HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 06/09/2555 ]
"โรคนอนไม่หลับ" ในวัยทำงาน

  1 ใน 3 ของช่วงชีวิตใช้เวลาไปกับการนอน ส่งผลดีให้ร่างกายได้พักฟื้นจากความเหนื่อยล้าจากการทำกิจกรรมตลอดวันที่ผ่านมา หากใครที่มีปัญหานอนไม่หลับ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันได้ การนอนหลับเป็นการเติมพลังให้ร่างกาย หรือ เปรี่ยบเสมือนการ "ชาร์จแบตเตอรี่" ให้พร้อมใช้งานในวันรุ่งขึ้น
          ในระหว่างการนอนนั้น ระบบฮอร์โมนของร่างกายหลายชนิดมีการหลังฮอร์โมนออกมาปริมาณมากเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth hormone) และฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งช่วยควบคุมวงจรการหลับตื่นและฮอร์โมนชนิดนี้จะหลั่งออกมาเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น ซึ่งตรงกับสิ่งที่ผู้ใหญ่คอยสอบลูกหลานว่า ต้องกินเยอะๆ เข้านอนเร็วๆ จะได้โตไวๆ และเรียนหนังสือเก่งๆ แท้จริงแล้วก็เป็นความจริงจากกลไกธรรมชาติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานอนหลับนั่นเอง
          บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับมักจะบอกแพทย์ว่า "ไม่รู้สึกง่วงนอนเลย" ดังนั้นการเข้าใจเรื่องกลไกที่ทำให้เกิดความง่วง จึงมีความสำคัญต่อการไขปริศนาของภาวะนอนไม่หลับ
          ปัญหาการนอนไม่หลับ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า "ภาวะอินซอมเนีย" (Insomnia) ซึ่งเป็นปัญหาการนอนที่พบมากที่สุดในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยผู้สูงอายุ
          ถ้าอาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้น จะเรียกว่า Primary insmnia หรืออาจเกิดขึ้นในคนปกติที่บังเอิญมีตัวกระตุ้นให้นอนไม่หลับ เช่น มีความกังวลที่จะต้องไปสอบสัมภาษณ์ในที่ทำงานใหม่ หรือมีความเครียดเพราะไม่มีเงินไปใช้หนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเกิดภาวะนี้ได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) หรืออาจภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
          จะเห็นได้ว่า ภาวะนอนไม่หลับนั้น พบได้บ่อยมากเพราะสามารถเกิดได้ทั้งในคนปกติและคนป่วย คนส่วนใหญ่จึงไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ แต่หากอาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานเรื้อรัง โดยเฉพาะถ้าเกิดในผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป
          แนวทางการรักษาภาวะนอนไม่หลับ โดยไม่ใช้ยา
          1.การปรับให้มีสุขอนามัยการนอนที่ดี (Goodsleep hygiene) เป็นการรักษาที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพื้นฐานของการรักษาภาวะนอนไม่หลับในผู้ป่วยทุกราย การมีสุขอนามัยการนอนที่ดี ทำได้โดยการปรับสุภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมต่อการนอนหลับ และนำหลักของการเหนียวนำให้เกิดอาการง่วงนอนตามธรรมชาติมาใช้ เช่น การออกกำลังการอย่างพอเหมาะในช่วงเย็นเพื่อให้เหนื่อยเพลีย ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงผลักดันของระบบ Homeostasis ให้มากขึ้นหรือการเข้านอนให้เป็เวลาและปิดไฟในห้องนอนให้มืดสนิท เพื่อช่วยให้ระบบ Circadian rhythm ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ถูกรบกวนจากปัจจัยภายนอก เป็นต้น ข้อมุลของการปรับสภาพแวดล้อมและสมดุลของร่างกายให้เหมาะสมกับการนอนหลับได้แสดงไว้แล้วในตารางที่ 1
          2.การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย (Progressive relaxation training) ซึ่งช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
          3.การรักษาด้วยความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive- Behavioral therapy) โดยเน้นที่การปรับความคิดเพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมและอารมณ์การรักาวิธีนี้ได้ประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ปัญหานอนไม่หลับที่เกิดร่วมกับโรคทางอารมณ์และกลุ่มโรควิตกกังวล
          4.การควบคุมปัจจัยกระตุ้น (Stimulus control)
          5. การจำกัดชั่วโมงในการนอน (Sleep restriction)
          สำหรับรายที่มีอาการนอนไม่หลับรุนแรงหรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย แทพย์จะให้การรักษาด้วยการปรับสุขอนามัยการนอนและการรักษาโดยการไม่ใช้ยาวอธีอื่นๆ ร่วมไปกับการรักษายา
          ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพโรงพยาบาลกรุงเทพโทร.1719
 


pageview  1205915    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved