HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 27/11/2555 ]
ปวดกระดูก สัญญาณเตือน "โรคข้อเสื่อม"

 กระดูกและข้อ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของร่างกายที่ไม่อาจละเลยได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นข้อต่อของกระดูกก็เสื่อมลง ทำให้เกิด "โรคข้อเสื่อม" ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดและทรมานเป็นอย่างยิ่ง และมักจะเกิดขึ้นบ่อยในข้อต่อที่จะต้องรับน้ำหนัก เช่น เข่า สะโพก ข้อศอก โรคนี้ทำให้กระดูกอ่อนซึ่งหุ้มปลายของกระดูกแต่ละชิ้นในข้อต่อนั้นค่อย ๆ เสื่อมสลายไปอย่างช้า ๆ         
          การทำงานของกระดูกและข้อ กระดูกจะมีข้อต่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยกระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงเป็นตัวรองรับแรงกดกระแทก ไม่ให้กระดูกกระแทกกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงเหล่านี้ก็จะสึกหรอไปตามเวลา ทำให้กระดูกกระแทกกัน จึงมีอาการปวด บางรายอาจไม่ปวดแต่ก็มีกระดูกขาที่ผิดรูป เช่น ขาโก่ง ทำให้เดินไม่สะดวก
          โรคข้อเสื่อม เป็นการเสื่อมสภาพของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งทุกคนจะมีโอกาสเป็นเมื่ออายุมากขึ้น หรือเสื่อมเร็วเนื่องจากใช้งานหนักได้ เช่น ยกของหนัก ๆ เป็นประจำ ข้อแขน ไหล่และศอกก็จะเสื่อมเร็ว และที่สำคัญ คือ น้ำหนักตัวที่ข้อเข่าต้องรับแรงที่มากกว่าคนปกติ ก็เป็นการเร่งใหเสื่อมเร็วขึ้น, รวมทั้งกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ท่านั่ง ท่านอน ท่าวิ่ง การออกกกำลังกายที่มากไป ล้วนเป็นสิ่งที่เร่งให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้นได้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ข้อเสื่อม เช่น อุบัติเหตุ หกล้ม หรือเคยกระดูกหักใส่เหล็ก เป็นต้น ซึ่งบริเวณข้อเสื่อมที่มักจะพบเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นบริเวณข้อไหล่ ข้อเข่า และสะโพก
          อาการข้อเสื่อม
          สังเกตว่ามีเสียงของกระดูกกระทบกัน คล้ายเสียงกระดาษทรายขูด หรือไม่ หรืออาจมีอาการปวดร่วมด้วย หรือไม่ปวดก็ได้ความเจ็บปวดถือเป็นอาการแรกและชัดเจนที่สุดของโรคข้อเสื่อม จะเริ่มปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจะไม่สามารถก้มงหรือลุกขึ้นได้อย่างปกติ การเคลื่อนที่ที่ไม่สะดวกเช่นนี้ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมบริเวรข้อต่อที่ได้รับผลกระทบนั้นอ่อนแอลงและสภาพร่างกายโดยรวมจะประสบกับความตึงและเหนื่อยล้า
          ผู้ป่วยจะมีอากาปวดที่ข้อกระดูกด้านใน แต่ก็มีบางรายที่ไม่มีอาการปวด ซึ่งแพทย์มักใช้การเอกซเรย์ในการวิเคราะห์โรค เนื่องจากอาการปวดข้อกระดูกนั้น อาจมาจากสาเหตุของโรคอื่น เช่น เกาต์ ข้อกระดูกอักเสบ ติดเชื้อในข้อกระดูก รูมาตอยด์ เป็นต้น
          การรักษาข้อเสื่อม
          ในรายที่เพิ่มเริ่มเป็นโรคข้อเสื่อม ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้ยาตระกูลกลูโคซามิน (glucosamine) ซึ่งมีทั้งแบบรับประทานและแบบฉีด ซึ่งยานี้จะไปเพิ่มเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนในข้อกระดูกก็จะช่วยให้คนไข้กลับเป็นปกติได้ ส่วนในรายที่มีอาการปวดมาก ก็จะต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูก ทั้งแบบครึ่งข้อและแบบเปลี่ยนทั้งข้อ ซึ่งปัจจุบันไม่ยุ่งยาก สะดวกมาก เมื่อเอกซเรย์แล้ว หมอก็วิเคราะห์ให้ว่าจะรักษาอย่างไร เมื่อรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อแล้ว คนไข้ก็จะไม่ปวดและสามารถเดินได้ปกติและข้อใหม่นี้ก็จะสามารถใช้ไปได้อีกประมาณ 20 ปี
          การรักษาโรคนั้นขึ้นอยู่กับคนไข้ 80% ในส่วนของหมออีก 20% หมายถึง คนไข้ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เช่น น้ำหนักตัวต้องไม่มากเกินไป การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันี่ไม่ใช้ข้อต่าง ๆ ให้ทำงานหนักเกินไป รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าคนไข้ดูแลตัวเองดี ก็จะหายได้เร็วไม่กลับมาปวดอีก
          หากเริ่มมีอาการปวดที่ข้อกระดูก ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา
 


pageview  1206113    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved