HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 02/06/2564 ]
สธ.พม่าล่ม-โควิดโลกพุ่ง170ล้าน

 

          เมื่อวันที่ 30 พ.ค. รอยเตอร์รายงานการล่มสลายของระบบสาธารณสุขในเมียนมา หลังเกิดการสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมาที่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อ 1 ก.พ. กับกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (พีดีเอฟ) ที่สถาปนาขึ้นโดยการรวมตัวกันของกองกำลังชาติพันธุ์ภายใต้ธงรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (เอ็นยูจี) ของฝ่ายประชาธิปไตย ท่ามกลางการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 เข้าสู่สภาวะไร้ทิศทาง ระบบการตรวจหาและรักษาผู้ติดเชื้อแทบไม่สามารถทำงานได้
          โรงพยาบาลหลายแห่งในเมียนมาขาดแคลนออกซิเจนผู้ป่วยวิกฤต เจ้าหน้าที่การแพทย์ บางส่วนทำได้เพียงปลอบโยนผู้ป่วยและให้ยาแก้ปวด เนื่องจากขาดแคลนทั้งเวชภัณฑ์ รถพยาบาล แพทย์ และไฟฟ้า เช่น ที่โรงพยาบาลจังหวัดซิคคา รัฐชิน ทางตะวันตกเฉียงเหนือ เหลือเจ้าหน้าที่เพียง 11 คน ปฏิบัติงานได้เพียง 3 คน ดูแลประชาชนกว่า 1 หมื่นคน
          นายสเตฟาน พอล โจสต์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำเมียนมา กล่าวว่า เจ้าหน้าที่การแพทย์เสียชีวิตจากการสู้รบแล้ว 3 ราย และเจ้าหน้าที่กู้ภัยถูกโจมตี 179 ครั้ง เจ้าหน้าที่การแพทย์ถูกเผด็จการทหารเมียนมาจับกุมอย่างน้อย 150 คน ในข้อหายุยงปลุกปั่นและเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านยึดอำนาจ นำไปสู่การหยุดงานประท้วงของแพทย์จำนวนมาก
          ด้านระบบการตรวจหาผู้ติดเชื้อลดลงชัดเจนเหลือเพียง 1,200 ครั้งต่อวัน จากเดิมกว่า 17,000 ครั้งต่อวันในช่วงรัฐบาลประชาธิปไตยครึ่งใบของนางออง ซาน ซู จี ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายวันในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาอยู่ที่ 3,200 คน
          แต่หลายฝ่ายมองว่าข้อมูลอาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงในพื้นที่ ขณะที่บรรดาหน่วยงานสาธารณสุขบริเวณพื้นที่ติดกับชายแดนอินเดียเผชิญกับแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง โดยกังวลว่าอาจเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่พบในอินเดีย (บี.1.617.2) แต่ไม่มีอุปกรณ์ตรวจ และ โรงพยาบาลบางแห่งพยายามนำเครื่องพ่นละอองยาขยายหลอดลมมาใช้บรรเทาผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจน แต่เครื่องทำงานได้เพียง 2 ชั่วโมงต่อวันที่กระแสไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้
          นายโจสต์ระบุว่า WHO ระหว่างพยายามติดต่อทางการเมียนมาเพื่อส่งความช่วยเหลือเข้าไปแต่ยอมรับว่าสถานการณ์มีความยากลำบากมาก หากการสู้รบยังทวีความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่
          ด้านความคืบหน้าสถานการณ์ในเวียดนามหลังพบไวรัสก่อโรคโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างเชื้อกลายพันธุ์ที่พบในอังกฤษ (บี.1.1.7) กับที่พบในอินเดีย ล่าสุดทางการนครโฮจิมินห์ประกาศใช้มาตรการชะลอการระบาดและเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่ 31 พ.ค. เป็นต้นไป ขณะที่นครกวางโจว ภาคใต้ของจีนที่เพิ่งล็อกดาวน์ไปทางการจีนอยู่ระหว่างระดมการตรวจหาผู้ติดเชื้อแบบบ้านต่อบ้าน
          สถานการณ์การระบาดรอบใหม่ในเอเชียเกิดขึ้นท่ามกลางภาวะการติดเชื้อที่เริ่มลดลง ทั่วโลก แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังพบการระบาดสูง อาทิ เยอรมนี พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,852 คน เสียชีวิตเพิ่ม 56 ราย และอินเดีย พบผู้ติดเชื้อใหม่ 165,553 คน เสียชีวิตเพิ่ม 3,460 ราย ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกใกล้ทะลุ 170 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 3.5 ล้านราย
          เมื่อวันที่ 30 พ.ค. รอยเตอร์รายงานการล่มสลายของระบบสาธารณสุขในเมียนมา หลังเกิดการสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมาที่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อ 1 ก.พ. กับกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (พีดีเอฟ) ที่สถาปนาขึ้นโดยการรวมตัวกันของกองกำลังชาติพันธุ์ภายใต้ธงรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (เอ็นยูจี) ของฝ่ายประชาธิปไตย ท่ามกลางการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 เข้าสู่สภาวะไร้ทิศทาง ระบบการตรวจหาและรักษาผู้ติดเชื้อแทบไม่สามารถทำงานได้
          โรงพยาบาลหลายแห่งในเมียนมาขาดแคลนออกซิเจนผู้ป่วยวิกฤต เจ้าหน้าที่การแพทย์ บางส่วนทำได้เพียงปลอบโยนผู้ป่วยและให้ยาแก้ปวด เนื่องจากขาดแคลนทั้งเวชภัณฑ์ รถพยาบาล แพทย์ และไฟฟ้า เช่น ที่โรงพยาบาลจังหวัดซิคคา รัฐชิน ทางตะวันตกเฉียงเหนือ เหลือเจ้าหน้าที่เพียง 11 คน ปฏิบัติงานได้เพียง 3 คน ดูแลประชาชนกว่า 1 หมื่นคน
          นายสเตฟาน พอล โจสต์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำเมียนมา กล่าวว่า เจ้าหน้าที่การแพทย์เสียชีวิตจากการสู้รบแล้ว 3 ราย และเจ้าหน้าที่กู้ภัยถูกโจมตี 179 ครั้ง เจ้าหน้าที่การแพทย์ถูกเผด็จการทหารเมียนมาจับกุมอย่างน้อย 150 คน ในข้อหายุยงปลุกปั่นและเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านยึดอำนาจ นำไปสู่การหยุดงานประท้วงของแพทย์จำนวนมาก
          ด้านระบบการตรวจหาผู้ติดเชื้อลดลงชัดเจนเหลือเพียง 1,200 ครั้งต่อวัน จากเดิมกว่า 17,000 ครั้งต่อวันในช่วงรัฐบาลประชาธิปไตยครึ่งใบของนางออง ซาน ซู จี ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายวันในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาอยู่ที่ 3,200 คน
          แต่หลายฝ่ายมองว่าข้อมูลอาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงในพื้นที่ ขณะที่บรรดาหน่วยงานสาธารณสุขบริเวณพื้นที่ติดกับชายแดนอินเดียเผชิญกับแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง โดยกังวลว่าอาจเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่พบในอินเดีย (บี.1.617.2) แต่ไม่มีอุปกรณ์ตรวจ และ โรงพยาบาลบางแห่งพยายามนำเครื่องพ่นละอองยาขยายหลอดลมมาใช้บรรเทาผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจน แต่เครื่องทำงานได้เพียง 2 ชั่วโมงต่อวันที่กระแสไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้
          นายโจสต์ระบุว่า WHO ระหว่างพยายามติดต่อทางการเมียนมาเพื่อส่งความช่วยเหลือเข้าไปแต่ยอมรับว่าสถานการณ์มีความยากลำบากมาก หากการสู้รบยังทวีความรุนแรงอย่างที่เป็นอยู่
          ด้านความคืบหน้าสถานการณ์ในเวียดนามหลังพบไวรัสก่อโรคโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างเชื้อกลายพันธุ์ที่พบในอังกฤษ (บี.1.1.7) กับที่พบในอินเดีย ล่าสุดทางการนครโฮจิมินห์ประกาศใช้มาตรการชะลอการระบาดและเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่ 31 พ.ค. เป็นต้นไป ขณะที่นครกวางโจว ภาคใต้ของจีนที่เพิ่งล็อกดาวน์ไปทางการจีนอยู่ระหว่างระดมการตรวจหาผู้ติดเชื้อแบบบ้านต่อบ้าน
          สถานการณ์การระบาดรอบใหม่ในเอเชียเกิดขึ้นท่ามกลางภาวะการติดเชื้อที่เริ่มลดลง ทั่วโลก แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังพบการระบาดสูง อาทิ เยอรมนี พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,852 คน เสียชีวิตเพิ่ม 56 ราย และอินเดีย พบผู้ติดเชื้อใหม่ 165,553 คน เสียชีวิตเพิ่ม 3,460 ราย ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกใกล้ทะลุ 170 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 3.5 ล้านราย

 


pageview  1205124    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved