HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 29/06/2555 ]
'นิ้วล็อก'

 โรคนิ้วล็อก เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบหรือการอักเสบของพังผืด หรือเส้นเอ็นอักเสบจะพบในผู้หญิงราวร้อยละ 60 ในผู้ชายร้อยละ 40 แต่จะพบได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่
          สาเหตุ เกิดจากการใช้มือทำงานในท่ากำมือและแบอย่างแรงซ่ำๆ บ่อยๆ พบบ่อยในแม่บ้าน ผู้ชอบเล่นกอล์ฟ เทนนิส เป็นต้น
          อาการนิ้วล็อก แบ่งตามระดับของความรุนแรง ดังนี้
          ระดับที่ 1 นิ้วไม่มีการล็อก แต่นิ้วมือจะสึกฝืด เวลาเหยียหรืองอนิ้วมือในตอนเช้าหรือในอากาศเย็นๆ
          ระดับที่ 2 นิ้วมือจะงอและเหยียดมีเสียงดัง แต่ยังคงเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เริ่มมีอาการปวดที่โดนนิ้ว
          ระดับที่ 3 นิ้วมือเวลางอหนือเหยียดจะมีเสียงดัง และล็อก ต้องใช้มือข้างตรงข้ามมาเหยียดออก และจะมีอาการปวด
          ระดับที่ 4 นิ้วมือจะล็อก และทำให้นิ้วเหยียดออกหรืองอไม่ได้เลย
การรักษานิ้วล็อก แบ่งออกเป็น 2 วิธี
          วิธีที่ 1 การรักษาโดยการฉีดยา
          ผู้ป่วยที่เป็นตั้งแต่ระดับที่ 1-3 จะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ จะได้ผลดี และหายกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป ในรายงานบางแห่งได้ผลดีและหายถึงกว่าร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือร้อยละ 30-40 อาการล็อกจะกลับมาเป็นอีกได้ ในกลุ่มที่กลับมาเป็นใหม่นี้ จะให้มีการฉีดนาสเตียรอยด์ซ้ำได้ 2-3 ครั้ง โอกาสที่จะดีขึ้น และหายจะมีบ้างแต่น้อยมาก แพทย์ออร์โธปิดิกส์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดรักษาจะดีกว่า เพราะการฉีดยสเตียรอยด์เฉพาะที่ซ้ำๆ หลายครั้งจะไม่ทำให้อาการดีขึ้น
          วิธีที่ 2 การรักษาโดยการผ่าตัดแบ่งได้ 2 วิธี
          -การผ่าตัดในห้องผ่าตัด  ในกรณีที่นิ้วล็อกได้รับการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่มีอาการดีขึ้นชั่วระยะหนึ่ง แล้วยังคงมีอาการล็อกอยู่การทำการผ่าตัดโดยวิธีนี้จะทำในห้องผ่าตัดใหญ่ต้องฉีดยาชา มีแผลผ่าตัดและมีไหมเย็บด้วย
          -การรักษาโดยการเจาะ (Percutaneous release) เป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำในกรณีที่ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ได้ผลดีชั่วระยะหนึ่งแล้วยังคงมีอาการล็อกอยู่ ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าวิธีแรกและกลับไปทำงานได้เร็วกว่า โดยมีการใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 18, 19 หรือ 21 เข้าไปตัดปลอกเอ็นที่รัดออก Ha และพวกดัดแปลงเครื่องมือ ในการรักษาโดยวิธีเจาะเช่นกัน ส่วนใหญ่จะทำได้รวดเร็วง่ายและปลอดภัยกว่าวิธีแรกมาก โดยได้มีการนำเครื่องมือขูดหินปูนของทันตแพทย์ มาดัดแปลงมาทำการรักษานิ้วล็อก เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
ข้อดีของการรักษาโดยวิธีนี้ คือ
          1.สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องการเข้าห้องผ่าตัดใช้เวลาในการรักษาไม่เกิน 10 นาที
          2.เสียค่าใช้จ่ายน้อย
          3.ปลอดภัย มีโรคแทรกซ้อนน้อย ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วกว่าวิธีการผ่าตัดในห้องผ่าตัด
          นพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนา
 


pageview  1205836    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved