HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 19/04/2562 ]
วัคซีน ไข้หวัดใหญ่ เรื่องต้องรู้จากคุณหมอ

 ไข้หวัดใหญ่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยอันดับต้นๆ"แม้กรมควบคุมโรค"กระทรวงสาธารณสุข"ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ")สปสช/)"รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน"ต่างก็รณรงค์ถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง"แต่ประชาชนก็ยังขาดการรับรู้"ขาดความเข้าใจในเชิงดูแลป้องกัน"และยังไม่ตระหนักถึงมหันตภัย"ไข้หวัดใหญ่อาจจะทำให้สูญเสียชีวิตได้"
          ประเทศไทยคาดการณ์ว่ามีประชากรใน 7 กลุ่มเสี่ยง อยู่ประมาณ 20 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 1 ใน 5 ของประชากรไทยทั้งหมด ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2.เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ 3.ผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 4.ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 5.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเอง ไม่ได้ 6.โรค ธาลัสซีเมีย ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ และ 7.โรคอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งหากกลุ่มเสี่ยงนี้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้มีโอกาสเสียชีวิตในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มคนปกติมากที่สุดถึง 100 เท่า
          รศ.นพ.ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในแต่ละปีไวรัสไข้หวัดใหญ่มักปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ทำให้สามารถก่อโรคในคนได้ทุกปี นั่นเป็นสาเหตุต้องมีการพัฒนาวัคซีนที่ไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ครอบคลุม สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปีให้ได้มากที่สุดนั่นเอง จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอยู่มาก ที่ต้องศึกษาค้นคว้าและวิจัย อยู่ตลอดเวลาเพื่อพยายามควบคุมการแพร่ กระจายของโรคระบาดต่างๆ รวมถึงเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่
          เชื้อไวรัส ซึ่งมี 3 ชนิด
          ศ.เกียรติคุณ นพ. ประเสริฐ ทองเจริญประธานมูลนิธิส่งเสริมศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมี 3 ชนิด คือ A, B และ C ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยในเอเชียตะวันออก มีรายงานถึงการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ inuenza A (H3N2) เป็นไวรัสที่พบมากกว่าไวรัสอื่นๆ ส่วนไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วน ชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการ อย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้ เกิดการระบาด
          รศ.พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล แพทย์เฉพาะทาง อายุร แพทย์โรคหัวใจ และรองผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียง ใหม่ เปิดเผยว่า อุปสรรคของการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พบว่ามีอัตราการให้วัคซีนอยู่ในระดับต่ำ แม้ผู้ป่วยจะเป็นกลุ่มเสี่ยง จากการศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 211 คน พบมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 18.3 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนตามฤดูกาล และมีถึงร้อยละ 63.3 ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย
          ปัจจัยสำคัญเกิดจากการที่แพทย์ไม่ได้แนะนำเรื่องวัคซีน (ร้อยละ 81) ไม่ได้รับการแนะนำจากสื่อด้านเอกสาร (ร้อยละ 5.3) จากการศึกษา CORE-Thailand cohort ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป จำนวน 9,000 ราย พบว่ามีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 15.5 เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนในกลุ่มความเสี่ยงจำเพาะ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ได้รับเพียงร้อยละ 17.2 อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้อัตราการรับวัคซีนต่ำ เนื่องจากผู้ป่วยไม่ทราบถึงประโยชน์ และกังวลถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีน
          ขณะที่แพทย์ยังมีความตระหนักและมีโอกาสน้อยที่จะแนะนำวัคซีนกับผู้ป่วย รวมถึงความกังวลของแพทย์เองถึงผลข้างเคียง และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีน


pageview  1205016    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved