HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 20/12/2561 ]
ถ้าเป็นหวัดเจ็บคอ ลดใช้ยาต้านแบคทีเรีย

 "เชื้อดื้อยา""คือภาวะที่เชื้อแบคทีเรียต่อต้านยาปฏิชีวนะ"ทาให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผลดีดังเดิม"อาจต้องใช้เวลารักษานานขึ้น"เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น"หรือผู้ป่วยอาจเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น"และกลายเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วทุกมุมโลก"เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพและการพัฒนาในด้านต่างๆ"ของผู้ป่วย"เพราะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย"ปัจจุบันประเทศไทยเองก็กาลังประสบปัญหานี้เช่นกัน"ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการที่คนไทยสามารถหาซื้อยารับประทานเองตามร้านขายยาได้ง่าย"โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์
          ที่ลานใบไม้ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด กลุ่มใบไม้ในเมือง และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จัดกิจกรรม ใบไม้รักษ์โลก Episode 3 : "ยา อย่า Yah" เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ และป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยาต้านแบคทีเรีย เนื่องในสัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี 2561 โดยมี ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. เป็นประธานเปิดงาน
          ทพ.ศิริเกียรติกล่าวว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาราวปีละ 700,000 คน และหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา ในปี 2593 คาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาจะสูงถึง 10 ล้านคน ประเทศในแถบเอเชียจะมีคนเสียชีวิตมากที่สุด คือ 4.7 ล้านคน
          สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขประเมินว่า"มีการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณปีละ"91-111"ราย"เสียชีวิตประมาณปีละ"49-111"ราย"คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมสูงถึงปีละ"5"หมื่นล้านบาท
          จากสถานการณ์ข้างต้น คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้มีแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564 ด้วยเป้าหมาย ดังนี้
          1.การป่วยจากเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50
          2.การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์และสัตว์ลดลงร้อยละ 20 และ 30 ตามลำดับ
          3.ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ 4.ประเทศไทยมีระบบจัดการ การดื้อยาต้านจุลชีพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์สากล
          "เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์ที่ 5 ในการส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน สสส. กพย. และภาคีเครือข่าย จึงมุ่งรณรงค์สร้างความเข้าใจเพื่อลดการใช้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะโรคหวัดเจ็บคอ ซึ่งมีผลการวิจัยชัดเจนว่า กว่าร้อยละ 80 เกิดจากเชื้อไวรัส ความรู้และความตระหนักในเรื่องนี้จึงนับเป็นด่านแรก ที่สามารถป้องกันการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างไม่สมเหตุ สมผลได้" ทพ.ศิริเกียรติกล่าว
          ด้าน ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี"ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา")กพย/)"กล่าวว่า"สัปดาห์รู้รักษ์"ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย"หรือ"Anti biotic Awareness Week "เป็นกิจกรรมที่องค์การอนามัยโลก")WIP)"ให้ความสาคัญ"โดยมีมากกว่า"91"ประเทศทั่วโลกที่จัดงานขึ้นในปีนี้"เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ตอบสนองการป้องกันปัญหาดังกล่าว"ด้วยการรณรงค์ต่อเนื่องเป็นปีที่"7"เพราะประชาชนส่วนใหญ่"ยังมีความเข้าใจผิดว่าเป็นหวัดเจ็บคอ"ต้องกินยาต้านแบคทีเรียถึงจะหาย"แต่ความจริงแล้วการกินยาต้านแบคทีเรียเมื่อเป็นหวัดเจ็บคอ"นอกจากไม่ช่วยให้หายเร็วขึ้น"ยังอาจทาให้เกิดเชื้อดื้อยาขึ้นในร่างกาย"หากวันข้างหน้ามีอาการป่วยหนักจากการติดเชื้อในอวัยวะที่สาคัญ"จะทาให้ยาใช้ไม่ได้ผล"ส่งผลอันตรายถึงชีวิต
          ขณะที่ น.ส.แววรัตน์ ชำนาญภักดี ผู้อำนวยการสายงานบุคคลและประชาสัมพันธ์ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด กล่าวถึงการให้ความสนับสนุนของบริษัท ยิบอินซอย จำกัด ว่า ทางบริษัทยินดีแบ่งปันพื้นที่ลานใบไม้ ซึ่งถือเป็นลานกิจกรรมที่นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการจัดงานภายในของบริษัทแล้ว ยังแบ่งปันพื้นที่ให้หน่วยงานหรือบุคคลทั่วไปที่มีแนวคิดและสนใจทำสิ่งดีๆ เพื่อสังคม เข้ามาร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแง่มุมต่างๆ ร่วมกัน
          สำหรับกิจกรรมใบไม้รักษ์โลก episode 3 ตอน ยา อย่า Yah! นี้ออกแบบเพื่อสื่อสารไปยังประชาชนทั่วไป ให้เกิดความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการแนะนำช่องทางการเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัย ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง ลดการพึ่งพายาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ
          กิจกรรมดังกล่าวมีวิทยากรทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันให้ความรู้และประสบการณ์ตรง ทั้งการคัดสรรวัตถุดิบปลอดภัยเพื่อนำมาประกอบอาหาร และการปลูกผักปลอดสารพิษ ด้วยปุ๋ยที่ผลิตขึ้นเอง ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ


pageview  1205140    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved