HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 28/02/2555 ]
ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังโรคฮิตคนนั่งหน้าคอมพ์
          จากประสบการณ์จริงของผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง อายุ 31 ปี อาชีพเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ในบริษัท ลักษณะงานที่ทำอยู่ต้องนั่งโทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้าเป็นเวลาต่อเนื่องนานหลายชั่วโมงทุกวันเกิดความรู้สึกตึงๆ เจ็บๆ ที่สะบัก ตกบ่ายอาการเริ่มเป็นมากขึ้น ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ก้านคอ ปวดลงที่เบ้าตา หางคิ้ว มีอาการปวดและวิงเวียนศีรษะ ลองไปนวดอาการก็ดีขึ้น หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ก็กลับมาเป็นอีก เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรค "กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง"หรือที่เรียกว่า"Myofascial Pain Syndrome"
          สาเหตุของโรคได้แก่ การบาดเจ็บทางร่างกายอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมาก่อน การบาดเจ็บแบบน้อยๆ แต่เป็นแบบซ้ำซาก เช่น การนั่งทำงานที่ผิดอิริยาบถเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ ได้แก่พวกชอบนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ชอบออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งเป็นก้อนตามมา หากไม่ได้รับการรักษาจะ
          ทำให้เกิดอาการปวด แม้จะไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ มาก่อน รวมถึงมีอาการเหนื่อยล้าชาตามปลายมือและเท้า จากพฤติกรรมงานประจำที่
          ต้องทำซ้ำๆ โรคข้อเสื่อมที่พบมากได้แก่ หมอนรองกระดูกคอเสื่อมทำให้มีอาการปวดคอ หรือความวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า
          การรักษาที่ได้ผลดีต้องแก้ที่ต้นเหตุ โดยทั่วไปได้แก่ 1.ลดการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์
          ต่อเนื่องติดต่อกันนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง 2.การนวดแบบผ่อนคลาย ลดอาการปวดได้ดี แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน2 สัปดาห์ 3.การยืดกล้ามเนื้อ
          ด้วยตนเอง โดยการยืดจนถึงจุดมีอาการปวดเล็กน้อย ทำคราวละ 10 ครั้ง วันละ 2 รอบนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ให้กล้ามเนื้อมีอาการยืดนาน 20-30 วินาที 4.การทำกายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อน การยืดคอหรือดึงคอด้วยอุปกรณ์ที่แผนกกายภาพบำบัด นานต่อเนื่อง2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
          5.การลงเข็มช่วยให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งคลายตัว 6.การฉีดยาตรงจุดกดเจ็บโดยแพทย์ 7.การพักผ่อนให้เพียงพอ 8.การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ให้มีการยืดตัวเสมอๆ ออกกำลังกายให้มากขึ้น อย่างน้อยตื่นเช้ามาต้องมีการแกว่งหัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง ด้านหน้า 20 ครั้ง ด้านหลัง 20 ครั้ง เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่และสะบัก ป้องกันการเกิดพังผืดและหัวไหล่ติดยึด รวมถึงการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ทำกายและใจให้ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการนั่งที่ซ้ำๆ ต่อเนื่องหลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ที่นั่งแล้วมีการยุบตัว อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังสามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันที่บั่นทอนสุขภาพ

pageview  1205118    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved