HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 17/05/2555 ]
ระวัง 'เห็ดป่า' ไม่รู้จัก กินแล้วตาย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนที่นิยมบริโภคเห็ดโดยเฉพาะเห้ดป่า หรือเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ควรเลือกรับประทานเห็ดที่รู้จักจริงๆ เท่านั้น เพราะในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยหรือเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานเห็ดพิษ
          สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนเหมาะสมต่อการเจริญพันธุ์ของพืชตระกูลเห็ดทำให้มีเห็ดป่าหลายชนิดที่เจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติประกอบกับคนไทยนิยมบริโภคเห็ดเนื่องจากเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ทั้งนี้เห็ดต่างๆ บางชนิดไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจากมีสารพิษเป็นส่วน ประกอบอยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการมึนเมาและประสาทหลอน หรือบางรายบริโภคมากเกินไปก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สำหรับเห็ดพิษในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุลอะมานิต้า (Amanita) ซึ่งเป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรง มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น
          เห็นระโงกหิน หรือในภาคเหนือเรียกว่า เห็ดไข่ตายซาก ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ หมวกเห็ดรูปครึ่งวงกลมสีขาวกว้าง 5-12 ซม. ผิวเรียบรูปกระทะคว่ำ ครีบสีขาวไม่ติดกันกับก้าน มีวงแหวน เป็นแผ่นบางสีขาวห้อยลงมาคล้ายม่านก้านสีขาว โคนก้านเป็นกระเปาะผิวเรียง สปอร์สีขาว เป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรง เมื่อรับประทานเข้าไปพิษจะเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ใจสั่ อ่อนเพลีย สารพิษที่ตรวจพบในเห็ด คือ ฟาลโลทอกซิน (phallotoxin) และอะมาทอกซิน (amatoxin) มีฤทธิ์ทำลายเซลลด์ตับ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะกำเริบจนถึงขั้นเสียชีวิตอาจภายใน 4-6 ชั่วโมง
          เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน หรือ เห็ดกระโดงตีนต่ำ ดอกเห็ดเมื่อยังอ่อนยังเป็นก้อนกลมแล้วเจริญบานออกเป็นร่มขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนา หมวดเห็ดสีขาวกว้าง 10-20 ซม. กลางหมวกมีสีน้ำตาล ซี่งแตกออกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกึ่งกลางหมวกครีบสีขาวเมื่อแก่จัดจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ก้านรูปทรงประกอบสีขาว โคนก้านใหญ่เป็นกระเปาะเล็กน้อยใต้หมวกมีวงแหวนใหญ่และหนา ขอบสีน้ำตาล ขอบล่างสีขาว สปอร์รูปไข่สีเขียวอ่อนเป็นเห็ดที่มีพิษไม่ร้ายแรงนัก ผู้รับประทานจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่นและอ่อนเพลีย แต่ถ้าเป็นเด็กและรับประทานมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
          เห็ดมีพิษในธรรมชาติหลายชนิดมีความคล้ายคลึงกับเห็ดที่รับประทานได้จนยากที่จะจำแนกได้ว่าเห็ดชนิดใดมีพิษหรือไม่มีพิษ และไม่ควรนำเห็ดที่ไม่รู้จักและไม่ทราบชื่อแหล่งที่มาอย่างชัดเจนมาปรุงอาหารรับประทานดังนั้นหากไม่แน่ใจไม่ควรเก็บเห็ดนั้นมาปรุงอาหาร โดยเฉพาะเห็ดป่าหรือเห็ดที่เราไม่คุ้นเคย ซึ่งมีโอกาสเกิดพิษ ได้มากกว่าเห็ดทั่วไป เพราะถ้าเป็นเห็ดพิษจะทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
          นอกจากนี้หากพบเห็นผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเห็ดควรพยายามให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดพิษออกมาให้หมด โดยการล้วงคอหรือกรอกด้วยไข่ขาว แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที พร้อมกับนำเห็ดที่รับประทานส่งไปด้วย เพื่อแพทย์จะได้ตรวจและทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

          "อันตรายโรคหลอดเลือดสมอง"
          โรงพยาบาลพญาไท 2 ขอเรียนเชิญเข้าร่วม "Stroke Day" สารพันความรู้กับ โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ฟังบรรยายเรือง "อันตรายโรคหลอดเลือดสมอง" พร้อมพบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ การประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง         
          ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม
          เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม Meeting Room อาคารจอดรถ 1 รพ.พญาไท 2 สามารถสำรองที่นั่งได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ โทร 1772


pageview  1205447    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved