนั้น โดยหลักแล้วเกิดจากการถ่ายโอนพลังงานที่ไม่สมดุล หรือพูดง่าย ๆ ก็คือแคลอรีที่รับเข้าไปมีมากกว่าแคลอรีที่ถูกเผาผลาญออกไปในแต่ละวัน
          แนวทางการแก้ไข
          วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาโรคอ้วนในเด็กได้คือ การทำอาหารรับประทานกันเองในบ้าน หรือพ่อแม่คอยให้คำแนะนำและดูแลอาหารการกินของลูกอย่างใกล้ชิด เช่น คอยจำกัดปริมาณของไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และเกลือ ในขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณผลไม้ ผัก และธัญพืชในอาหารของเด็กนอกจากนี้ในเด็กนอกจากนี้ในเด็กที่มีเริ่มมีน้ำหนักเกินควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อช่วยลูกให้ควบคุมน้ำหนัก
          การเลือกอาหารที่เหมาะสมคือเลือกของที่สดใหม่แทนที่จะเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปมาหลายขั้นตอน ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว หรือนมรสจืดแทนที่จะเป็นน้ำหวานและน้ำอัดลม สำหรับอาหารว่างควรจะเป็นประเภทที่ดีต่อสุขภาพเช่น ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
          เด็กกับการออกกำลังกาย
          เมื่อได้กิจกรรมการออกกำลังกายที่เด็กชอบแล้ว  ให้ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาการเล่นและความหนักหน่วงขึ้นทีละนิด โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การให้เด็กได้ออกกำลังกายครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงต่อวัน  หรืออย่างน้อยอาทิตย์ละสามวัน
          สรุป
          แนวทางการดูแลเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้น แน่นอนว่าการตั้งข้อจำกัดกับเด็ก ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ การชักจูงอย่างนุ่มนวล ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์น้ำหนักตัวของเด็ก เพราะเด็กกลุ่มนี้มักขาดความมั่นใจในตัวเองอยู่แล้ว ขอให้คิดว่า นี่เป็นโครงการที่อาจต้องใช้เวลานานพอสมควรแล้วค่อย ๆ ให้เด็กปรับตัวเข้าสู่รูปแบบการใช้ชีวิตแบบใหม่เช่น ดูแลและช่วยเด็ก ๆ ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรจำกัดเวลาดูโทรทัศน์ เล่นเกม หรือเล่นคอมพิวเตอร์ให้อยู่ที่เจ็ดชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจะไม่เพียงส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยในเรื่องการพัฒนาความคิดอ่าของเด็กอีกด้วย
          เหนือสิ่งอื่นใด ควรให้เด็กรับรู้ว่า ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นเพราะความรัก ความหวังดีของพ่อแม่ที่อยากจะเห็นลูกเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงสุขภาพดี และมีความสุขกับการดำรงชีวิต


pageview  1205489    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved