HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 23/05/2555 ]
ปวดศีรษะแบบไหนอันตราย

อาการปวดศีรษะเป็นอาการแสดงของโรคไม่ใช่ตัวโรคเอง มีโรคอยู่หลายอย่างตั้งแต่ โรคที่เป็นอันตรายรุนแรง อย่างโรคเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากความเครียดก็ได้โดยทั่วไปมักแบ่งโรคปวดศีรษะ ออกเป็น 2 กลุ่ม
          กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่มีรอยโรคอยู่ในสมองและศีรษะจริง ซึ่งเป็นอันตรายรุนแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันแวลา อาจเกิดอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ เช่น โรคเนื้องอกในสมอง,หลอดเลือดสมองโป่งพอง,เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง, เลือดคั่งในสมอง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
          กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ไม่ได้มีรอยโรคในสเครียด,ปวดศรีษะจากเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะจากเส้นประสาท
          ใบหน้าอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองเลย แต่เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเอง เช่น
          โรคไมเกรน ปวดศีรษะจากความเครียด
อาการปวดศีรษะในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่มีรอยโรคในสมอง และมักเป็นอันตราย โดยจะพบมีลักษณะอาการปวดศีรษะ ดังนี้
          1.ปวดทันทีและรุนแรงมาก
          2.ปวดมากแบบที่ไม่ค่อยเคยปวดมาก่อนเลยในชีวิต
          3.หวดมากขึ้นเรื่อยๆในเวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์โดยไม่ช่วงหายดีเลย
          4.ปวดแบบใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับที่เคยปวดมาเป็นประจำ
          5.ปวดรุนแรง พร้อมกับมีอาการคอแข็ง หรือ อาเจียนมาก
          6.ปวดพร้อมกับอาการอ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน ตามัว ซึมลง สับสน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือ หมดสติ
          7.ปวดเมื่อไอ จาม หรือเบ่งถ่ายอุจจาระยิ่งทวีความปวด
          8.ปวดครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี โดยไม่ได้มีโรคปวดหัวใดๆ มาก่อน
การตรวจหาสาเหตุของอาการปวดศีรษะ
          แพทย์จเป็นผู้พิจารณาเลือกให้ตามความเหมาะสมกับอาการของโรคที่สงสัย และลักษณะของผู้ป่วย เช่น ถ้าสงสัยภาวะเลือดคั่งในสมอง, หรือเส้นโลหิตในสมองแตก ควรตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉิน เครื่องนี้จะตรวจได้ไว และไม่จำเป็นต้องเตรียมการตรวจซับซ้อน ถ้าสงสัยหลอดเลือดขอดในสมอง, เนื้องงอกในสมอง อาจต้องทำการตรวจด้วย เครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โดย MRI-Scan หรือ MRA-Scan เพื่อดูรายละเอียดทั้งในส่วนของสมอง และหลอดเลือด ถ้าสงสัยถาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเลือดออกซึมในขั้นเยื่อหุ้มสมอง นอกจากการตรวจ CT-Scan หรือ MRI-Scan แล้ว แพทย์จำเป็นต้องเจาะตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดต่อไป
ข้อแนะนำ
          หากมีอาการปวดชวนสงสัย โรคทางสมองที่กล่าวมาแล้วควรรีบพบแพทย์หรือ หากมีอาการไม่เหมือนข้อใดเลยแล้วรักษาไม่หาย ปวดศีรษะอยู่นาน ก็ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาการใช้ยาที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากการกินยา อย่าลืมว่าโรคปวดศีรษะต้องรักษาที่ต้นเหตุขอโรค ไม่ใช่เพียงยาแก้ปวดเท่านั้น
          โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
          โทร.0-5392-0333


pageview  1206123    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved