HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 11/07/2555 ]
ปวดคอ

 อาการปวดคอร้าวไปที่สะบักและไหล่ บางทีก็มีอาการปวดร้าวไปที่แขน เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในวัยกลางคน และในวัยสูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากการเสื่อมของกระดูกคอ กระดูกสันหลังส่วนคอนั้นประกอบด้วยกระดูกอ่อนคั่นอยู่หมอนรองกระดูกเป็นประกอบดูกอ่อนชนิดพิเศษจะมีความยืดหยุ่น สามารถทำให้คอมีความยืดหดหรือเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ กัน
          กระดูกคอมีหน้าที่สำคัญที่ทำให้ศีรษะสามารถเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ  กันตามที่เราต้องการ เช่น ก้มหรือเงยศีรษะ หันหน้าไปทางซ้ายหรือขวา หรือเอียงศีรษะไปทางซ้ายหรือขวา กระดูกคอยังทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักศีรษะไว้ตลอดเวลา ซึ่งน้ำหนักของศีรษะและคอรวมกันประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวภายในกระดูกคอจะมีประสาทไขสันหลังอยู่ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ไปทำให้เกิดการเคลื่อไหวและรับความรู้สึกของแขนและขา
          อาการของกระดูกคอเสื่อม
          เมื่ออายุย่างเข้าวัยกลางคนคือ 30 ปีขึ้นไปหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นกระดูกอ่อนจะเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมตัว คือองค์ประกอบที่เป็นน้ำที่ทำให้เกิดการยืดหยุ่นในตัวของหมอนรองกระดูกคอจะลดลงไป ทำให้คุณสมบัติในการยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูกเสียไป ทำให้กระดูกคอปล้องที่หมอนรองกระดูกมีการเคลื่อนไหวไปในลักษณะที่ไม่ราบ เรียบเป็นปกติ ถ้าเราไม่ระมัดระวังปล่อยให้กระดูกคอเคลื่อนไหวมากเกินขอบเขตก็จะทำเกิดการชำรุดของหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนไหวไปในลักษณะที่ไม่ราบ เรียบเป็นปกติ ถ้าเราไม่ระมัดระวังปล่อยให้กระดูกคอเคลื่อนไหวมากกินขอบเขตก็จะทำให้เกิดการชำรุดของหมอนรองกระดูกคอเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีผลทำให้ข้อต่อของกระดูกคอปล้องนั้นๆ เสียไป
          อาการเริ่มต้นของหมอนรองกระดูกคอเสื่อมคือขะมีอาการปวดคอและคอแข็ง ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ตกหมอน" บางทีก็มีอาการปวดตื้อๆ ลึกๆ ที่บริเวณสะบัก ที่ชาวบ้านเรียกว่า "สะบักจม" อาการทั้งสองอย่างนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าหมอนรองกระดูกคอเริ่มมีอาการเสื่อมตัวแล้ว ถ้าการเสื่อมตัวของหมอนรองกระดูกคอมากขึ้นก็จะมีการทรุดตัวของหมอนรองกระดูกคอมากขึ้นก็จะมีการทรุดตัวของหมอนรอบกระดูกคอมากขึ้น ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกคอแคบลง และมีกระดูกงอกตามขอบของข้อต่อกระดูกคอ ทีเรียกว่า "กระดูกงอก" หรือ "หินปูนเกาะ"
          มีผลทำให้เกิดการตีบแคบของช่องประสาทที่ผ่านลงไป เมื่อตีบแคบถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดการกดทับเส้นประสาท และประสาทไขสันหลัง ถ้าเป็นการกดทับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดการปวดร้าวลงไปตามแขนจนถึงนิ้วมือ ถ้ากดมากๆ จะทำให้เกิดอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
          แนวทางการรักษา
          ในระยะเริ่มต้นของหมอนรอบกระดูกเสื่อม ให้การรักษาทางยา และกายภาพบำบัด คือหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของกระดูกคอมากเกินไป อาจจะต้องให้นอนพักหรือมีการถ่วงดึงคอ ให้ยาลดการอักเสบและแก้ปวก บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงเพื่อช่วยแบกรับน้ำหนักศีรษะไม่ให้ผ่านกระดูกคอมากเกินไป อาจจะให้ใส่เครื่องพยุงคอ (Cervical collar) เพื่อช่วยเตือนให้คออยู่ในลักษณะปกติ ลักษณะการนอน ควรใช้หมอนนิ่มๆ มีส่วนรองรับกระดูกคอให้อยู่ในลักษณะปกติ หมอนจะต้องไม่สูงเกินไป ถ้าไม่หนุนหมอนเลยก็ไม่ได้ เพราะไม่มีส่วนรองรับคอ (กระดูกคอปกติจะต้องโค้งไปทางด้านหน้าเล็กน้อย) เมื่อกระดูกคอมีการเสื่อมตัวมากแล้วและมีการกดทับเส้นประสาท หรือประสาทไขสันหลังแล้ว การรักษาทางยา และกายภาพบำบัดจะไม่ได้ผล จะต้องให้การรักษาโดยวิธีผ่าตัด
          คำแนะนำเพื่อช่วยชะลอการเสื่อมตัวของกระดูกคอ
          1.หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ
          2. การนั่งทำงาน นั่งอ่านหนังสือหรือนั่งเขียนหนังสือควรให้คออยู่ในลักษณะตรงปกติอย่าก้มคอมากเกินไป         
          3. การนอนควรใช้หมอนหนุนศีรษะโดยมีส่วนรองรับใต้คอให้กระดูกคออยู่ในลักษณะปกติ
          4.บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
          5.หลีกเลี่ยงการทำงานโดยแหงนคอเป็นเวลานานๆ บ่อยๆ
          6.หลีกเลี่ยงการรักษาโดยวิธีการคัดคอหรือบิดหมุนคอ
          การดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในปัจจุบัน เพราะสาเหตุของโรคต่างๆ ล้วนเกิดจากการไม่ดูแลเอาใจใส่ร่างกายเท่าที่ควร การทำตามคำแนะนำของแพทย์ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกันเพื่อร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ


pageview  1205849    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved