HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 09/05/2555 ]
แนะพ่อแม่รู้ทันภัย ใน'โลกไซเบอร์'

 โลกการสื่อสารทุกวันนี้รวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส สื่อต่างๆ ออนไลน์เข้าถึงทุกครัวเรือนโดยเฉพาะเด็กๆ
          ปัญญาสมา พันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บมจ.ซีพี ออลล์ เผยผลงานวิจัยเรื่อง "เตรียมพร้อมครอบครัวไทย ระวังภัยจากโลกไซเบอร์" เพื่อหาแนวทางจัดการปัญหาความรุนแรงผ่านโลกออนไลน์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคม ที่ตึกซีพี ทาวเวอร์
          ดร.วิมล ทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยและรองผู้อำนวยการด้านวิชาการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลวิจัยจากการสำรวจกลุ่มเด็ก เยาวชน อายุ 15-24 ปี และกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง อายุ 37-63 ปี รวม 1,600
          ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก 60 คน พบว่า
          ผู้ ปกครองร้อยละ 27.1 ไม่ทราบว่าเด็กในปกครองใช้คอมพิวเตอร์วันละเท่าใด ร้อยละ 21.8 ไม่ทราบว่าใช้เพื่อการใด ร้อยละ 20.4-30.5 ไม่ทราบว่าบุตรหลานเคยเป็นผู้กระทำความรุนแรง
          ที่น่าสนใจคือ ผู้ปกครองร้อยละ 21.3-33.1 ไม่ทราบว่าบุตรหลานมีประสบการณ์รังแกหรือถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์หรือไม่
          ซึ่งหัวข้อที่โดนกระทำมากที่สุดคือ ถูกด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายจากเพื่อนเด็กอื่นๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตหลายครั้ง
          ทั้ง นี้ผู้ปกครองร้อยละ 16.0 ยอมรับว่าการรังแกผ่านโลกไซเบอร์เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ขณะที่ร้อยละ 70.12 เห็นด้วยว่าการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ควรได้รับการแก้ไข
          ในกรณีการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ในทัศนะ
          ของผู้ปกครองถือเป็นเรื่องไกลตัว เนื่องจากเชื่อใจ มั่นใจ และไว้วางใจตัวลูกว่าไม่เคยเกี่ยวข้องกับการรังแกผ่านโลกไซเบอร์
          ที่ น่าตกใจคือ จากสถานการณ์สมมติเพื่อตรวจสอบว่าพ่อแม่รู้หรือไม่ว่าสถานการณ์นั้นเป็นความ รุนแรงผ่านโลกไซเบอร์ พบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 44.1 ไม่ทราบว่าสถานการณ์ส่งข้อความเหยียดหยามหรือข่มขู่บ่อยๆ เป็นความรุนแรงที่กระทำผ่านโลกไซเบอร์ โดยร้อยละ 74.8 เข้าใจว่าการโทรศัพท์มารบกวนโดยที่ไม่พูดสายไม่ใช่ความรุนแรงผ่านโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นคำตอบที่ไม่
          ถูกต้อง ชี้ให้เห็นว่าผู้ปกครองมีความเข้าใจต่อปัญหาการรังแกผ่านโลกไซเบอร์คลาดเคลื่อนอยู่มาก
          ดร.วิมล ทิพย์ กล่าวต่อว่าเดิมเราเห็นเด็กรังแกกันต่อหน้า แต่ปัจจุบันมีรูปแบบการรังแกผ่านโลกไซเบอร์แทน ซึ่งสุดท้ายก็สร้างความเจ็บปวดให้เด็กเช่นกัน ในต่างประเทศประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะมีการตาย ลาออกจากโรงเรียนกลางคัน เรื่องนี้เป็นปัญหาซุกพรมที่เกิดขึ้นมาก
          "ไซ เบอร์ บูลลี่ (Cyber-bullying)" หรือการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ เป็นความรุนแรงระหว่างเด็กกับเด็ก และทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น โพสต์รูปภาพ ข้อความไม่จริง ด่าทอให้ร้ายกัน หรือลบเพื่อนกลุ่มเดียวกันออกไป สำหรับผู้ใหญ่แล้วเรื่องเหล่านี้รู้สึกเฉยๆ แต่เด็กๆ เจ็บปวด และแน่นอนเมื่อเกิดสถานการณ์การรังแกเกิดขึ้น คนที่รู้คนแรกคือเพื่อน และแก้ปัญหาด้วยการโต้ตอบกลับไป เป็นการสร้างวงจรความรุนแรงที่ไม่สิ้นสุด
          "เด็ก 5 ขวบก็เข้าถึงอินเตอร์ เน็ต ช่วงเวลาที่ก่อให้เกิดความรุนแรงคือเวลา 18.00-20.00 น. เป็นเวลาที่พ่อแม่ทำโอที ไม่อยู่บ้าน เด็กใช้ช่วงนี้ด่าทอ ทะเลาะกัน ไม่มีใครบอกครูหรือพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ไม่เข้าใจ วันนี้หากบ้านไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยที่สุด หรือพ่อแม่ไม่ใช่คนที่ไว้ใจได้ที่สุดจะเป็นอย่างไร
          มีพ่อแม่ จำนวนมากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการต่อรองให้ลูกอยู่บ้าน จะได้ไม่ต้องไปไกลหูไกลตา หารู้ไม่ว่านำอันตรายมาตั้งไว้กลางบ้าน เด็กอาจแค่คุยกัน โชคดีที่ไม่มีการล่อลวง แต่วันหนึ่งอาจเกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดขึ้น ในสภาพแวดล้อมนี้ควรมีโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อสอนให้พ่อแม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี"
          ด้าน ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒน ธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ที่เกาหลีและญี่ปุ่นเด็กถูกแกล้งจนฆ่าตัวตาย ในขณะที่สังคมไทยสร้างแต่ผู้ใช้งานแต่ไม่มีโปรแกรม เมอร์ ทำให้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไม่มีสติ ชั่วโมงนี้จะบอกว่าไม่ใช่ลูกเราไม่ได้อีกแล้ว ถึงเวลาต้องเฝ้าระวัง ดูแลเด็กของเรา
          ปัจจุบันเด็กมีชีวิตอยู่ในร้านเกม เขาอาจไม่ใช่เล่นเกมอย่างเดียว แต่เข้าไปแช็ตไปทะเลาะกับเพื่อน ส่งเอสเอ็มเอสแต่งเรื่องแกล้งกัน ใช้ภาษาหยาบคาย รวมถึงโพสต์ภาพที่ไม่เหมาะสม
          แม้สังคมไทยจะอยู่ด้วยบรรทัดฐาน จารีตประเพณี กฎหมายและมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์รองรับ แต่การบังคับใช้กฎหมายยังอ่อน คนที่ถูกรังแกและคนที่รังแกในโลกไซเบอร์ซึ่งเป็นโลกเสมือนที่ต่างกับชีวิต จริง เด็กคิดว่าชัตดาวน์ก็จบ ทุกอย่างเริ่มต้นใหม่ได้ แต่มีกรณีเด็กเล่นเกมแล้วผูกคอตายที่บ้าน โดยเขียนจดหมายทิ้งไว้ว่าอยากเกิดเป็นคนญี่ปุ่น จะได้เล่นเกมก่อนใครในประเทศไทย ไซเบอร์เป็นโลกเสมือนทำให้เด็กคิดว่าโลกความจริงเป็นมายา
          "ก่อน จะแจกแท็บเล็ตให้เด็กป.1 เราจะทำอย่าง ไรให้เขาเป็นผู้ใช้งานที่ดี และฝันให้ไกลไปให้ถึงกับเด็กในยุคอัลฟา คือมีสุขกับไอที เราจะเตรียมเขาอย่างไรให้ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม เป็นประโยชน์กับสังคมประเทศชาติ ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ดังนั้นเราต้องเปิดพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสียแก่เด็ก และร่วมกันผลักดันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" ลัดดากล่าวนายศิวัตร เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า นอกจากการใช้ภาษาหยาบคาย ด่าทอในเว็บบอร์ดโซเชี่ยลมีเดียมากยิ่งขึ้น ยังแกล้งโพสต์ว่าขายบริการ หรือขาย
          ไอโฟนราคาถูก ซึ่งสร้างความเสียหาย รวมถึงปลอมเข้ามาขอเป็นเพื่อน
          ผู้ ปกครองต้องใส่ใจกฎหมายพ.ร.บ.การใช้คอมพิวเตอร์ รับรู้ว่าการด่าทอ ตัดต่อภาพโป๊หรือส่งอีเมล์สร้างความเดือดร้อนรำคาญมีผลทางกฎหมาย และต้องสื่อสารกับลูกให้ชัดเจน ไม่ใช่เรื่องของเด็กคุยกันอีกต่อไป พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันว่าลูกเล่นอะไร ต้องรู้จักเพื่อนของลูก
          "ที่ สำคัญการให้โอกาสวัยรุ่นได้พูดคุยกับพ่อแม่ด้วยความรู้สึกไว้วางใจ เพื่อนำไปสู่การรับรู้ปัญหาได้ทันท่วงที อาทิ รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน เพื่อให้เป็นช่วงบอกเล่าเรื่องราวไม่สบาย ใจสู่ครอบครัว ตลอดจนการปลูกจิตสำนึกของเยาวชนต่อการใช้เทคโนโลยีไซเบอร์อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เริ่มแรก เหล่านี้อาจเป็นแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาอีกทางหนึ่ง"


pageview  1205145    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved