HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 12/09/2555 ]
สร้างทางรอดสตรีไทยห่างไกลมะเร็งเต้านม

สถานการณ์โรคมะเร็งในปัจจุบัน ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1 ใน 3 อันดับแรกของประชากรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย  ซึ่งองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในอีก 18 ปีข้างหน้า คือในปี 2573 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 17 ล้านคนทั่วโลก ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก องค์การอนามัยโลกจึงได้เรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งป้องกัน ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งให้เร็วที่สุดให้ได้ร้อยละ 25 ภายในปี 2568
          นายวิทยาบุรณศิริรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า สตรีไทยจำนวนมากกำลังต่อสู้กับภัยร้ายมะเร็งเต้านม โดยในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 ราย และเสียชีวิตประมาณ 4,665 ราย หรือทุก 2 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราเสียชีวิตของสตรีไทยยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากสตรีไทยจำนวนมากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดและการป้องกันมะเร็งเต้านม และที่สำคัญคือขาดการดูแลตนเอง เช่น ขาดการตรวจสุขภาพประจำปี และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เสียชีวิตเกือบทั้งหมดมักมาพบแพทย์เมื่อก้อนมะเร็งลุกลามไปแล้วร้อยละ 56 เนื่องจากไม่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง เพราะไม่เคยตรวจเต้านมมาก่อน การรักษาจึงมีโอกาสรอดชีวิตต่ำมาก สตรีไทยจึงจำเป็นต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากมะเร็งเต้านม
          นพ.สุรวิทย์คนสมบูรณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม อาทิ กลุ่มคนที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย หรือหมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม รับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ดื่มเหล้า เป็นต้น ส่วนอีกร้อยละ75 ของผู้ป่วยยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัด
          ว่าเกี่ยวกับอะไร ประมาณว่าในช่วงชีวิตของผู้หญิง 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ และ
          มักพบในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในสตรีอายุ 20-30 ปีก็พบได้บ่อย
          เช่นกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการ มีก้อน และแผลที่เต้านม หรือมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วประมาณร้อยละ 56 ทำให้อัตราการเสียชีวิตมีมากขึ้น
          การป้องกันมะเร็งเต้านมคือ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน แต่ที่ดีที่สุดคือการตรวจพบให้เร็วที่สุดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ซึ่งทำได้ 3 วิธีคือ 1) การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง 2) การตรวจเต้านมโดยแพทย์เป็นประจำทุกปี  และ 3) การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้นับว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถตรวจพบความผิดปกติต่างๆ ของเต้านมได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาในการตรวจไม่เกิน 20 นาที ปริมาณรังสีที่ได้รับต่ำ ไม่มีอันตราย สามารถแยกความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ของเต้านมได้อย่างชัดเจน สามารถมองเห็นเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี ให้ผลถูกต้องและแม่นยำ สามารถตรวจหามะเร็งเต้านมที่มีขนาดเล็ก คลำไม่ได้ หรืออยู่ลึกในเนื้อเต้านม คลำได้ไม่ชัดเจน โดยเครื่องจะเอ็กซเรย์ผ่านเข้าไปในเนื้อของเต้านม จะทำให้มองเห็นร่องรอยที่มีลักษณะผิดปกติของผลึกแคลเซียมที่มาเกาะเป็นฝุ่นเล็ก ๆ ปรากฏในเอ็กซเรย์ก่อนที่ระยะเซลล์จะเริ่มเปลี่ยนเป็นมะเร็งระยะที่ 1 มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยโรค การรักษาก็ไม่ยุ่งยากเพราะมะเร็งมีขนาดเล็กมาก ยังไม่แพร่ไปที่อื่น ไม่ต้องใช้ยาเคมีบำบัด สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสรอดชีวิตสูง ขณะที่ถ้ามีอาการและตรวจพบก้อนขนาด 2-5 เซนติเมตร มีโอกาสรอดชีวิต ร้อยละ 75-90  หากคลำพบก้อนขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป โอกาสรอดชีวิตมีเพียงร้อยละ 15-30 เท่านั้น ซึ่งการเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพราะมาตรวจรักษาช้าเกินไป
          ดร.นพ.สมยศดีรัศมีอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การเอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ในประเทศไทยนั้น จะมีให้บริการในบางโรงพยาบาลเท่านั้น ส่วนมากจะเป็นโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลในหัวเมืองใหญ่ๆ การตรวจแต่ละครั้ง ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 บาท เพราะไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและในระบบประกันสังคม จึงทำให้สตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงมีรายได้น้อยและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography)
          กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี จัดทำ "โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่(Mammography) แก่สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ" ขึ้น เพื่อจัดหาทุนในการจัดซื้อเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมพร้อมรถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้บริการแก่สตรีกลุ่มเสี่ยง และมีรายได้น้อย รวมทั้งสตรีที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จะมีจำนวน 5 หน่วย 1 หน่วยจะดูแล 1 ภาค ประกอบด้วยรถให้ สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ รถนิทรรศการเคลื่อนที่ รถตรวจมะเร็งเต้านมพร้อมอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะเดินทางเข้าไปถึงพื้นที่ เพื่อให้หญิงไทยทั่วประเทศ ได้รับความรู้และเข้าใจวิธีการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่วนสตรีที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก หากพบก็จะส่งต่อเข้ารับการรักษาตามระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้อย่างครบวงจร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
          โครงการนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556-2560 โดยแต่ละหน่วยห่ว่วยจะออกให้บริการพร้อมกันทุกวัน วันละ 1 อำเภอ ตั้งเป้าหมายให้สตรีกลุ่มเสี่ยงตีกีกล่ม่ม่ม่มเสี่ยงและด้อยโอกาสในแต่ละภาคได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ปีละไม่น้อยกว่า 10,000 ราย รวม 5 ภาค เป็นจำนวน 50,000 ราย และภายในเวลา 5 ปี คาดว่าจะมีผู้ได้รับบริการทั่วประเทศทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 250,000 ราย แต่ค่าใช้จ่ายในการจัดหาหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จำนวน 5 หน่วย จะต้องใช้งบประมาณหน่วยละ 40 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อปีจะอยู่ที่ 10 ล้านบาท รวม 1 หน่วยต้องใช้งบฯ ประมาณ 50 ล้านบาท จำนวน 5 ชุด ทั้งโครงการฯ จึงต้องใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 250 ถึง 300 ล้านบาท โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิกาญจนบารมี จึงได้ระดมทุนจากทุกภาคส่วนโดยการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ และรับบริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิกาญจนบารมี
          พร้อมจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร รุ่น "เบญจนวมงคล๕๕๕๕๕๕๕๕๕" ซึ่งมีทั้งหมด 5 รายการ คือ 1) พระบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว งมด 5 รายการ คื
          เป็นทองคำทั้งองค์ และเนื้อนวโลหะ ซึ่งยังไม่เคยมีการจัดสร้างมาก่อน 2) หลวงพ่อโสธรหล่อลอยองค์สำหรับห้อยคอ มี3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองทิพย์  3) เหรียญเสมาหลวงพ่อโสธร มี 4 เนื้อคือ เนื้อทองคำ เนื้อเงินลงยามี 7 สี  เนื้อทองทิพย์ และเนื้อทองแดงนอก  4) เหรียญหลวงพ่อโสธรสองหน้าย้อนยุคปี 2497 มี 4 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองทิพย์ 5) พระผงสมเด็จหลวงพ่อโสธร  โดยสามารถร่วมบริจาคเงินสมทบทุนโครงการฯ หรือติดต่อเช่าบูชาวัตถุมงคลได้ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิกาญจนบารมี โทร. 0-2591-8185-6, 08-8505-5773, 08-8500-6854 หรือที่ธนาคารกรุงไทย และที่เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่เว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th
          จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจร่วมบริจาคเงินเพื่อช่วยชีวิตหญิงไทยให้ห่างไกลจากมะเร็งเต้านม นอกจากจะได้บูชาวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ อีกด้วย
 


pageview  1205893    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved