HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 22/02/2555 ]
ดนตรีกับทารกในครรภ์
          โดย...น้าชาติ ประชาชื่น
          nachart@yahoo.com
          ที่ว่าขณะตั้งครรภ์ฟังเพลงเด็กฉลาดขึ้น จริงเหรอ เฉลยหน่อย นะคะ
          ตอบ
          เกี่ยวกับการฟังดนตรีขณะตั้งครรภ์ของว่าที่คุณแม่ ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย เผยแพร่บทความเรื่องนี้ไว้ว่า ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งนี้ ทารกในครรภ์สามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้ โดยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และสภาพแวดล้อมที่ดี การที่แม่พยายามสร้างและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อลูกในครรภ์ จึงเป็นการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก แม่ที่อารมณ์ดีจะทาให้ทารกอารมณ์ดีเช่นกัน ขณะที่สภาพแวดล้อมที่พอเหมาะจะพัฒนาเซลล์สมองทารกให้มีขนาดใหญ่ มีเส้นใยประสาทมากขึ้น เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
          โดยที่ประมาณอายุครรภ์ 24-26 สัปดาห์ขึ้นไป ระบบการได้ยินของทารกจะมีการพัฒนาเต็มที่ โดยรับรู้และตอบสนองต่อเสียงที่อยู่รอบตัวได้ ดังนั้น จึงมีการนาเอาเสียงภายนอกมาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ วิธีการนี้จะทาให้ทารกเคยชินต่อเสียงและเป็นการพัฒนาภาษาพร้อมกันไปด้วย
          เสียงภายนอกดังกล่าวก็มี 1.การใช้เสียงดนตรี ตามปกติแล้วจะมีเสียงต่างๆ ผ่านเข้ามาถึงตัวทารกที่อยู่ในท้องแม่ตลอดเวลา เสียงที่เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้ทารกควรเป็นเสียงดนตรีที่มีทานองและจังหวะเบาๆ เช่น เพลงบรรเลง อาจเป็นเพลงคลาสสิคหรือเพลงไทยเดิมก็ได้ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ที่มากกว่า 24 สัปดาห์ เพราะประสาทสัมผัสและระบบการได้ยินของทารกจะพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ในช่วงนั้น (ทารกที่คลอดออกมามีพัฒนาการด้านร่างกายและไอคิวสูง เลี้ยงง่าย อารมณ์แจ่มใสและมีความผูกพันกับแม่)
          โดยทารกมักแจ่มใสและเคลื่อนไหวในเวลาเย็น เป็นเวลาที่ทารกตื่นตัวพร้อมที่จะรับฟังเสียงได้ สังเกตได้จากการดิ้นของทารกซึ่งแสดงว่าทารกยังไม่หลับ เป็นช่วงที่เหมาะสม เปิดเทปเพลงบรรเลงเย็นๆ ให้แม่และทารกในครรภ์ฟังไปพร้อมกัน วันละครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที ถ้าเปิดซ้าบ่อยๆ ทารกจะคุ้นชินและจดจาเพลงได้ หลัง คลอดเมื่อเปิดเพลงเดิมนั้นอีกจะช่วยให้ทารกไม่ร้องกวนและหลับง่ายขึ้น เนื่องจากความเคยชินต่อเสียงเพลงนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
          2.เสียงพูดคุยของมารดา เสียงของแม่ถือได้ว่าเป็นเสียงธรรมชาติและเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพของทารกในครรภ์ เสียงที่นุ่มนวล เสียงร้องเพลง จะช่วยให้ทารกจดจาเสียงนั้นได้ดีขึ้น โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์พับเป็นรูปกรวย ปลายส่วนที่แคบเป็นทางเข้าของเสียงแม่ ส่วนปลายกว้างจ่อบริเวณหน้าท้องเพื่อให้ทารกรับฟัง หรือใช้เครื่องมือพูดคุยกับทารกในครรภ์ที่เรียกว่า Infant Phone ซึ่งมี
          ปลายหนึ่งไว้ให้มารดาพูด ส่วนอีกปลายหนึ่งไว้ครอบที่หน้าท้องบริเวณใกล้ศีรษะของทารกในครรภ์ แม่อาจเล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมบ่อยๆ เพื่อให้ทารกชินตั้งแต่ในครรภ์ เมื่อคลอดแล้วก็สามารถนานิทานหรือเพลงกล่อมนั้นมาช่วยทาให้ทารกสงบและหลับง่ายขึ้น
          ยังมีวิธีเสริมสร้างพัฒนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ด้านระบบรับความรู้สึก จากที่ทารกจะมีการเคลื่อนไหวและได้รับการสัมผัสตลอดเวลาที่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะขณะที่แม่ขยับตัวหรือลูบและสัมผัสทารกในครรภ์โดยผ่านทางหน้าท้อง ผิวของทารกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก ทุกสัมผัสที่เกิดขึ้นจะพัฒนาเส้นใยประสาทของสมองส่วนรับความรู้สึก เพิ่มประสิทธิภาพและความไวในการรับรู้ของทารก เพื่อเตรียมพร้อมให้ใช้งานได้ดีในช่วงหลังคลอด การที่แม่นั่งบนเก้าอี้โยกไปมา นอกจากกระตุ้นเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ยังทาให้ทารกในครรภ์ได้ปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยให้แม่ลูบหน้าท้องและนั่งโยกบนเก้าอี้ได้ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกผูกพันกับทารกขณะลูบหน้าท้องตัวเอง จนเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป ระบบประสาทการเคลื่อนไหวของทารกจะมีความพร้อมต่อการรับรู้การสัมผัสของแม่
          จากระบบการได้ยิน ระบบรับความรู้สึก มาถึงระบบการมองเห็น ทารกจะพัฒนาเต็มที่และรับรู้ผ่านการมองเห็นได้เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ทางการแพทย์จะใช้แสงสว่างส่องผ่านเข้าไปถึงทารกในครรภ์โดยผ่านทางปากมดลูก เพื่อดูการตอบสนองการเต้นของหัวใจ และทดสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ ถ้าการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้นตอนส่องไฟ แสดงว่าทารกสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าดีและมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ แต่หากให้แสงแล้ว การเต้นของหัวใจไม่สูงขึ้น แสดงว่าทารกในครรภ์อาจมีปัญหา

pageview  1205015    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved