HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 10/09/2555 ]
โรคนอนไม่หลับ ในวัยทำงาน

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
          โรงพยาบาลกรุงเทพ  โทร. 1719
          การนอนหลับทำให้ร่างกายได้พักฟื้นจากความเหนื่อยล้าจากการทำกิจกรรมตลอดวันที่ผ่านมา กังนั้นหากเราสามารถนอนหลับได้ปกติก็จะมีสุขภาพที่ดีในทางตรงกันข้าม  หากใครที่มีปัยหาการนอน ไม่ว่าจะเป็นปัญหานอนไม่หลับหรือปัญหาง่วงนอนมากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันได้ 
          สำหรับประเทศไทยพบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มาตรวจที่หน่วยตรวจปฐมภูมิของโรงพยาบาลมีปัญหาด้านการนอนร่วมด้วย  โดยเฉพาะปัยหานอนไม่หลับ  ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด
          การปรับสภาพแวดล้อมและสมดุลของร่างกายให้เหมาะสมกับการนอนหลับ
          การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ Circadian  rhythm
          - เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วงนอน
          - จัดห้องนอนให้เงียบ  มีอุณหภูมิเหมาะสม  และมีแสงสว่างรบกวนน้อยที่สุด
          - ไม่ควรใช้ห้องนอนสำหรับกิจกรรมอื่น  นอกจากการนอนหลับ เช่น ดูโทรทัศน์  เล่นเกม
          - เข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกวัน
          - ถ้าไม่สามารถหลับได้ภายใน 15-20 นาที อย่าพยายามฝืนต่อ แนะนำให้ลุกขึ้นจากที่นอน เพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ สักพักจนเกิดความรู้สึกง่วงนอนใหม่แล้วจึงค่อยกลับไปนอน
          การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ Homeostasis (ระบบสมดุลในร่างกาย) โดยเพิ่มสิ่งที่ทำให้ง่วง และลดสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกตื่นตัว
          - งดการงีบหลับในช่วงเวลากลางวัน
          - งดใช้ยาหรือสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการตื่นตัว เช่น กาเฟอีน แอลกอฮอล์  ในช่วงเวลาเย็นและค่ำ
          - งดอาหารมื้อใหญ่ในช่วงใกล้เวลาเข้านอน
          - ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  แต่ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงใกล้เวลาเข้านอน
          - งดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวอย่างมาก เช่น การดูหนังสยองขวัญ ก่อนเข้านอน การรักษาด้วยการใช้ยา (Pharmacologic treatment)
          การรักษาภาวะนอนไม่หลับด้วยยานั้น  เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในสังคม  ยาเหล่านี้มักถูกเรียกว่า "ยานอนหลับ" แต่แท้จริงแล้วยานอนหลับไม่ได้หมายถึงยาชนิดใดชนิดหนึ่ง  แต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของยาหลากหลายชนิดที่มีผลโดยตรงหรือผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงและทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น  ดังนั้น ยานอนหลับจึงมีหลายชนิด  มีกลไกการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป
          ยากลุ่มแรกที่นิยมใช้เพื่อทำให้เกิดอาการง่วง ได้แก่ ยาลดน้ำมูกในกลุ่มยาแอนตี้ฮิสตามีน  เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงคือ ทำให้เกิดอาการง่วง  แต่ผลดังกล่าวมักจะไม่มากและความรู้สึกง่วงนอนของแต่ละคนก็แตกต่างกัน
          สำหรับยานอนหลับที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมอง คือ กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน  โดยออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทชนิดยับยั้งที่เรียกว่า "กาบา (GABA) " ในสมอง  เมื่อมีสารนี้เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดอาการนอนหลับโดยตรง  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยคลายกังวล  หยุกอาการชัก  และคลายกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
          ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงมาก  เพราะยาส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ยาวนานกว่าการนอนหลับปกติของคนเรา ทำให้ผู้ที่รับประทานยารู้สึกง่วงนอน  สะลึมสะลือในตอนเช้า  ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
          นอกจากนี้ถ้าใช้ยากลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการติดยา  และทำให้สมองดื้อยา  ลดการตอบสนองต่อยา  ทำให้ปริมาณยาที่ใช้ในขนาดเดิมไม่ได้ผล  ต้องใช้ขนาดยาสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลการตอบสนองเท่าเดิม  เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากยาได้มากยิ่งขึ้น  และมีโอกาสที่จะติดยาได้มากขึ้นด้วยและถ้าหยุดยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนอย่างทันทีทันใด  หลังจากการรับประทานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด "อาการขาดยา" เช่น นอนไม่หลับ  มือสั่น ใจสั่น ซึมเศร้า และอาจทำให้เกิดอาการชัก
          ภาวะนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย  ทั้งในคนปกติและคนที่มีโรคประจำตัว นอกจากนี้อาการนอนไม่หลับอาจบ่งถึงอาการของโรคสมองและระบบประสาทได้  ความเข้าใจกลไกการนอนของมนุษย์จึงมีผลต่อการรักษาภาวะนอนไม่หลับ  การวินิจฉัยและหาสาเหตการนอนไม่หลับนั้น  แพทย์จำเป็นต้องได้รับข้อมูลประวัติการนอนหลับที่ละเอียดรวมถึงประวัติการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้อง  การตรวจการนอนหลับด้วยเครื่อง Polysomnography  อาจจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางรายที่ยังหาสาเหตุการนอนหลับไม่ได้ชัดเจน
          การรักษาหลักที่ใช้รักษาภาวะนอนไม่หลับคือ การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน  การรักษาด้วยยานอนหลับจะใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังหรือมีปัญหาโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วยเท่านั้น
          ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ ที่อีเมล : palida@nationggroup.com
          อ่านย้อนหลัง "ดูแลสุขภาพ" ได้ที่ : www.oknation.net/blogloongjame


pageview  1205912    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved