HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 23/08/2555 ]
ปวดท้องในเด็ก

  อาการปวดท้องในเด็ก เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองต้องพาบุตรหลานมารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดความยากลำบากในการประเมินความรุนแรงของอาการรว่ามากน้อยเพียงใด และเป็นอันตรายขนาดไหนการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดท้องในเด็กจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างยากและท้าทานในเวชปฏิบัติฉุกเฉินอาการ
          อาจเกิดจากโรคหรือความผิดปกติเพียงเล็กน้อย จนถึงสาเหตุที่มีความรุนแรงจนต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด บางโรคถือว่าเป็นอันตรายถึงกับทำให้เสียชีวิตได้ แม่ว่าความรุนแรงจะแตกต่างกันมากขนาดไหนแต่สำหรับเด็กแล้วอาการปวดท้องจะดูเหมือนๆ กันไปหมด จึงเป็นการยากสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล จะแยกแยะและตัดสินใจว่าอาการปวดท้องนั้น เป็นภาวะฉุกเฉินหรือไม่          อย่างไรก็ตามอาการปวดท้องในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง  และมักหายเองได้ภายในเวลาไม่นาน
          สาเหตุ
          1.เกิดจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ หวัดลงกระเพาะ (Stomach flu) และลำไส้อักเสบ (gastroemteritis) โรคติดเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง ในขณะที่โรคติดเชื้อแบคทีเรีย จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
          2.เกิดจากอาหาร เช่น ภาวะอาหารเป็น (food poisoning) อาการจะคล้ายกับโรคหวัดลงกระเพาะและโรคลำไส้อักเสบ บางรายอาจเกิดอาการปวดท้องจากการแพ้อาหาร อาหารไม่ย่อย หรือร่างกายผลิตแก๊สในทางเดินอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดอาการเรอและอึดอัดปวดแน่นท้อง
          3.เกิดจากการได้รับสารพิษ หรืออาจเป็นพิษจากแมลงกัดต่อย
          4.เกิดจากโรคทางศัลยกรรมที่อาจจำเป็นต้องผ่าตัด ได้แก่ โรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน โรคลำไส้อุดตันโรคลำไส้กลืนกัน เป็นต้น
          5.เกิดจากโรคบางอย่างที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากช่องท้อง เช่น อาการปวดท้องในเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน
          อาการปวดท้องในเด็กมีความสำคัญและช่วยในการวินิจฉัยโรคเป็นอย่างมาก ที่สำคัญได้แก่ระยะเวลาที่ปวด อาการปวดท้องที่เกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรงจะหายภายใน 12-24 ชั่วโมง อาการปวดท้องที่เป็นนานกว่านั้นมักเกิดจากสาเหตุที่รุนแรง ตำแหน่งของอาการ
          ปวดท้อง ส่วนใหญ่สาเหตุที่ไม่รุนแรงจะทำให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณตรงกลาง ถ้าเด็กปวดท้องที่บริเวณอื่นต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดท้องที่บริเวณท้องที่บริเวณท้องน้อยด้านขวาอาจเกิดจากโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน
          ในกรณีที่เด็กมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจากสาเหตุที่รุนแรงเสมอไปแต่ถ้าอาเจียนนานกว่า 12-24 ชั่วโมง อาจเกิดจากสาเหตุที่รุนแรงได้ หรือถ้าเด็กอาเจียนออกมาเป็นสีเขียวปนเหลืองของน้ำดี หรืออาเจียนปนเลือด ให้รับพาไปโรงพยาบาลทันที ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ถ่ายเหลว ท้องเสีย ไข้ ปัสสาวะแสบขัด หรือผื่นขึ้นที่บริเวณต่างๆ
          การรักษา
          1.ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรงและหายเองได้
          2.ให้เด็กได้พักผ่อนมากๆ ช่วยให้อาการทุเลาเร็วขึ้นสำหรับอาหารควรให้เป็นอาหารเหลวในปริมาณที่น้อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กอาเจียนมาก เมื่ออาการดีขึ้นแล้วค่อยเปลี่ยนกลับมาเป็นอาหารปกติ และควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้
          3.แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะหากมีข้อบ่งชี้รวมทั้งยาอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการ
          4.โรคที่อาจต้องได้รับการรักษาโดยวิธีผ่าตัด ได้แก่ โรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน โรคลำไส้อุดตัน และโรคลำไส้กลืนกัน          นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
          โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719
 


pageview  1206118    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved