HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 29/02/2555 ]
ความสุขของคน "ปากพูน"
 
          องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งเดินทางมาที่นี่..องค์การบริหารส่วนตำบล ปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อซึมซับแนวทาง "สุขภาวะตำบล"หลายแห่งสามารถนำเอาแนวคิดไปเป็นต้นแบบปรับปรุงในเขตพื้นที่ของตัวเองจนประสบความสำเร็จจนอดสงสัยไม่ได้ว่า องต.ปากพูน เป็นอย่างไร ?
          ตำบลปากพูนเป็นตำบลขนาดใหญ่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช พื้นที่ส่วนใหญ่ มีลักษณะดินปนทรายและดินตกตะกอนที่มี ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ที่ตั้งส่วนใหญ่เป็นที่ราบติดชายฝั่งทะเล มีประชากรกว่า 4 หมื่นคน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ทำสวนมีทั้งสวนยางพารา และสวนผลไม้ ทำประมง เลี้ยงสัตว์
          ก่อนหน้านี้ตำบลปากพูนมักประสบปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของผู้สูงอายุ คนพิการทั่วไป คนพิการทางจิต เด็ก ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีโรคระบาดในพื้นที่ อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู อุจจาระร่วง  หญิงมีครรภ์ และผู้ป่วยเอดส์
          แต่เมื่อตำบลได้นำเรื่องของคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม อาชีพมาบูรณาการจนเกิดเป็น "สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน" เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส และประกอบกับการนำนวัตกรรมการนำระบบฐานข้อมูลสุขภาพครอบครัวชุมชน (Family and Community Assessment Program : FAB) ซึ่งเป็น Assessment Program : FAB) ซึ่งเป็น เครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นให้คนในชุมชนเข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนถึงขั้นรู้จักป้องกันแก้ไขปัญหาแบบร่วมกันในรูปแบบ "ชุมชนช่วยเหลือตนเอง" ในที่สุดคนในหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลปากพูนก็เริ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาได้
          คำว่า "สุขภาวะตำบล" นั้นมีคำนิยามน่าสนใจ คำว่าสุขภาวะตำบล ประกอบด้วยองค์รวม 4 มิติคือ สุขภาวะทางกาย คือ การมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมที่ดี สุขภาวะทางจิต คือ การมีจิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตา กรุณา มีสติ สมาธิ สุขภาวะทางสังคม คือการอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ชุมชน ในที่ทำงาน ในสังคม ในโลก ซึ่งรวมถึงการมีบริการที่และมีสันติภาพและ สุขภาวะทางจิตวิญญาณ คือ ความสุขอันประเสริฐจากการมีจิตใจสูง เข้าถึงความจริงทั้งหมด ลดละความเห็นแก่ตัวมุ่งเข้าถึงสิ่งสูงสุด
          ดังนั้น สุขภาวะจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนในชุมชน พึงประสงค์ ทั้งนี้การจัดการสุขภาวะจึงเป็นการจัดการทุกเรื่องที่เกี่ยวกับคน ตั้งแต่ในระดับตัวบุคคล ครอบครัว และชุมชน และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมของคน สภาพทางสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมการจัดการ สุขภาวะโดยชุมชนจึงเป็นการจัดการทุกเรื่องที่เกี่ยวกับคนโดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินการด้วยชุมชน กับคนโดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินการด้วยชุมชน โดยใช้กิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน คือ การเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นตัวเคลื่อนจึงทำให้เกิดสุขทั้งตำบลนั่นเอง
          ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูนสมัยนั้น เล่าว่า มีความเชื่อที่ว่าสุขภาพกับคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้นการพัฒนาปากพูนที่ผ่านมา อบต.ปากพูน ได้ขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะ เพื่อการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนถือเป็นเรื่องเดียวกัน ตามแนวคิดหลักของ อบต.ปากพูน คือ ประชาชนต้อง "อยู่ดีกินดี อยู่เย็นเป็นสุข อยู่รอดปลอดภัย" จึงเป็นที่มาของตำบลสุขภาวะ ตั้งแต่ปี 2552 เป็ นต้นมาทำให้คนทั้งตำบลเป็นสุขจนมาถึงทุกวันนี้
          ธนาวุฒิ เล่าต่อไปว่า ช่วงแรกต้องเพิ่งองค์กรภายนอก มีการเชิญผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. และกลุ่มมวลชนในตำบลมาร่วมประชุมทำความเข้าใจกับนักวิชาการส่วนกลาง และนักวิชาการท้องถิ่นจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อดึงเอาทุนทางปัญญาของสังคมที่มีอยู่ในตำบลมาทำเป็นหลักสูตรใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ 29 ฐาน
          กระทั่งเกิดเป็นโครงการต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย ส่งผลให้คนในชุมชนร่วมในกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข ตั้งใจ และเต็มใจที่จะให้แต่ละโครงการประสบผลสำเร็จ
          สำหรับตัวอย่างฐานความรู้นั้น ธนาวุฒิบอกว่า มีอาทิ  ฐานข้อมูลการเรียนรู้ในเรื่องสาธารณสุข เริ่มตั้งแต่การให้บริการนำไปสู่การรักษา จะมีโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นตัวขับเคลื่อน ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากชุมชนอย่างดีเยี่ยม สังเกตได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ซึ่งคนที่ป่วยเป็นโรค ความดันเบาหวานมีจำนวนลดลงอย่างน่าอัศจรรย์
          ส่วนวิธีการดูแลรักษาจะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านของผู้ป่วยเพื่อตรวจน้ำตาลในเลือด วัดความดัน ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองให้กับผู้ป่วย อีกทั้งยังมีการจัดให้ผู้ป่วยเบาหวาน เข้าค่าย เพื่อศึกษาเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองเป็น แถมยังจะช่วยดูแลคนรอบข้างไปในตัวได้ด้วย ในตัวได้ด้วย
          ส่วนผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้จะมีเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมที่บ้านทุกๆ 6 เดือน เพื่อดูแลและสังเกตความเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง
          จากความสำเร็จดังกล่าว เมื่อแวะไปพบ เบญจมาศ ภารเพิง ชาวบ้านซึ่งทำหน้าที่วิทยากรหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกเธอว่า "ป้านุ้ย"เล่าให้ฟังว่า ตำบลปากพูนมีบริการสาธารณสุขพื้นฐานแบบ One Stop Service บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ โดยมีอาสาสมัครที่มีจิตอาสามาทำงานชุมชนสร้างจิตสำนึก สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้สังคมเกิดระบบคุณธรรม มีการขับเคลื่อนสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน จนเกิดเป็นเครือข่ายการบริการที่รวดเร็วและทั่วถึง
          "ที่สำคัญยังสามารถทำให้ชุมชนยืนได้ด้วยขาตัวเองใช้สิ่งที่มีอยู่ในชุมชนให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด แบบ "ทำเอง ใช้เอง ขายเอง ซื้อเอง ได้ประโยชน์เอง" รายได้หมุนเวียนอยู่ภายในชุมชน
          โครงการที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ การเลี้ยงโคนม ที่ทำให้คนในหมูบ้านมีอาชีพเพิ่มขึ้น ทั้งเลี้ยงโค ปลูกหญ้า และขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโคอย่างน้ำนม มูลโคก็นำไปหมักทำปุ๋ย ส่วนน้ำนมที่ได้นอกจากขายให้คนในหมู่บ้านแล้ว ยังนำเข้าโครงการนมโรงเรียนให้เด็กในชุมชนได้ดื่ม กันอีกด้วย
          ป้านุ้ยเล่าว่า โครงการที่น่าสนใจสามารถ ลดค่าใช้จ่ายของคนในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดีก็คือการผลิต "ไบโอดีเซล" จากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ช่วงแรกชาวบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือ แต่เมื่อ อบต.ปากพูน ชี้ให้เห็นพิษภัยของน้ำมันใช้แล้วหากทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง อีกทั้งยังก่อเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งได้หากใช้แล้วใช้อีก ทำให้ชาวบ้านเริ่มตระหนักถึงปัญหาและให้ความร่วมมือในที่สุด
          "อีกหนึ่งกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อดูแลผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการในชุมชนก็คือ อาชาบำบัด นำม้า มาใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่พิการทางสมองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านของสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากม้าจะช่วยในเรื่องของสุขภาพแล้ว ยังใช้ม้าช่วยในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำม้ามาใช้เป็นรถม้าพยาบาล รถม้ารับส่งเด็กนักเรียน เพราะการใช้ม้าช่วยลดการรถม้ารับส่งเด็กนักเรียน เพราะการใช้ม้าช่วยลดการใช้น้ำมันและยังไม่ก่อมลพิษให้กับชุมชนอีกด้วย"มิน่าล่ะ อบต.ปากพูน จึงเป็นต้นแบบการจัดการ ท้องถิ่นในด้านการสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน
          และไม่น่าสงสัยอีกเช่นกัน ที่อบต.ปากพูนจะได้รับรางวัลทางด้านนี้มากมาย อาทิ  รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี พ.ศ.  2552  รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี พ.ศ. 2553 รางวัลชนะเลิศโครงการพัฒนาผู้นำเผชิญวิกฤตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2552 ผู้ทำงานด้านสาธารณสุขดีเด่น โดยประธานมูลนิธินายแพทย์โกวิทย์ วระพงษ์สิทธิกุล พ.ศ. 2551 รางวัลโครงการประกวดตำบลดีเด่นด้านการเสริมสร้างศักยภาพเด็ก สนง.ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน พ.ศ. 2552 รางวัลชนะเลิศโครงการพัฒนาผู้นำเผชิญวิกฤตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2552 รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นองค์กรระดับประเทศที่สนับสนุนการจัดการศึกษาโดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2553 การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบองค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบ การจัดการสุขภาวะโดยชุมชน  พ.ศ. 2551-2555 การบริหารจัดการการถ่ายโอนสถานีอนามัยต้นแบบ กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ อปท.เครือข่าย  เรื่องการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน
          รางวัลเหล่านี้จึงกลายเป็นประกาศนียบัตรเบื้องต้นที่จะชี้ให้เห็นว่า หาก อปท.ทั่วประเทศนำชุมชนของตัวเองเข้าสู่สุขภาวะก็จะทำให้ชุมชนมีความสุขจนนำไปสู่ความเข้มแข็ง และสามารถนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาได้ในที่สุด

pageview  1205098    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved