HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 30/01/2556 ]
หัวไหล่ติด อันตรายวัยทำงาน

ไลฟ์สไตล์ของคนทำงานปัจจุบันไม่ว่าเป็นนั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์นานๆ สะพายกระเป๋า โหนรถ ขับรถในสภาวะรถติดนานๆ หรือแม้แต่การเล่นกีฬา เช่น แบดมินตัน หรือ เทนนิส ถ้าสะสมไปนานๆ พอวัยเริ่มขึ้นต้นเลข 4 อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพสะสมที่เรียกว่า "ภาวะหัวไหล่ติด" ได้
          แพทย์อายุรเวท วิภาพร สายศรี จากศูนย์รักษาไมเกรนและโรคปวดกล้ามเนื้อ ด๊อก เตอร์แคร์ กล่าวว่า ภาวะหัวไหล่ติด เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่ทำให้ปวดบริเวณหัวไหล่ อาจเจ็บอยู่หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน เมื่ออาการปวดทุเลาลงแขนข้างที่ปวดจะไม่สามารถยกได้เหมือนเดิม เมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหวในระยะหนึ่งก็จะเกิดเยื่อพังผืดและหินปูนแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบหัวไหล่ ถ้าเคลื่อนไหวข้อไหล่จะปวดมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่อ่อนแรงและลีบลง กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหัวไหล่ติด คือ กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน
          วิธีรักษาที่นิยมใช้กันอยู่ 4 วิธี ได้แก่ 1.การทำกายภาพบำบัด 90% ผู้ป่วยจะเลิกรักษาเนื่องจาก
          ไม่สามารถทนต่ออาการเจ็บระหว่างบำบัด 2.การบริหารบริเวณหัวไหล่ เช่น ท่าไต่กำแพง มักไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากเมื่อผู้ป่วยทำด้วยตัวเองจนถึงตำแหน่งที่หัวไหล่ติด ผู้ป่วยจะไม่ทำต่อเนื่องจากเจ็บมาก 3.การฉีดยาสเตียรอยด์ 4. การผ่าตัดส่องกล้อง ค่ารักษาค่อนข้างสูง
          ด๊อกเตอร์แคร์ รักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม เช่น ไมเกรน ปวดบ่า ปวดหลัง และพัฒนาเทคนิคการรักษาต่อเนื่องมาจนถึงเทคนิคการรักษาภาวะไหล่ติดที่เรียกว่า SAM การรักษามี 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1 .Stretching การยืดกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นข้อต่อหัวไหล่ 2.Acupresssure การกดจุด Trigger Point เพื่อสลายพังผืดยืดหยุ่นเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ 3.Ma-nipulation  การปรับองศาข้อไหล่ หลังจากผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้ว แพทย์อายุรเวทจะเริ่มปรับองศาการยกหัวไหล่ทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง เพื่อทำให้การทำงานของหัวไหล่เป็นไปได้ตามปกติ
          ขั้นตอนที่ 2 และ 3 ทำควบคู่กันไปได้ เนื่องจากการกดจุดและการค่อยยืดและขยับข้อไหล่ไปด้วยผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะดีขึ้นและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 2 สัปดาห์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ด๊อกเตอร์แคร์ คลินิก อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี โทร. 0-2677-7552-3

 


pageview  1206162    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved