HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 20/12/2555 ]
"ออกซิเจน" รักษาโรคได้

นพ.ดร.พาฤทธิ เปลี่ยนขำ
          แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
          โรงพยาบาลสมิติเวช
          โทร. 0-2711-8181

          ออกซิเจนมีความสำคัญอย่างไรในการดำรงชีวิตของเรา เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายล้วนต้องการได้ออกซิเจน เพราะหากเซลล์ได้รับออกซิเจนลดลงหรือขาดออกซิเจนจะทำให้อวัยวะนั้น ๆ ตายได้ นอกจากนี้ออกซิเจนยังสามารถรักษาโรคได้ด้วย
          ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการทดลอง วิจัย สังเกตการณ์ และค้นหาวิธีต่าง ๆ เพื่อนำออกซิเจนมาใช้รักษาโรค "Hyperbaric Chamber" เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ถูกพัฒนาเพื่อนำออกซิเจนมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคทางการแพทย์
          "Hyperbaric Chamber" มีลักษณะคล้ายแคปซูลเป็นเครื่องมือที่ใช้การบำบัดด้วยออกซิเจน ความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy หรือ HBOT) หมายถึง การรักษาผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ในขณะที่ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ภายใต้สภาพความกดบรรยากาศสูงที่มากกว่า 1 บรรยากาศ ในเครื่องปรับบรรยากาศ (Hyperbaric Chamber) ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับการให้ออกซิเจนที่มีความกดบรรยากาศปกติ
          ในปัจจุบันมีหลายโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยเครื่อง Hyperbaric Chamber) ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับการให้ออกซิเจนที่ความกดบรรยากาศปกติ
          ในปัจจุบันมีหลายโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยเครื่อง Hyperbaric Chamber หลัก ๆ คือ กลุ่มที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ขาดออกซิเจน หรือเนื้อเยื่อตายจากการขาดออกซิเจน เช่นภาวะเนื้อเยื่อทำงานผิดปกติจากฟองก๊าซ (Decompression Sickness) หรือภาวะที่มีการอุดกั้นของฟองอากาศในกระแสเลือด (Gas embolism) นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาแผลเรื้อรังจากเบาหวานบางชนิด (Non-healing wound) ภาวะเนื้อเยื่อตายจากการติดเชื้อโรคบางชนิด แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี แผลฉกรรจ์จากอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันหรือตึกถล่ม แผลผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อหรือแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
          ตามที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมเวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูงของสหรัฐอเมริกา ณ ปัจจุบัน ได้แก่
          1.โรคฟองแก๊สอุดตันในหลอดเลือดแดง
          2.โรคคาร์บอนมอนนอกไซด์เป็นพิษ / การสำลักควันไฟ
          3. การติดเชื้อของเนื้อเยื่อจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน
          4. การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการถูกบดขยี้
          5.โรคลดความกด หรือโรคน้ำหนีบ
          6.โรคแผลหายยาก ได้แก่ แผลเบาหวาน, แผลเนื่องจากการกดทับ และแผลเนื่องจากการไหลเวียนในหลอดเลือดดำ หรือหลอดเลือดแดงไม่ดี
          7. โลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดจำนวนมาก
          8. การติดเชื้อและมีการตายของเนื้อเยื่อ
          9. การติดเชื้อเรื้อรังของเยื่อหุ้นกระดูก
          10. การปลูกถ่ายผิวหนังและกล้ามเนื้อ
          11. การได้รับบาดเจ็บจากรังสี ได้แก่ กระดูกและเนื้อเยื่อตายเนื่องจากได้รับรังสี, เนื้อเยื่อตายเนื่องจากได้รับรังสี และฟันผุเนื่องจากได้รับรังสี
          12. แผลไหม้จากความร้อน
          13. โรคฝีในสมอง
          นอกจากนี้ได้มีการนำ Hyperbaric Chamber มาบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางด้านสมอง อย่างกลุ่มเด็ก Autistic และกลุ่ม Cerebral Palsy (CP) คือ กลุ่มที่มีความพิการทางสมองแต่กำเนิด ซึ่งพบว่าเด็กมีอาการดีขึ้น มีการตอบสนองค่อนข้างดี Eye Contact กับพ่อแม่ เล่นกับคนอื่น ๆ ในครอบครัวมากขึ้น สมาธิดีขึ้น สื่อสารดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น แต่เด็กก็ต้องได้รับการรักษาด้วยการกระตุ้นพัฒนาการ และการรักษาอื่น ๆ ประกอบกันด้วย
          ประโยชน์ของการรักษาโรคด้วย "Hyperbaric Chamber"
          1. ทำให้สมองและร่างกายได้รับออกซิเจนสูงกว่าการให้ออกซิเจนตามปกติหลายเท่าจนสามารถช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
          2. ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอย
          3. ช่วยยับยั้งและต่อต้านการติดเชื้อโรคบางชนิด
          4. เพิ่มประสิทธิภาพเซลล์เม็ดเลือดขาดในการทำลายเชื้อโรค
          5. ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยวะที่ขาดเลือดได้ดีขึ้น
          6. ลดอาการบวมของอวัยวะ
          7. ลดขนาดของฟองอากาศในเนื้อเยื่อและหลอดเลือด
          ระยะเวลาในการรักษาแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที จำนวนครั้งในการรักษาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการรักษาในแต่ละโรค โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 40-60 ครั้ง ยกเว้นแผลเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ทำการรักษาแค่เพียง 20 ครั้งก็สามารถเห็นผลที่ดีขึ้น


pageview  1205835    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved